การต่อสู้ของ “Erika Hilton” เพื่อสมาชิกสภาข้ามเพศคนแรกของบราซิล
บททดสอบที่ยากลำบากของ Erika Hilton กว่าจะมาเป็นสมาชิกสภาข้ามเพศคนแรกของประเทศบราซิล เพราะเหตุใดที่ทำให้เขาขึ้นมาเป็นตัวเเทนของชาว LGBTQ ได้
ปัจจุบันหลายประเทศในตอนนี้เริ่มมองข้ามเพศสภาพ เชื้อชาติ สีผิว หรือแม้กระทั่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมให้ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศแล้ว แต่เขากลับมองเห็นถึงความสามารถ ศักยภาพที่ชาญฉลาดของตัวบุคคลมากกว่า ไม่ได้มองว่าเกิดที่ไหน ฐานะอย่างไร หรือสีผิวเป็นอย่างไร แต่เลือกที่จะมองถึงความเก่ง เพราะเขาเชื่อว่าความเก่งนี่แหละที่จะเป็นตัวชี้วัดให้กับตัวบุคคลนั่นเอง
หนึ่งในประเทศที่ในตอนนี้ได้เลือกมองตัวบุคคลที่มีความสามารถมากกว่าเพศสภาพให้เข้ามาบริหารจัดการ หรือดูแลประเทศแล้ว นั้นก็คือ ประเทศบราซิล ที่ได้คัดเลือกสมาชิกสภาข้ามเพศคนแรกเข้ามาในรัฐสภา เพื่อใช้สิทธิ ใช้เสียง ของตัวเองได้อย่างยุติธรรม
“Erika Hilton” (เอริก้า ฮิลตัน) นักการเมือง และนักเคลื่อนไหวชาวบราซิลเพื่อสิทธิคนผิวสี และกลุ่ม LGBTQ+ ในสังกัดพรรคสังคมนิยม และเสรีภาพ (PSOL) ฮิลตันได้ให้สัมภาษณ์กับ Time Magazine ว่า ฮิลตันในปัจจุบันวัย 30 นี้ ได้แรงผลักดันที่ทำให้เธออยากที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง มาจากการที่เธอได้เติบโตมากับผู้หญิงที่แข็งแกร่ง และเข้มแข็ง ในย่านของชนชั้นแรงงานแถบชานเมืองในเมืองที่เธออาศัยอยู่
ฮิลตันในวัย 14 เขาได้เริ่มรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง เริ่มรู้ว่าตัวเองชอบที่จะเป็นอะไร เป็นแบบไหน และนั่นก็เลยทำให้เธอโดนครอบครัว รวมไปถึงสังคมที่เธออยู่ ไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับในตัวตนที่แท้จริงของเธอ นั่นจึงทำให้เธอโดนผลักไสไล่ส่งออกมาจากบ้าน จนทำให้เธอไม่มีที่อยู่นานถึง 6 ปี เธอในวัย 14 ปีนี้ จะต้องหาทั้งงาน หาทั้งเงิน หรือแม้แต่การขายร่างกายของตัวเธอเพื่อให้ได้เงิน และสามารถเอาตัวรอดให้ผ่านชีวิตที่ยากลำบากนี้ไปได้ ทั้งนี้ฮิลตันยังเชื่อว่า การที่เธอเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในที่ผ่านมา มันจะทำให้ตัวเธอเข้มแข็งขึ้น และนั่นก็เป็นอีกหนึ่งแรงกระตุ้นที่ทำให้เธออยากที่จะให้เสียงของเธอดังขึ้นในสังคม ว่าที่แท้จริงแล้ว การเป็น Trans ก็ไม่ได้ผิดอย่างที่สังคมตัดสิน
ในปี 2015 ฮิลตัน เริ่มที่จะมุ่งมั่นรักษาสิทธิมนุษยชนของคนกลุ่ม Trans รวมไปถึงกลุ่ม LGBTQ+ และกลุ่มคนผิวสี เพราะจากเหตุการณ์ที่เธอเจอมาแม้ในตอนนี้ที่ยุคสมัยจะเจริญก้าวหน้าไปไกลกว่าเดิมแล้ว แต่นั่นก็ไม่อาจทำให้ความคิดของคนเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนเลย แต่กลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เธอเล่าว่า “บนรถบัสส่วนตัวที่เธอได้จองไว้ ชายคนขับรถ เลือกที่จะขอเรียกชื่อเธอตามเพศสภาพของเธอ และจะไม่ขอเรียกชื่ออื่นที่ฮิลตันต้องการ แม้ชื่อนั้นจะเป็นชื่อที่เธออยากให้ทุกคนเรียก”
