posttoday

ตร.แถลงผลงาน5ด้านรอบ3เดือน ปราบปรามอาชญากรรมเด็ดขาด

20 มกราคม 2566

พล.ต.ต.อาชยน โฆษกตร. แถลงผลงานในรอบ3เดือน หลังการขึ้นมาดำรงตำแหน่งผบ.ตร."พล.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์"ระหว่าง 1 ต.ค.-31ธ.ค.2565 ขับเคลื่อนโยบายรัฐบาล ปราบปรามกวาดล้างอาชญากรรมเด็ดขาด

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษก.ตร.) แถลงผลงานรอบ 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 – 31 ธ.ค.65 ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล กวาดล้างอาชญากรรมอย่างเด็ดขาดและต่อเนื่อง สืบสวนปราบปรามจับกุม คดียาเสพติด คดีออนไลน์ การพนัน อาวุธปืน สถานบริการ เพิ่มความเข้มในการคัดกรองและจัดระเบียบคนต่างด้าวฯ แก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมี 5 ด้านดังนี้

1. ด้านการกวาดล้างอาชญากรรม
1.1 สถิติคดีอาญา 4 กลุ่ม ทั่วประเทศ สามารถจับกุมได้ 221,205 คดี
1.2 การระดมกวาดอาชญากรรมในช่วงเทศกาลสำคัญ (APEC, ฟุตบอลโลก, ปีใหม่) จับกุมความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน วัตถุระเบิด และเครื่องกระสุน ทั้งสิ้น 11,811 คดี ผู้ต้องหา 10,450 คน จับบุคคลตามหมายจับคดีอาญาได้ 9,465 หมายจับ ผู้ต้องหา 9,255 คน จับกุมการลักลอบเล่นการพนันทายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก ผู้ต้องหา 12,245 ราย ยึดทรัพย์สินมูลค่ารวม 1,770,565,337 บาท และเงินทุนหมุนเวียน 11,202,398,188 บาท
1.3 กวาดล้างและจัดระเบียบ คนต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ระดมกวาดล้างคนต่างด้าว Overstay ในห้วงวันที่ 1 ธ.ค.-13 ธ.ค.65 จับกุมได้ 7,886 ราย สถิติการจับกุมในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง 3,017 ราย, ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น 23 ราย และนำพาคนต่างด้าว 4 ราย สถิติการดำเนินคดีในข้อหาตาม พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ (10 ประเภทความผิด) จำนวน 34 คดี จับกุมผู้ต้องหาได้ 64 ราย และช่วยเหลือผู้เสียหายได้ 91 ราย (ข้อมูลจาก ศพดส.ตร.)

1.4 โครงการประชาสัมพันธ์ เครือข่ายป้องกันอาชญากรรม
1.4.1 โครงการฝากบ้าน 4.0 ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 มีประชาชนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 8,583 ราย  เป็นการลงทะเบียนผ่านทางแอปพลิเคชัน “ฝากบ้าน 4.0” จำนวน 7,190 ราย และลงทะเบียนผ่านการติดต่อกับสถานีตำรวจ  ในละแวกบ้าน จำนวน 1,393 ราย ขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า “สามารถลงทะเบียนฝากบ้าน 4.0 ได้ตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะช่วงเทศกาล”
1.4.2 โครงการ Stop Walk and Talk เป็นการเก็บข้อมูลจากการหยุดรถตรวจพูดคุยกับประชาชน นำข้อมูลมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมก่อนเกิดเหตุ ซึ่งในการห้วงมีการประชุม APEC มีการบันทึกข้อมูลบุคคลที่พบปะพูดคุย จำนวน 593,621 ครั้ง
1.4.3 เพื่อนบ้านเตือนภัย ให้ประชาชนสามารถดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองได้ในขั้นต้น เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกัน
1.4.4 โครงการ 1 ตำรวจ 1 หมู่บ้าน พบปะทำความรู้จัก รับฟังปัญหาจากประชาชน แสวงหาความร่วมมือ ทำลายกระบวนการยาเสพติด ควบคุมและลดพฤติกรรมที่อันตราย ในระยะที่ 1 จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจลงสู่ชุมชน จำนวน 1,365 ชุมชน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมได้ 203 คดี

