เปิดชื่อกมธ.35คนวุฒิสภาศึกษา"เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์"

09 เมษายน 2568

วุฒิสภาตั้งกมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาการเปิดสถาบันเทิงครบวงจร 35คนดึงคนนอก นักวิชาการ นักกฎหมาย อดีตสว.ร่วมพิจารณาใช้เวลา 180วัน

การประชุมวุฒิสภา เมื่อคืนวันที่ 8เมษายน 2568 ที่มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาญัตติที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร (เอนเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์) จำนวน 3 ญัตติ คือ 
ญัตติ ขอให้ตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร 
เสนอโดย นายสรชาติ วิชย สุวรรณพรหม สว. 
ญัตติให้วุฒิสภาพิจารณาผลกระทบจากการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ.... 
เสนอโดย นายวีระพันธุ์ สุวรรณามัย 
ญัตติด่วนด้วยวาจา เพื่อมีข้อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ทำการออกเสียงประชามติก่อนการเสนอร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ต่อสภาฯ 
เสนอโดย น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.

การอภิปรายสว.ใช้เวลานานกว่า 3ชม.เสียงส่วนใหญ่ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เรียกร้องให้รัฐบาลจัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชน หรือ สมัชชา 77 จังหวัดและเสนอให้ทำประชามติ พร้อมกับเสนอให้ถอนร่างกฎหมายเอนเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ออกจากวาระการพิจารณาของสภาฯแทนการเลื่อนระเบียบวาระ

ทั้งนี้ เนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ที่ ครม. เสนอต่อสภาฯ สว.มีความกังวลต่อประเด็นท่ีอาจเกิดผลกระทบทางสังคม ก่อให้เกิดอาชญากรรมร้ายแรง เกิดทุนเทาทำให้ประเทศขาดความเชื่อมั่นจากนักลงทุน เนื่องจากปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มแข็ง ขณะที่ในประเด็นที่รัฐบาลตั้งโจทย์ในแง่กระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ไม่มีข้อบ่งชี้ใดว่าจะทำให้รายได้เข้าประเทศตามเป้าหมาย เพราะมีข้อจำกัดของผู้เข้าเล่น
 

หลังการประชุมซึ่งมีผู้อภิปรายกว่า 20คน พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ฐานะประธานที่ประชุมได้ถามกับที่ประชุมว่ามีผู้ใดขัดข้องต่อการตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจรหรือไม่ ซึ่งไม่มีผู้คัดค้าน 

ดังนั้น จึงอาศัยตามข้อบังคับ ตั้งกมธ.35 คน ประกอบด้วย 
1. ศ.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ 
2.นายชินโชติ แสงสังข์
3.นายโชคชัย กิตติธเนศวร 
4.นายโชติชัย บัวดิษ 
5.นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล 
6.นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ 
7.นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร 
8.นายนิพนธ์ เอกวานิช 
9.นายปฏิมา จีระแพทย์ 
10.นายประเทือง มนตรี
11.นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ 
12.นายพรชัย วิทยเลิศพันธุ์ 
13.นายมังกร ศรีเจริญกูล 
14.น.ส.รัชนีกร ทองทิพย์
15.รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ 
16.พล.ต.ท.วันไชย เอกพรพิชญ์ 
17.นายวีระยุทธ สร้อยทอง 
18.นายวีระพันธุ์ สุวรรณามัย 
19.น.ต.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ 
20.นายสรชาติ วิชย สุวรรณพรหม 
21.นายสุนทร พฤกษพิพัฒน์ 
22.น.ส.อัจรพรรณ หอมรส 
23.นางเอมอร ศรีกงพาน

และมีสัดส่วนของคนนอก 12 คน ประกอบด้วย 

ขณะที่รายชื่อในสัดส่วนบุคคลภายนอก ประกอบด้วย ใ
24.น.ส.กัลยารัตน์ โคตรภูเขียว อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
25.นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ และอดีต สว. 
26.นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสื่อมวลชน และอดีต สว. 
27.ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 
28.รศ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และอดีต สว. 
29.นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง 
30.พล.ท.บุญชัย เกษตรตระการ รองจเรกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) 
31.นายภูมิพัฒน์ ธีรัชกิจไพศาล 
32.ศ.วุฒิสาร ตันไชย อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า 
33.ศ.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) 
34.พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) 
และ35.นายแสนศักดิ์ ศิริพานิช อดีตข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้กมธ.วางกรอบศึกษา 180 วัน

แฟ้มภาพ ประกอบเนื้อหาข่าว 

Thailand Web Stat