ขุนทองยูกันดา อินเดียน่าแม้ว
แม้รายงานประจำปี 2551 ของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกาหรือที่เรียกกันว่า ยูเอสจีเอส (USGS)
แม้รายงานประจำปี 2551 ของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกาหรือที่เรียกกันว่า ยูเอสจีเอส (USGS)
โดย..วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย
จะยืนยันว่า ยูกันดามีแหล่งทองคำอยู่จริง และเป็นแหล่งทองคำที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในพื้นที่การสำรวจในโครงการมาชองกา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ใกล้กับคองโกที่สำรวจพบสายแร่ทองคำยาว 3 กิโลเมตร กว้าง 500 เมตร ซึ่งเป็นแร่ทองคำมีคุณภาพสูง
นอกจากนั้น ในทางตอนกลางของประเทศ ซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่ไม่ห่างจากประเทศคองโกเช่นกัน รัฐบาลยูกันดาคาดการณ์ไว้ตั้งแต่ปี 2551 ว่า พบแหล่งทองคำขั้นต้นในเขตมูเบนดา ประมาณ 500 กิโลกรัม ส่วนในเขตมูโกโนในภาคกลางค่อนไปทางภาคตะวันออก พบสายแร่ขนาด 300x700 เมตร
แต่การที่ทักษิณ ชินวัตร โอ้อวดกับสื่อไทยและสื่อต่างประเทศว่า ไปทำธุรกิจเกี่ยวกับเหมืองทองในแอฟริกา 56 ประเทศ และที่มากที่สุดอยู่ในประเทศยูกันดาถึง 31 เหมือง นอกนั้นอีก 5 ประเทศ มีอย่างละ 12 เหมือง รวมมูลค่า 5.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหักส่วนที่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐบาลประเทศนั้นๆ แล้วก็ยังมีรายได้เหลืออีกนับหมื่นล้านนั้นเป็นเรื่องจริงหรือเป็นความฝันของคนหลงละเมอ แล้วผู้คนที่อับจนปัญญาทั้งหลายแต่แน่นหนักไปด้วยกิเลส ตัณหา และความละโมบ ก็จะพากันหลงใหลได้ปลื้มกับความร่ำรวยที่หวังว่าทักษิณจะเอามาแบ่งปันให้
ทักษิณหลงเพ้อไปว่า เมื่อมีเงินแล้วจะขุดทองให้ทองคำลอยมาหาได้ง่ายๆ จึงได้คุยโวโอ้อวดแบบไม่อายแม้กระทั่งเทวดาฟ้าดิน
เพราะการทำเหมืองทองมันไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆ ถ้าหากมันง่ายดายอย่างทักษิณคิด ประเทศยูกันดาคงจะไม่ด้อยพัฒนาและติดอันดับประเทศที่ยากจนมาถึงทุกวันนี้ ทักษิณคุยว่าไปลงทุนทำเหมืองในยูกันดา 31 เหมือง และลงทุนในประเทศแอฟริกาอื่นๆ อีกประมาณ 10 เหมือง ใช้เงินลงทุนเกือบ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อให้ค่าสัมปทานแก่ประเทศนั้นๆ แล้ว ยังเหลือกำไรอีกนับหมื่นล้านบาท ทักษิณเอาตัวเลขนี้มาจากไหน เพราะการลงทุนทำเหมืองทองคำ เพื่อจะขุดทองออกมาขายได้นั้นมันไม่ใช่ความฝันกับตัวเลขที่คิดแล้วเขียนใส่ไว้ในแผ่นกระดาษ แล้วคุยโม้โอ้อวดไปได้เรื่อยๆ เพราะขั้นแรกของการทำเหมืองทองคำคือ
1.การสำรวจแหล่งแร่เพื่อค้นหาและยืนยันว่ามีแร่ทองคำจริง และมีปริมาณมากพอที่จะลงทุนในเชิงพาณิชย์
2.ดำเนินการสำรวจทางธรณีวิทยา เก็บตัวอย่างธรณีเคมี เพื่อหาตำแหน่งและวิเคราะห์แหล่งแร่
3.ดำเนินการขุดเจาะแร่เพื่อระบุระดับคุณภาพของแร่ และลักษณะทางธรณีวิทยา
4.ดำเนินการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางสิ่งแวดล้อมและชุมชน
ซึ่งการสำรวจขั้นต้นนี้ ใช้ระยะเวลา 35 ปี
จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการในขั้นที่ 2 คือ
1.การออกแบบและการขออนุมัติการก่อสร้างเหมืองและการดำเนินงาน โดยการออกแบบวิธีการทำเหมืองที่ดีที่สุดทางวิศวกรรมให้แล้วเสร็จ ไม่ว่าจะเป็นเหมืองเปิดหรือเหมืองใต้ดิน ตลอดจนกระบวนการในการเก็บแร่
2.ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการให้แล้วเสร็จ
3.ดำเนินการขออนุมัติสิ่งที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างและการดำเนินงาน
4.ขอสิทธิในการใช้ที่ดินและน้ำ
กระบวนการขั้นที่ 2 ใช้ระยะเวลา 35 ปี
ส่วนกระบวนการขั้นสุดท้ายคือการก่อสร้างเหมืองและการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำเหมืองตามที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งมีทั้งข้อกำหนดและมาตรฐานต่างๆ มากมายตามกระบวนการทำเหมืองทองคำคือ
1.ตั้งทีมงานก่อสร้างที่มีฝีมือและมีคุณภาพเพื่อลงมือทำงานตามแผน และการพัฒนาที่ได้กำหนดไว้
2.สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำเหมืองและการแปรรูปทองคำ ตลอดจนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ถนนหนทาง สายไฟฟ้า ท่อประปา และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพนักงานเหมือง
การดำเนินงานขั้นสุดท้ายนี้ใช้ระยะเวลา 23 ปี โดยเหมืองทองคำแต่ละเหมืองหากดำเนินการได้จะมีอายุเฉลี่ย 10-35 ปี
จึงเห็นได้ว่าการทำเหมืองทองคำนั้นการที่จะทำให้เหมืองแร่มีการผลิตได้จะต้องใช้เวลา 8-13 ปี และถึงแม้ว่าการดำเนินการต่างๆ อาจจะสามารถร่นระยะเวลาให้เหลือลงเพียงครึ่งหนึ่งด้วยการอาศัยเทคโนโลยี เงินและทรัพยากรมากมายเพียงใดก็ตาม แต่การลงทุนอาจจะต้องถูกยกเลิกได้ในระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากปัญหาที่ไม่อาจจะแก้ไขได้
ด้วยเหตุนี้ แม้การทำเหมืองทองคำอาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้มีกำไรสูง แต่ก็ทำให้บริษัทหลายบริษัทที่ได้ชื่อว่าเป็นเขี้ยวลากดินในวงการทองต้องล้มหายตายจากไปไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเหมืองทองคำในประเทศแอฟริกาที่มักจะมีความเสี่ยงทางด้านการเมืองจากหลายสาเหตุ เพราะเหมืองทองคำเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้และใช้เงินลงทุนสูง จึงมักจะเป็นเป้าหมายของรัฐบาลหรือองค์กรแรงงาน การทำเหมืองทองคำในแอฟริกาจึงมักจะถูกยึดโดยรัฐบาลลัทธิมาร์กซ์และกองกำลังกบฏที่มีอยู่อย่างมากมายหลายเผ่าพันธุ์
ต่อให้ทักษิณ ชินวัตร จะคุยว่ารู้จักสนิทสนมกับผู้นำชาติต่างๆ ในแอฟริกาเป็นอย่างดี แต่เส้นทางการทำธุรกิจเหมืองทองมันไม่ได้ง่ายเหมือนทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ถ้าหากจะคิดกันให้ดีอย่างคนมีปัญญาก็ขอให้ลองตรองกันดูว่า แม้ทักษิณจะมีเงินเป็นแสนล้านไปซุกซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ ในโลกนี้ คนอย่างทักษิณหรือจะยอมถลุงเงินของตัวเองไปสำรวจทองเพื่อทำเหมืองในแอฟริกา 56 ประเทศทีเดียวถึง 3040 เหมือง โดยที่ยังไม่รู้ว่าผลการสำรวจนั้นมันจะทำได้จริงมากน้อยเพียงไร แล้วคนอย่างทักษิณ มีหรือจะอดทนลงทุนด้วยเงินจำนวนมากเป็นเวลา1020 ปี เพื่อหวังผลในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้าส่วนที่อ้างว่าพอสำรวจว่ามีทองจริงแล้วก็ตั้งบริษัทเข้าตลาดหุ้นทองคำที่แคนาดา เพื่อหาทางค้ากำไรจากทองคำในกระดานหุ้นนั้นมันเป็นการฝอยลมของคนเพ้อเจ้อ เพราะเหมืองทองคำในความฝันของทักษิณกับเงินลงทุนอีก 5.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ใครจะร่วมลงทุน ใครจะปล่อยเงินกู้ ความน่าสงสัยนี้ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ขุมทองยูกันดาคงจะเป็นเพียงความฝันของคนไกลบ้านแบบขุมทองสุดขอบฟ้าที่ทักษิณ ชินวัตร เคยฝันว่าขุมทองถ้ำลิเจียที่กาญจนบุรีมีมากมายมหาศาล จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศไทยรอดพ้นวิกฤตไปได้เมื่อครั้งที่ทักษิณยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกลายเป็นเรื่องตลกขบขันให้ได้หัวเราะกันทั้งบ้านทั้งเมืองมาแล้วนั่นเอง