และในปี 2018 ฮิลตัน และกลุ่มของเขา ได้เข้าร่วมกับรัฐบาลของเซาเปาโลในประเทศบราซิล ซึ่งฮิลตันนั่นได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดจากสมาชิกสภาคนใดในประเทศ เพื่อหวังให้เธอจะได้เป็นอีกหนึ่งสิทธิ อีกหนึ่งเสียง หรืออย่างน้อยแล้วขอแค่หวังให้มีเสียงของชาว Trans เข้าไปอยู่ในรัฐสภาก็เพียงพอ
ในเดือนมีนาคม ฮิลตันได้รับเลือกให้เป็นผู้นำภายในเมืองที่เธอเคยอาศัยอยู่ เรื่องสิทธิของมนุษย์ ฮิลตันหวังว่าเป้าหมายของเธอจะสามารถช่วยให้กฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของคนกลุ่ม LGBTQ+ และสิทธิของคนผิวสีให้สามารถบังคับใช้ในประเทศของเขาได้ และฮิลตันเชื่อว่า แม้เธอจะเป็นเพียงผู้นำตัวเล็กๆ แต่เธอก็ยังเชื่อมั่นที่จะทำ ไม่ล้มเลิกความคิด แม้จะมีคนที่ไม่เห็นด้วยในองค์กรของเธอก็ตาม
และในระยะเวลาเพียงสั้น ที่ฮิลตันได้ขึ้นมาเป็นผู้นำในเรื่องของสิทธิมนุษยชนนี้ ขณะเดียวกันเริ่มทำให้คนในสังคมเริ่มที่จะไม่เห็นด้วย ต่อต้าน กับความคิดของฮิลตันที่อยากจะเรียกร้องต่อเสียงของคนในกลุ่มของเธอ นั่นจะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น กลุ่มชาว Trans ที่อยู่ในประเทศบราซิล โดนทำร้าย โดนฆ่า มากถึง 45 % และสองในสามจากตัวเลขข้างต้น ก็รวมถึงกลุ่มคนผิวสีที่โดนฆ่าด้วยเช่นกัน
ฮิลตันมองว่าการถูกทำร้ายเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุมาจากการเลือกตั้งของบราซิล ในปี 2018 นายกรัฐมนตรีที่ชนะการคัดเลือก (Jair Bolsonaro) ได้ออกมาพูดต่อต้าน ว่าร้าย ให้ประชาชนบราซิลเกิดความไม่พอใจกับกลุ่ม Trans , LGBTQ+ และคนผิวสี
ในเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา เธอได้รับรางวัล "Generation Change Award" จากงานประกาศรางวัล MTV Europe Music Awards ปี 2021 ที่กรุงบูดาเปสต์ และในตอนนี้ฮิลตันหวังว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจะเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่สำคัญ ว่าแท้ที่จริงแล้วการเห็นค่าในเสียงของตัวเองนั่นดีที่สุด อย่าเพิกเฉยกับสิ่งที่ทุกคนควรจะได้รับเลย มนุษย์ทุกคนสมควรได้รับความเท่าเทียมกันหมด อย่าได้เหมือนกับคนรุ่นหลัง ที่แม้แต่อยากจะใช้สิทธิ ใช้เสียงของตัวเองในการเลือกที่จะเป็นตัวตนที่ตัวเองพอใจ ก็ไม่สามารถทำได้ ฮิลตันยังคงเชื่อมั่นที่จะเดินหน้าต่อสู้ แม้ในปัจจุบันจะมีแค่เพียงบางส่วนที่เริ่มยอมรับแล้ว เธอยังเชื่อว่าถ้าเราไม่ยรักษาสิทธิ รักษาเสียงของตัวเอง สุดท้ายแล้วสิ่งที่หวัง สิ่งที่จะอยากจะเปลี่ยนแปลง มันก็อาจจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย