posttoday

สำรวจ ขั้นตอน ความคืบหน้า กฎหมายสมรสเท่าเทียม

19 กันยายน 2567

ถือเป็นร่างกฎหมายที่สส.รัฐบาล สส.ฝ่ายค้าน รวมทั้งสว. ได้ร่วมกันพิจารณาอย่างยาวนาน ก่อนให้ความเห็นชอบ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่ตั้งแต่ต้น การเสนอกฎกมาย การพิจารณาในชั้นสส.และสว. และขั้นตอนต่อไป เป็นอย่างไรบ้าง โพสต์ทูเดย์ พาไปสำรวจความคืบหน้า

KEY

POINTS

  • กฎหมายสมรสเท่าเทียม เป็นหนึ่งในกฎหมาย ที่ได้รับการจับตามองจากสังคมอย่างมาก นับตั้งแต่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาในสภาฯ
  • กระทั่งผ่านมติด้วยเสียงส่วนใหญ่จาก สส. และ สว. ตามลำดับ
  • หลังจากผ่านมติสว.ไปแล้ว ยังมีขั้นตอนอื่นๆอีก ที่จะทำให้กฎหมายฉบับดังกล่าวสมบูรณ์ ก่อนประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ในเวลาต่อไป 

ถือเป็นร่างกฎหมายที่สส.รัฐบาล สส.ฝ่ายค้าน ได้ร่วมกันพิจารณามาอย่างต่อเนื่อง ร่วมกันผลักดัน นำเสนอความเห็น เปิดรับ ก่อนต่างเห็นชอบ ยอมรับในความหลากหลาย ความเท่าเทียมกันทางเพศต่อ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... หรือที่รู้จักกันในนาม ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

กฎหมายดังกล่าว ประเทศไทยได้รับคำชม ยอมรับในความหลากหลาย เคารพสิทธิ ความเสมอภาค ให้โอกาสในความเท่าเทียม ทุกเพศ ทุกอาชีพ

กฎหมายฉบับนี้ มีผู้คนเฝ้ารอ ติดตาม สอบถามความคืบหน้าอยู่เป็นระยะๆ หลังจาก มีการเสนอร่างกฎหมายเข้าสภาฯ มีการพิจารณา ผ่านกระบวนการทางสภาฯ ในชั้นสส. และ สว. แต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไร และจะเป็นอย่างไรต่อไป ไปถึงไหนแล้ว
  
-วันที่ 27 มี.ค.67 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร(สส.) มีมติเห็นชอบ 400 ไม่เห็นชอบ 10 งดออกเสียง 2  ไม่ลงคะแนน 3 

-วันที่ 18มิ.ย.67 ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา(สว.) เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4  งดออกเสียง 18 
 

-เว้นไว้ 5 วัน ครบกำหนดวันที่ 23 มิถุนายน 2567 ก่อนส่งให้รัฐบาล

-นายกรัฐมนตรี มีกรอบระยะเวลาในการนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน20 วัน หรือระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน - 13 กรกฎาคม 2567

-รัฐธรรมนูญมาตรา 146 บัญญัติว่า

ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรี นำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคบเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

-คาดว่าครบกำหนดระหว่างวันที่ 22 กันยายน ถึง 11 ตุลาคม 2567 (นับตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ)

-กฎหมายสมรสเท่าเทียมประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา