เกมเอาคืน! 'พรรคประชาชน' ร้องปธ.รัฐสภา ตรวจสอบป.ป.ช. 3 ข้อกล่าวหา

เกมเอาคืน! 'พรรคประชาชน' ร้องปธ.รัฐสภา ตรวจสอบป.ป.ช. 3 ข้อกล่าวหา

03 มีนาคม 2568

เกมเอาคืน! 'พรรคประชาชน' ร้องประธานสรัฐสภา ตรวจสอบ 'ป.ป.ช.' 3 ข้อกล่าวหา ชี้ จงใจทุจริต ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง ยกเรื่องเก่า “แหวนแม่นาฬิกาเพื่อน”

KEY

POINTS

พรรคประชาชนเปิดเผยกรณี สส.พรรคประชาชน ในฐานะสมาชิกรัฐสภา ได้เข้าชื่อยื่นต่อประธานรัฐสภา ให้มีการตรวจสอบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 236 ประกอบมาตรา 234 วรรคหนึ่ง (1) ใน 3 ข้อกล่าวหาต่อไปนี้

พรรคประชาชน ร้องรัฐสภา ตรวจสอบป.ป.ช. พรรคประชาชน ร้องรัฐสภา ตรวจสอบป.ป.ช.

ข้อกล่าวหาที่ 1 ไม่ตรวจสอบรวบรวมข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อนทำคำวินิจฉัย ส่อเอื้อให้ พล.อ. ประวัตร วงษ์สุวรรณ พ้นข้อครหา กรณีแหวนแม่นาฬิกาเพื่อน หรือไม่ กล่าวหา กรรมการและอดีตกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 5 คน

1. วิทยา อาคมพิทักษ์ (หมดวาระแล้ว แต่ยัง

ปฏิบัติหน้าที่ต่อจนกว่ามีคนใหม่แทน)

2. ปรีชา เลิศกมลมาศ (หมดวาระแล้ว)

3. ณรงค์ รัฐอมฤต (หมดวาระแล้ว)

4. สุรศักดิ์ ศรีวิเชียร (หมดวาระแล้ว)

5. พลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ (หมดวาระแล้ว)

 

ย้อนไปปี 2560 มีเรื่องอื้อฉาวที่ พล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล คสช. ขณะนั้น ถูกจับตาว่าอาจแจ้งบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จ หลังสวมแหวนเพชรและนาฬิกาหรูขณะถ่ายภาพหมู่ ครม.ชุดใหม่เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 แต่ปรากฏว่าเครื่องประดับทั้ง 2 รายการกลับไม่อยู่ในรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่แจ้งต่อ ป.ป.ช.

 

จึงมีคนร้องเรียนไปยัง ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบ วันที่29 มีนาคม 2561 มติที่ประชุมกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่าข้อเท็จจริงเรื่องนี้ยังไม่ครบ ต้องการข้อมูลพยานหลักฐานเพิ่ม เช่น พยานบุคคลที่เกี่ยวข้องข้อมูลจากผู้ผลิตนาฬิกา ผู้จำหน่ายนาฬิกาทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อตอบคำถามสำคัญว่านาฬิกาหรูกว่า 20 เรือน++ นั้น ใครเป็นคนซื้อ มีหลักฐานการซื้อขายหรือไม่ ชำระเงินด้วยวิธีใด มีหลักฐานการชำระเงินหรือไม่ จึงมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพิ่ม เพื่อให้ชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์เป็นที่ยุติก่อน

แต่หลังจากนั้น 27 ธันวาคม 2561 กรรมการป.ป.ช. ฝ่ายเสียงข้างมาก 5 เสียง กลับลงมติให้ยุติการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม พูดง่ายๆ คือจะจบเรื่องนี้ ไม่หาหลักฐานเพิ่มแล้ว ทั้งที่ในที่ประชุมวันนั้น กรรมการ ป.ป.ช.เสียงข้างน้อย 3 คน ได้แก่

1.พล.ต.อ. สถาพร หลาวทอง

2.สุภา ปียะจิตติ

3.สุวณา สุวรรณจุฑะ

 

เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานยังไม่ครบถ้วนเพียงพอที่จะวันิจฉัยได้ ขาดข้อมูลเชิงลึกอย่างน้อย 4 อย่าง

 

(1) ใช้ขั้นตอนตาม พ.ร.บ. ความร่วมมือประหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 ให้ผู้ประสานงานกลาง คืออัยการสูงสุด ขอข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตและผู้จำหน่ายนาฬิกา ที่ตั้งอยู่ ณประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรีย และเขตการปกครองพิเศษฮ่องกง

 

(2) ใช้วิธีการขอทราบข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายนาฬิกาที่ตั้งอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส หรือประเทศจีน ตามช่องทางที่ระบุไว้ในอนุสัญญาหรือสนธิสัญญาระหว่างกันในการขอความร่วมมือทางการทูตตามหลักต่างตอบแทน

 

(3) ข้อมูลการใช้ บัตรเครดิตของ ปัฐวาท สุขศรีวงศ์ (เพื่อนที่พล.อ.ประวัตร อ้างว่าเป็นเจ้าของนาฬิกา) และ พล.อ.ประวิตร เพื่อตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างนาฬิกาทั้ง 16 เรือน กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

 

(4) ประเด็นอื่น ๆ ตามข้อสังเกตของกรรมการป.ป.ช. ฝ่ายเสียงข้างน้อยโดยเหตุผลที่ กรรมการ ป.ป.ช. ฝ่ายเสียงข้างมากอ้างเพื่อยุติเรื่อง คือหลักฐานที่มีตอนนั้นเพียงพอแล้ว วินิจฉัยได้เลย และตามพยานหลักฐานตอนนั้น ยังฟังไม่ได้ว่า พล.อ. ประวัตร เป็นเจ้าของนาฬิกา ในเมื่อยังไม่ชัดว่าเป็นเจ้าของ การไม่แสดงในบัญชีทรัพย์สิน จะไปถือว่าพล.อ.ประวิตร ยื่นด้วยข้อความอันเป็นเท็จไม่ได้

พรรคประชาชนร้องรัฐสภา ตรวจสอบป.ป.ช. พรรคประชาชนร้องรัฐสภา ตรวจสอบป.ป.ช.

ข้อกล่าวหาที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลที่ให้เปิดเผยเอกสารกรณีนาฬิกาหรู

พล.อ.ประวัตร แม้ต่อมาเป็ดเผย เอกสารก็ถูกคาดดำทับข้อความจำนวนมากกรรมการ ป.ป.ช. 9 คน ที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่16 มีนาคม 2566 - 23 พฤษภาคม 2567 ได้แก่

 

1. พล.ต.อ. วัชรพล ประสารราชกิจ (ประธานใน

ขณะนั้น)

2. ณรงค์ รัฐอมฤต

3. สุภา ปียะจิตติ

4. วิทยา อาคมพิทักษ์

5. สุวณา สุวรรณจูฑะ

6. ณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา

7. สุชาติ ตระกูลเกษมสุข

8. เอกวิทย์ วัชชวัลคุ

9. แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์

 

กรรมการ ป.ป.ช. บางรายในจำนวนนี้ ลงมติไม่เปิดเผยข้อมูลและไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา/คำสั่งของศาล ต่อเนื่องจากการยุติเรื่องแหวนแม่นาฬิกาเพื่อนของ พล.อ.ประวัตร ทำให้สังคมเกิดคำถามและข้อครหาว่า ป.ป.ช. เอื้อประโยชน์ให้ พล.อ.ประวิตร หรือไม่ ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อองค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช. สั่นคลอนอย่างหนัก

 

วีระ สมความคิด ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่ขอให้ป.ป.ช.ไต่สวน พล.อ. ประวิตร กรณีจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จ จึงได้ร้องขอให้สำนักงานป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเกี่ยวกับสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวจำนวน 3 รายการ ได้แก่

 

(1) รายงานการแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเอกสารทั้งหมด

(2) ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ทุกคน ที่รับผิดชอบในเรื่องกล่าวหาดังกล่าว

(3) รายงานการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ป.ช.ที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

แต่ กรรมการ ป.ป.ช. เสียงข้างมากมีมติ ไม่ให้ เปิด เผย!วีระจังสู้ต่อ แบ่งเป็น 3 ยกให้เห็นชัดๆ

 

ยกที่ 1 วีระ ร้องคณะกรรมการวินิจฉัยการเป็ดเผยข้อมูลข่าวสาร

วีระ ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. 2540 ร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งในเวลาต่อมา คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดิน และการบังคับใช้กฎหมายมีมติที่ สค 333/2562 สั่งให้สำนักงาน ป.ป.ช.และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่วีระ

แต่ กรรมการ ป.ป.ช. ไม่ปฏิบัติตาม!!

