มองย้อน "บ้านเอื้ออาทร" ก่อนติดตาม "บ้านเพื่อคนไทย"นโยบายใหม่รัฐบาล
มองย้อนโครงการ "บ้านเอื้ออาทร" ก่อนติดตาม "บ้านเพื่อคนไทย" นโยบายใหม่รัฐบาล "นายกแพทองธาร ชินวัตร" ไม่ซ้ำรอยฉ้อราษฎร์บังหลวง?
จากกรณีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาล ในรอบ 3 เดือน (90 วัน) ได้กล่าวถึงนโยบาย “โครงการบ้านเพื่อคนไทย” โดยระบุว่า มีการดำเนินการบนที่ดินของรัฐ โดยมุ่งเน้นการใช้ที่ดินของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะนำร่องในพื้นที่ ที่มีทำเลดี เดินทางสะดวก ใกล้เมือง บนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
มีรูปแบบพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งคอนโดมิเนียม และบ้านเดี่ยว พร้อมเฟอร์นิเจอร์
โครงการบ้านเพื่อคนไทยสร้างขึ้นเพื่อให้คนวัยเริ่มทำงานและผู้มีรายได้น้อยได้เช่าซื้อบ้าน ในราคาผ่อนเพียวเดือนละ 4,000 บาท และเมื่อจ่ายครบกำหนด จะสามารถได้เช่าอยู่นาน 99 ปี ทำให้เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก
ย้อนอดีต "บ้านเอื้ออาทร"
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2546 สมัยที่นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการริเริ่มโครงการในลักษณะคล้ายกันออกมาภายใต้ชื่อ “บ้านเอื้ออาทร”โดยการเคหะแห่งชาติ(กคช.) มีเป้าหมายแก้ปัญหาชุมชนให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ซึ่งก็ดำเนินไปได้ด้วยดีเป็นระยะเวลา 3 ปี
จากโครงการบ้านเอื้ออาทร สู่ คดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร
กระทั่งปีพ.ศ.2549 เกิดรัฐบาลรัฐประหารได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบโครงการต่างๆของนายทักษิณ ซึ่งโครงการบ้านเอื้ออาทรก็ถูกตรวจสอบเช่นกัน เนื่องจากได้รับร้องเรียนว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นและมีการเรียกรับสินบนทำให้ทั้งบริษัทรับเหมาเอกชนรวมถึงเจ้าหน้าที่กคช.ถูกกล่าวหาว่าทุจริตประเมินราคาที่ดินสูงเกินความเป็นจริง
ปีพ.ศ. 2550 ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดว่า โครงการบ้านเอื้ออาทรมีการจัดซื้อที่ดินแพงเกินจริงและมีการเรียกค่าหัวคิวจำนวน 82.5 ล้านบาท เพื่อนำไปจ่ายให้กับนักการเมืองและพบเส้นเงินโอนเข้าบัญชีของคนขับรถ แม่บ้าน จึงเข้าข่าย 'ฟอกเงิน' จึงได้มีการโอนคดีทุจริตบ้านเอื้ออาทรให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการต่อ
ปี 2560 ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด นายวัฒนา เมืองสุข เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการในโครงการโดยเรียกรับสินบนจากบ.พาสทิญ่า ไทย จนได้โควต้าเป็นคู่สัญญากับการเคหะแห่งชาติทั้งที่ไม่มีคุณสมบัติในการเข้าเป็นคู่สัญญากับกคช. ป.ป.ช.จึงสรุปสำนวนคดีการไต่สวนส่งให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีกับนายวัฒนาและพรรคพวกรวม 14 ราย
ปีพ.ศ. 2563 ช่วงปลายเดือนกันยายน ศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็มีคำพิพากษา
1.นายวัฒนา เมืองสุข จำเลยที่ 1
2.นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือ "เสี่ยเปี๋ยง"
ที่ปรึกษาของนายวัฒนา จำเลยที่4 จำคุก 50 ปี
3. น.ส.รัตนา แซ่เฮ้ง จำเลยที่ 5 จำคุก 20 ปี
4.น.ส.กรองทอง วงศ์แก้ว จำเลยที่ 6 จำ
คุก 44 ปี
5.น.ส.รุ่งเรือง ขุนปัญญา จำเลยที่ 7 จำคุก 32 ปี
6. บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดั้ง จำกัด จำเลยที่ ที่ 8 สั่งปรับ เป็นเงิน 275,000 บาท
7.นายอริสมันต์ จำเลยที่ 10 จำคุก 4 ปี พร้อมสั่งปรับเงินกว่า 1,323 ล้านบาท
ส่วนนายมานะ วงศ์พิวัฒน์ จำเลยที่ 2
นายพรพรหม วงศ์พิวัฒน์ จำเลยที่ 3
บริษัท ซิลเวอร์อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ไทย เฉน ทยู อินเตอร์เนชั่นแนลคอนสตรัดชั้น ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด)
จำเลยที่ 9
บริษัท พาสทิญาไทย จำกัด จำเลยที่ 11
บริษัท นามแฟทท์ คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จำเลยที่ 12, บริษัท พรินชิพเทค ไทย จำกัด จำเลยที่ 13 และ
น.ส.สุภาวิดา คงสุข จำเลยที่ 14 ศาลฯ ยกฟ้อง
นายวัฒนาใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาลฎีกา
ทำให้ระยะเวลายืดยื้อมาจนกระทั่งวันที่ 4 มีนาคม 2565 คดีโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ยืด
เยื้อมานานกว่า 15 ปีจึงได้ปิดฉากลง โดยองค์คณะที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว พิพากษายืนจำคุก "วัฒนา เมืองสุข" 50 ปี ให้ชดใช้เพิ่ม 89 ล้านบาท
เนื่องจากโครงการบ้านเพื่อคนไทย และ โครงการบ้านเอื้ออาทร มีลักษณะคล้ายกัน ทั้งแนวคิด และวัตถุประสงค์ รวมถึงที่เป็นโครงใหญ่ใช้งบประมาณมหาศาล จึงต้องจับตามองว่าโครงการบ้านเพื่อคนไทย จะเกิดปัญหา และทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยคดีโครงการบ้านเอื้ออาทรหรือไม่