สุรเชษฐ์ จับตา 5 ปม พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ลั่นกมธ.ต้องร่วมปิดช่องเอื้อนายทุน
สุรเชษฐ์ สส.พรรคประชาชน ชวนจับตา 5ประเด็น 3 ร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง ย้ำ ต้องมีการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ไม่เอื้อประโยชน์ผู้ประกอบการ เปิดช่องอำนาจรัฐเข้าตรวจสอบ ส่งเสริมบทบาทท้องถิ่น ระบุ พรรคประชาชน พร้อมตรวจสอบในชั้นกรรมาธิการฯ ยึดประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง
เพจเฟซบุ๊คพรรคประชาชน โพสต์ข้อความชวนให้จับตา การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ที่จะมีการประชุมวันที่ 1พ.ย. เพื่อพิจารณาเนื้อหาสาระ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางพ.ศ... หลังจาก ที่ประชุมรัฐสภาฯ เสียงส่วนใหญ่ ลงมติเห็นชอบในชั้นรับหลักการ วาระ1 ไป กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในชั้นกรรมาธิการวิสามัญ มีเนื้อหาว่า
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดสุดท้ายของสมัยประชุม 30 ต.ค. ที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการร่างกฎหมายสำคัญคือ ร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ทั้ง 3 ฉบับ ที่เสนอจากคณะรัฐมนตรี, พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน โดยกำหนดให้ร่างของ ครม. เป็นร่างหลักในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการ
นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะผู้เสนอร่างขนส่งทางรางฉบับพรรคประชาชน ย้ำมาตลอดว่าแม้ร่างทั้ง 3 ฉบับมีหลักการเดียวกัน แต่เนื้อหาหลายส่วนแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ร่าง ครม. เป็นร่างดั้งเดิมที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ส่งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ไม่เหมาะเป็นร่างหลักเพราะสภาฯ ชุดก่อน (ชุดที่ 25) ได้แก้ไขในรายละเอียดจนได้ร่างที่สมบูรณ์กว่าไปแล้ว
ร่างพรรคเพื่อไทย มีเนื้อหาบางส่วนที่ถูกมองว่าส่อไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนมากกว่าเมื่อเทียบกับร่างของ ครม. รวมถึงการลดเงื่อนไขการคุ้มครองผู้ใช้บริการ และลดอำนาจรัฐในการเข้าตรวจสอบ
ร่างของพรรคประชาชน เป็นร่างที่มีพื้นฐานมาจากร่างที่ผ่าน กมธ.วิสามัญ จากสภาชุดที่แล้ว ได้รับฟังความเห็นของทุกฝ่าย และมีจุดยืนหนักแน่นในการปกป้องผู้บริโภค ไม่เอาเปรียบหรือเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ และเพิ่มอำนาจรัฐในการเข้าตรวจสอบ
เพื่อประชาชนสามารถติดตามการทำงานของ กมธ. ชุดนี้ได้อย่างต่อเนื่อง พรรคประชาชนรวบรวม 5 ประเด็นใหญ่ ที่ขอเชิญชวนประชาชนจับตาต่อไปว่าท้ายที่สุด เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ที่ผ่านการถกเถียงแลกเปลี่ยนจากตัวแทนแต่ละพรรคการเมืองใน กมธ. จะเป็นอย่างไร
1. การเพิ่มการคุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการ
2. การเพิ่มอำนาจรัฐเข้าตรวจสอบ
3. การไม่เอาเปรียบและไม่เอื้อประโยชน์ผู้ประกอบการ
4. การวางแผนคมนาคมของประเทศโดยบูรณาการรูปแบบการเดินทาง ได้แก่ ราง (คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง), ถนน (คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก), อากาศ (คณะกรรมการการบินพลเรือน) และน้ำ (กรมเจ้าท่า)
5. การส่งเสริมบทบาทท้องถิ่น
พรรคประชาชนจะทำหน้าที่ใน กมธ. โดยยึดผลประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง ทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ที่มีความสำคัญมากต่อการกำหนดอนาคตขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหนึ่งในขนส่งมวลชนของประเทศที่มีประชาชนใช้บริการมากกว่า 400 ล้านเที่ยวต่อปี สามารถเป็นส่วนหนึ่งของระบบ