 

ยกที่ 2 วีระ ฟ้องศาลปกครองกลาง ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 ให้ สำนักงาน ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารจำนวน 3 รายการ ตามคำขอของวีระภายใน 15 วันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

 

แต่รายการที่ 2 (ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ทุกคน ที่รับผิดชอบ) ศาลฯ ให้เป็ดเผยเฉพาะความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำให้วีระอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด

 

ต่อมา 16 มีนาคม 2566 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ.224/2566 ให้ สำนักงาน ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้ง 3 รายการ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

แต่ กรรมการ ป.ป.ช. ไม่ ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด !!

 

ยกที่ 3 วีระ ร้องศาลปกครองกลาง (รอบที่ 2) วีระจึงร้องต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองซึ่งต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งให้สำนักงาน ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด (ที่บอกให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้ง3 รายการนั่นแหละ) ให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน15 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งนี้

 

วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 สำนักงาน ป.ป.ช.จึงมีหนังสือด่วนที่สุด แจ้งให้วีระไปรับข้อมูลข่าวสารตามคำสั่งศาลปกครองกลาง โดย 23 พฤษภาคม 2567 วีระไปรับเอกสาร กลับพบว่าสำนักงาน ป.ป.ช. ได้ทำการคาดดำทับข้อความปกปิดจำนวนมากในเอกสารที่ส่งมอบ ซึ่งขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดและคำสั่งศาลปกครองกลางที่ไม่ได้ระบุให้มีการคาดดำปกปิดข้อความ

 

ด้วยการกระทำของ กรรมการ ป.ป.ช. จากที่มี 3 คน ดังกล่าว เฉพาะรายที่ลงมติไม่เปิดเผยข้อมูลให้วีระ อันเป็นการจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำสั่งศาล สมาชิกรัฐสภาจึงขอให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อแต่งตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระ ให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ประกอบมาตรา 49 และมาตรา 50 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 เพื่อดำเนินการไต่สวนหาข้อเท็จจริงกรรมการป.ป.ช. ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบัน และกรรมการ ป.ป.ช. ที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว ที่ยังอยู่ใต้อำนาจไต่สวนของคณะผู้ไต่สวนอิสระ

 

โดยไต่สวนว่า

(1) จงใจฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และคำสั่งศาลปกครองกลาง

(2) หากไต่สวนแล้วพบว่าจงใจฝ่าฝืนจริง ย่อมเป็นเหตุอันควรสงสัยว่า กรรมการ ป.ป.ช. กระทำการอันเป็นการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหรือหน้าที่ ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิในการเข้าถังข้อมูลข่าวสารของราชการหรือสิทธิอื่นของนายวีระ สมความคิด

 

ขัดขวางกระบวนการการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และฝ่าฝืนต่อมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561

พรรคประชาชนร้องรัฐสภา ตรวจสอบป.ป.ช. พรรคประชาชนร้องรัฐสภา ตรวจสอบป.ป.ช.

ข้อกล่าวหาที่ 3 ไม่ซื่อสัตย์สุจริต มีพฤติการณ์ขอ รับประโยชน์ในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ กระทำเพื่อให้ตนได้ประโยชน์โดยขัดกันกับประโยชน์ส่วนรวม หรือไม่

 

กล่าวหา สุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานป.ป.ช. คนปัจจุบันเนื่องจากเมื่อประมาณวันที่ 11 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา มีสื่อมวลชนเผยแพร่คลิปข่าว สุชาติ ตระกูลเกษมสุข (ขณะดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ป.ช.) และ พล.ต.อ. สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าพบวันมูหะมัดนอร์มะทา ประธานรัฐสภา ที่บ้านพักเป็นการส่วนตัว

