posttoday

ย้อนอดีต4นายกฯไทยถูกยื่นไม่ไว้วางใจเฉพาะบุคคล ถึงขั้นลาออกก่อนลงมติ

03 มีนาคม 2568

ฝ่ายค้านเดินหน้ายื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ "แพทองธาร ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี แต่ยังไร้ข้อสรุปจะให้ซักฟอกกี่วัน ย้อนประวัติศาสตร์การเมืองไทยอดีตนายกฯ ไทย 4 คน เคยถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจเฉพาะบุคคลมาก่อน ถึงขั้นลาออกก่อนลงมติก็เคยมีมาแล้ว

การยื่นญัตติฝ่ายค้านขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้มงวดเข้ามาถูกขณะ 

ทว่าจนถึง ณ นาที ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านซักฟอกนายกฯแพทองธาร กี่วันกันแน่ 

ตามรัฐธรรมนูญ 2560 นายกรัฐมนตรีมีสถานภาพเป็นรัฐมนตรีที่อาจถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ 

หากนายกรัฐมนตรีถูกลงมติไม่ไว้วางใจ คณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 167
 
เมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาฯมิได้เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐมนตรีหลีกหนีการถูกอภิปราย

ในอดีต นายกรัฐมนตรีของไทย4คน ฝ่ายค้านเคยยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจมาแล้ว

25-27ก.ย.2540

ผู้นำฝ่ายค้าน นายชวน หลีกภัย ยื่นญัตติซักฟอก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี

ข้อกล่าวหาว่า บริหารผิดพลาดก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศถึงขั้นล้มละลายจนต้องกู้เงิน IMF

พล.อ.ชวลิต เพียงคนเดียวถูกซักฟอกอย่างเข้มข้น ตลอด3วัน ตามข้อกล่าวหาของฝ่ายค้าน  

แม้ศึกอภิปรายครั้งนั้น พล.อ.ชวลิต จะได้รับความไว้วางใจจากพรรคร่วมรัฐบาล 

แต่วิกฤตศรัทธาได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นต้องเผชิญกระแสต่อต้านจากนักธุรกิจและประชาชน จำต้องลาออก 6 พ.ย.2540 รวมเวลาบริหารราชการแผ่นดิน 11 เดือนเศษ 

18-20 ก.ย. 2539
นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีถูกซักฟอกเพียงคนเดียวได้รับการจารึกว่าหนักหนาสาหัสสุด 
  
ฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายนายบรรหาร 13 ประเด็น 



หลังอภิปรายพรรคร่วมรัฐบาล ประกอบด้วย พรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชนต่อรองกับนายบรรหาร ลาออกใน 3 วัน แลกกับการลงมติไม่ไว้วางใจ  207 ต่อ 180

 เสียง

ทว่า นายบรรหารตัดสินใจยุบสภา 27ก.ย.2539 ดัดหลังพรรคร่วมรัฐบาลที่กดดัน รวมอยู่ในตำแหน่ง 1 ปี 2 เดือน

29 พ.ค. 2528
การอภิปรายไม่ไว้วางใจ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

แต่ทว่า ไม่มีการอภิปรายเกิดขึ้น เนื่องจากการยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 

สาเหตุนายประมาณ อดิเรกสาร ผู้ยื่นญัตติไม่ออกมาชี้แจงญัตติ ทำให้ญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจถูกตีตกไป 

 3 มี.ค. 2523
การอภิปรายไม่ไว้วางใจ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น

หน้าประวัติศาสตร์การเมืองถูกบันทึกว่าเป็นครั้งแรกที่เป็นการอภิปรายนายกรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียว 

มีสส.ร่วมลงชื่อรับรองขอเปิดอภิปรายจำนวน 204 คน  นำโดยม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้ากลุ่มกิจสังคม
พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้ากลุ่มชาติไทย
พ.อ.พิเศษ ถนัด คอมันตร์ หัวหน้ากลุ่มประชาธิปัตย์
นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้ากลุ่มประชากรไทย
พ.อ.พล เริงประเสริฐวิทย์ หัวหน้ากลุ่มสยามประชาธิปไตย
 
เนื้อหาญัตติบริหารงานที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ปัญหาเศรษฐกิจ และไม่สามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้ลดน้อยลงได้ แต่ไม่ทันได้มีการอภิปราย พลเอก เกรียงศักดิ์ ประกาศลาออกจากที่ประชุมก่อน 
 
รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 2 สมัย เป็นเวลา 2 ปี 4 เดือน