ซาย มูฟเม้นท์ มูลนิธิชุบชีวิตเด็ก
อุบัติขึ้นด้วยรัก ก่อตัวเป็นปาฏิหาริย์ ... ซาย เค่อ ลี เด็กน้อยผู้พิการตั้งแต่กำเนิด มีแขนขวาครึ่งท่อน ขาซ้ายคดผิดรูป ไม่มีขาขวา ข้อต่อสะโพกหลุดออกจากเบ้า ได้รับการชุบชีวิตใหม่จากพลังกายและพลังใจของผู้เป็นพ่อ วอลเตอร์ ลี
อุบัติขึ้นด้วยรัก ก่อตัวเป็นปาฏิหาริย์ ... ซาย เค่อ ลี เด็กน้อยผู้พิการตั้งแต่กำเนิด มีแขนขวาครึ่งท่อน ขาซ้ายคดผิดรูป ไม่มีขาขวา ข้อต่อสะโพกหลุดออกจากเบ้า ได้รับการชุบชีวิตใหม่จากพลังกายและพลังใจของผู้เป็นพ่อ วอลเตอร์ ลี
โดย...ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน
อุบัติขึ้นด้วยรัก ก่อตัวเป็นปาฏิหาริย์ ... ซาย เค่อ ลี เด็กน้อยผู้พิการตั้งแต่กำเนิด มีแขนขวาครึ่งท่อน ขาซ้ายคดผิดรูป ไม่มีขาขวา ข้อต่อสะโพกหลุดออกจากเบ้า ได้รับการชุบชีวิตใหม่จากพลังกายและพลังใจของผู้เป็นพ่อ วอลเตอร์ ลี
ราวกับเทพนิยาย...น้องซายกำลังวิ่ง
“ผมไม่สามารถอธิบายความรู้สึกตอนที่ได้เห็นน้องลุกขึ้นเดินได้เองเป็นครั้งแรกออกมาเป็นคำพูดได้” น้ำเสียงวอลเตอร์เจือด้วยความตื่นเต้นเมื่อได้หวนรำลึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุข
เพราะพลิกแผ่นดินแสวงหาหนทางหวังให้ลูกพิการคนนี้ก้าวเดินได้ ทำให้เขาค้นพบ “There is always hope” คือสัจนิรันดร์สำหรับวอลเตอร์
โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก (Heidelberg University Hospital) ประเทศเยอรมนี มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษากระดูกและกล้ามเนื้อเด็กโดยเฉพาะ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1386 รองรับคนไข้จากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ...อีกหนึ่งความหวังของผู้เป็นพ่อ
เป็นความหวังที่มีร่องรอยของความสำเร็จ
ด้วยศาสตร์การรักษาที่เรียกว่า วอลย์ตา เทอราพี (Vojta Therapy) ซึ่งเป็นกระบวนการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการกระตุ้นระบบประสาทสั่งการด้านการเคลื่อนไหว ทำให้หัวใจของวอลเตอร์โชติช่วงเปี่ยมล้นด้วยสุข ... ใช่ น้องซายเดินได้แล้ว
“ผมไม่อยากเก็บความสำเร็จไว้ที่ผมคนเดียว ผมอยากแบ่งปันความสุขนี้ให้กับครอบครัวที่มีลูกพิการตั้งแต่กำเนิดกว่า 5 แสนครอบครัวในประเทศไทย” เป็นความคิดของพ่อที่เข้าใจความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีลูกพิการเช่นเดียวกับตัวเอง
มูลนิธิซาย มูฟเม้นท์ (ZMF) Zy Movement Foundation คือผลผลิตจากการต่อยอดความคิดนั้น
วอลเตอร์ ในฐานะประธานมูลนิธิ แสดงเจตจำนงในวันเปิดตัวมูลนิธิว่า มูลนิธิจะมุ่งเน้นใน 4 จุดประสงค์หลัก ได้แก่ 1.ให้ความช่วยเหลือเด็กพิการทางด้านการเคลื่อนไหวเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และสนับสนุนให้สามารถดำรงชีวิตอิสระอยู่ในสังคมได้ 2.ฟื้นฟูสภาพจิตใจและเสริมสร้างศักยภาพของผู้ปกครองที่มีบุตร หลาน พิการแต่กำเนิด ให้สามารถเรียนรู้ เข้าใจ ดูแล และฟื้นฟูเด็กพิการได้
3.สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางด้านการแพทย์ และฟื้นฟูเด็กพิการจากแหล่งต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ 4.เผยแพร่ข้อมูลให้แก่สังคม ชุมชน ในการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อคนพิการว่ามีสิทธิเท่าเทียมกับคนปกติ
นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และกรรมการกิตติมศักดิ์มูลนิธิ อธิบายถึงอนาคตอันใกล้ว่า กรมการแพทย์ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับโรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก เพื่อถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์ในการรักษาเด็กพิการแขนขา
ในปี 2554 จะมี 3 โครงการใหญ่ ได้แก่ 1.โครงการส่งแพทย์และนักกายภาพบำบัดจากศูนย์สิรินธรฯ และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ไปศึกษาดูงานในช่วงเดือน มี.ค. 2.โครงการนำแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกเด็กจากเยอรมนี เข้ามาทำการผ่าตัดให้แพทย์ไทยเรียนเป็นกรณีศึกษาช่วงเดือน ก.ค. 3.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแพทย์และนักกายภาพบำบัดไทย ในเทคนิค “วอลย์ตา เทอราพี”
“ทั้งสามโครงการจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่เดือน ส.ค. 2554ก.พ. 2556 เมื่อแล้วเสร็จก็จะต่อยอดความรู้ไปยังระบบสาธารณสุขให้กระจายทั่วทั้งประเทศ” นพ.เรวัต ฉายภาพการดำเนินการ และอธิบายเพิ่มว่า เมื่อเราแลกเปลี่ยนความรู้กับประเทศเยอรมนีแล้ว ก็จะให้แพทย์ไทยเผยแพร่ความรู้ต่อเป็นรุ่นต่อรุ่น มีการจัดอบรมให้ผู้ปกครองเข้าถึงวิธีการรักษาเพื่อทำกายภาพให้บุตรด้วย
ความรัก ความหวัง และปาฏิหาริย์ กำลังจะเกิดขึ้นกับเด็กน้อยผู้พิการชาวไทย