 

ในเวลาต่อมา พล.ต.อ. สุรเชชษฐ์ ได้ออกมายอมรับว่าเหตุการณ์วันนั้นมีคน 3 คน คนที่หนึ่งคือคนที่อนุญาตให้ไปพบ คนที่สองคือคนที่ได้รับอนุญาตให้ไปพบ คนที่สามคือคนที่พาไปพบ

 

"คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือคนที่สอง ไปขอความช่วยเหลือเรื่องคดีของตนเอง คนที่หนึ่งได้บุญคุณจากการช่วยเหลือคดี แล้วก็ได้ทำให้ตามที่ผู้ใหญ่สั่งมาว่าให้ยุติเรื่องนี้ ส่วนที่สามคนพาไปได้อะไรลดความขัดแย้งเพราะผู้ใหญ่บอกว่า ไอ่โจ๊กเนี่ยสร้างความขัดแย้งเยอะเหลือเกิน"

 

ภายหลังปรากฏรายงานข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆทำให้สื่อมวลชนตลอดจนประชาชน ตั้งข้อสงสัยว่า สุชาติ คือคนที่อาจได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ หรือ กล่าวคือ พล.ต.อ. สุรเชชษฐ์ เป็นตัวกลางพา "สุชาติ" เข้าพบ "ประธานวันนอร์" เพื่อพูดคุยให้มีการยุติเรื่องร้องเรียนของ พล.ต.อ. สุรเชชษฐ์ และประชาชนกว่า 25,000 คน ที่ยื่นต่อประธานรัฐสภาให้ตรวจสอบสุชาติขณะดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.ก่อนที่ในเวลาต่อมา 5 กุมภาพันธ์ 2568ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะลงมติเลือกสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เป็นประธาน ป.ป.ช.

 

ข้อวิจารณ์จากสังคมยั่งดังขึ้นเรื่อยๆ ว่าประธาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบความสุจริตของคนอื่น และควรได้รับความเชื่อถือเรื่องความตรงไปตรงมา หากถูกตั้งคำถามเรื่องความชื่อสัตย์สุจริตของตัวเองเสียเอง เช่นนี้ควรทำหน้าที่ต่อไปหรือไม่

 

สมาชิกรัฐสภาจึงขอให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระเพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริงว่า

(1) คลิปที่ถูกเผยแพร่ ซึ่งปรากฏพฤติกรรมของประธาน ป.ป.ช. คนปัจจุบัน เป็นคลิปจริงหรือถูกตัดต่อ ถ้าการถูกตัดต่อไม่ได้กระทบต่อการพิจารณาข้อเท็จจริง ก็ขอให้ดำเนินการต่อไป

 

(2) สุชาติได้ทำตามที่ปรากฏในคลิปจริงหรือไม่ถ้าทำจริง ถือว่ามีพฤติกรรมเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย มีพฤติการณ์ ขอ รับประโยชน์ในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ กระทำเพื่อให้ตนได้ประโยชน์โดยขัดกันกับประโยชน์ส่วนรวม อันเป็นการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 234 (1) ประกอบมาตรา4 แห่ง พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561

พรรคประชาชนร้องรัฐสภา ตรวจสอบป.ป.ช. พรรคประชาชนร้องรัฐสภา ตรวจสอบป.ป.ช.

ขั้นตอนจากนี้ อำนาจอยู่ในมือประธานรัฐสภาว่าจะเสนอเรื่องต่อไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้ง “คณะผู้ไต่สวนอิสระ” หรือไม่ 


หากประธานรัฐสภาเสนอเรื่อง คณะผู้ไต่สวนอิสระจะไต่สวนหาข้อเท็จจริงว่า กรรมการ ป.ป.ช. คนไหน จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่ 


เมื่อข้อเท็จจริงจากคณะผู้ไต่สวนอิสระยุติ เรื่องจะไปต่อได้ 2 ทาง (1) ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 237 คือเสนอเรื่องต่อศาลฎีกา หรือ (2) ส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และดำเนินการตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

Thailand Web Stat