2. ด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติด
2.1 สถิติการจับกุมคดียาเสพติด จับกุมได้ 69,385 คดี ผู้ต้องหา 68,354 คน (ปริมาณของกลา ยาบ้า 93,118,132 เม็ด, ไอซ์ 77,246 กิโลกรัม, เฮโรอีน 36,861 กิโลกรัม เคตามีน 43,084 กิโลกรัม โคเคน 262 กิโลกรัม และ ยาอี 54,789 เม็ด)
2.2 โครงการค้นหา ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยา และผู้ป่วยจิตเวช เพื่อนำเข้าสู่การบำบัดรักษา จำนวน 401,452 คน โดย แบ่งเป็น ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยา จำนวน 350,056 คน ผู้สมัครใจนําเข้ากระบวนการบําบัดยาเสพติด จำนวน 106,937 คน ผู้ป่วยจิตเวชส่งเข้ารับการบำบัด จำนวน 51,396 คน ในจำนวนนี้ เป็นผู้ป่วยจิตเวชสาเหตุจากยาเสพติด จำนวน 25,586 คน
2.3 โครงการชุมชนยั่งยืน ดำเนินการไปแล้วจำนวน 2,966 ชุมชน พบผู้เสพยาเสพติด จำนวน 28,164 คน ในปี พ.ศ. 2566 จะดำเนินการอีกจำนวน 1,483 หมู่บ้าน/ชุมชน นำเข้าสู่การบำบัดรักษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Based Treatment : CBTx)

3. ด้านการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
3.1 ด้านการแจ้งความออนไลน์
สถิติการรับแจ้งความออนไลน์ตั้งแต่ 1 ต.ค. – 31 ธ.ค.65 รับแจ้งความ 67,479 คดี
- ข้อมูล 5 กลโกงที่พบการรับแจ้งมากที่สุด (1. คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า 2. โอนเงินเพื่อหารายได้จากกิจกรรม 3. หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน 4. หลอกให้ลงทุน (ไม่เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน) 5. หลอกลวงทางโทรศัพท์แบบเป็นขบวนการ/Call Center)
- ข้อมูล 5 กลโกงที่พบความเสียหายสูงสุด (1. หลอกให้ลงทุน (6.9 ลบ) 2. หลอกลวงทางโทรศัพท์แบบเป็นขบวนการ (2.6 ลบ.) 3. โอนเงินเพื่อหารายได้จากกิจกรรม (2.5 ลบ.) 4. หลอกให้รักแล้วลงทุน (1.18 ลบ.) 5. หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน (0.81 ลบ.)
- ความเสียหายรวม 8,815,670,563 บาท สามารถอายัดบัญชีได้ 24,614 บัญชี อายัดเงินได้ทัน 105,917,104 บาท
- ความเชื่อมโยงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ออกหมายจับจำนวน 321 Case ID จับกุมได้ 95 Case ID
3.2 ความร่วมมือภาคีเครือข่าย
3.2.1 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง ตร. สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิกรวม 21 ธนาคาร โดยมีผู้แทนจากกระทรวงดิจิทัลฯ กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย ปปง.  และเลขาธิการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ร่วมเป็นสักขีพยาน บันทึกข้อตกลงเพื่อให้การประสานการปฏิบัติระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ธนาคาร ในการรับส่งข้อมูลของคนร้าย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และสอดคล้องกับรูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน
3.2.2 โครงการสร้างภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (Cyber Vaccine) (วันที่ 13-14 ธ.ค.65 อบรมครูแม่ไก่ 11 กองบัญชาการ (น., ภ.1-9 และ สอท.) รวม 116 นาย และลูกไก่ (ครู ข.ไข่) จำนวน 29 กองบังคับการ
3.3 การประชาสัมพันธ์การป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
3.3.1 บันทึกความร่วมมือ (MOU) ไปรษณีย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการรวบรวมรูปแบบกลโกงต่างๆ ของมิจฉาชีพ 22 รูปแบบ (ขนาด A4) จำนวน 1,500,000 แผ่น แจกจ่ายให้ประชาชน ทั่วประเทศ และโปสเตอร์ขนาด A3 จำนวน 500,000 แผ่น สำหรับสถานีตำรวจทั่วประเทศ
3.3.2 โครงการ แชทบอท@police1441 ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Line อีกช่องทางหนึ่ง เพื่อให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นแก่ประชาชน โดยมุ่งหวังให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันทางด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยแชทบอท Line@police1441 เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งใน Application Line ให้ตอบกลับการสนทนาแบบอัตโนมัติ มี “ผู้หมวดขวัญดาว” เป็นตัวแทนของฝ่ายรับแจ้งทางโทรศัพท์ ศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คอยให้บริการตอบคำถามประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง

3.4 ปรับปรุงระเบียบกฎหมาย

3.4.1 ตร. ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯ ยกร่าง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ..... เพื่อให้ครอบคลุมการปฏิบัติของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กสทช. ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ธปท. ปปง. ก.ล.ต. (เดิมกำหนดไว้เฉพาะอำนาจหน้าที่ของสถาบันการเงิน) และให้มีคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มี นรม. (หรือ ผบ.ตร.) เป็นประธาน โดยร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

3.4.2 เสนอร่างประกาศ ปปง. เรื่อง การจัดทำข้อมูลบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานและการฟอกเงินฯ การนำข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความผิดมูลฐาน (บัญชีต้องสงสัย) เข้าสู่ระบบตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงิน HR-03
โดยเสนอ สำนักงาน ปปง. ให้กำหนดมาตรการ ให้มีการนำชื่อและบัญชีของบุคคลอื่น ซึ่งเปิดบัญชีไว้แล้วมาใช้เป็นช่องทางในการรับเงิน และโอนถ่ายเงินที่ได้จากการกระทำผิด โดยปัจจุบัน อยู่ในระหว่างรอประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป


4. ด้านการยกระดับการบริการประชาชนของสถานีตำรวจ

4.1 Service Mind ปรับแนวคิดการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 1,484 สถานี เน้นการให้บริการดุจญาติมิตร รับรู้ แก้ไขปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ ยกระดับการบริการทุกสายงาน เช่น สายตรวจต้องเข้าไปรับรู้ปัญหาของชุมชน (Stop Walk and Talk) พนักงานสอบสวนต้องแจ้งความคืบหน้าทางคดีให้ทราบ เป็นต้น

4.2 สำรวจความพึงพอใจประชาชน ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งประเทศ โดยมีที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการภายนอกเป็นผู้สำรวจจากกลุ่มประชากรเป้าหมาย จำนวน 80,000 หมู่บ้าน ประชาชน 1 ล้าน คน ทำการสำรวจ 2 ครั้ง/ปี (ครั้งที่ 1 ในเดือน ม.ค.66 และ ครั้งที่ 2 ในเดือน ก.ค.66)

4.3 การรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ออนไลน์ (ผ่านระบบ JCOMS)  เปิดช่องทางให้ประชาชนได้มีโอกาสร้องเรียน ร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแสต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ JCOMS : www.jcoms.police.go.th และเว็บไซต์สำนักงานจเรตำรวจ : www.jaray.go.th หรือสแกนผ่านทาง QR Code ปัจจุบันมีการรับเรื่องร้องเรียน 1,851 เรื่อง แจ้งเบาะแส/ขอความช่วยเหลือ 1,261 เรื่อง รวม 3,112 เรื่อง

4.4 โครงการ “ทำดี มีรางวัล”
พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.ได้มอบเกียรติบัตรตามโครงการ “ทำดี มีรางวัล” จาก 15 เหตุการณ์ รวม 74 ราย แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 68 ราย พลเมืองดี จำนวน 6 ราย