โลกร้อนจริงหรือปลอม? เหตุผลที่คนไม่เชื่อเรื่องโลกร้อน
สำรวจความเชื่อกับความจริง หรือไม่จริงเกี่ยวกับ Climate Change ทำไมบางประเทศหรือนักการเมืองหลายกลุ่มยังเพิกเฉยในเรื่องนี้ และในคนอีกบางกลุ่มมองว่า มันช่างเป็นเรื่องไร้สาระ ปลอม ไปจนถึงเป็นการสมคบคิดรายการงานทางวิทยาศาสตร์!
คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าที่สงสัยว่า เรื่องโลกร้อน หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ Climate Change เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า เราลองมาสำรวจความเชื่อกับความจริง หรือไม่จริงในเรื่องนี้กัน บางทีเราอาจไม่เข้าใจว่า ทำไมบางประเทศหรือนักการเมืองหลายกลุ่มยังเพิกเฉยในเรื่องนี้ และในคนอีกบางกลุ่มมองว่า มันช่างเป็นเรื่องไร้สาระ ปลอม ไปจนถึงเป็นการสมคบคิดรายการงานทางวิทยาศาสตร์!
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องจริง?
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ฉันทามติอย่างท่วมท้นของนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ 97% บอกเราว่า ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ หรือที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เพิ่มขึ้นถึงระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ จนกลายเป็นเหตุฉุกเฉินที่คุกคามโลกทั้งใบ
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (IPCC) ได้ออกคำเตือนที่น่าสยดสยองว่า หากไม่มีความพยายามอย่างจริงจังในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก สิ่งที่เราจะเจอแบบจังๆ จะไม่ใช่เพียงแค่คลื่นความร้อน ไฟไหม้ น้ำท่วม ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และการทำลายระบบนิเวศที่เราพบเห็นทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แต่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในระดับทวีคูณก็คือ ชีวิตของมนุษย์จำนวนมากที่จะต้องตายจากไปจากภัยแล้ง การขาดแคลนอาหารและแหล่งน้ำจืด โรคติดเชื้อ และสภาพความเป็นอยู่ที่จะทำให้ถึงแก่ชีวิตด้วยเหตุผลอื่นๆ
ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกเริ่มกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น ไม่น่าเชื่อว่า การปฏิเสธ ไม่ยอมรับ และไม่เชื่อในเรื่องนี้ก็ยังคงมีอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง โดยเฉพาะในประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย
จากการสำรวจความคิดเห็นในสหรัฐอเมริกาในปี 2021 โดย The Economist/YouGov พบว่าคนอเมริกันเกือบ 10% ไม่เชื่อเลยว่า ภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้น เกือบ 1 ใน 4 เชื่อว่าสภาพอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงแต่ไม่ได้เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ และ 14% ไม่แน่ใจ
เป็นไปได้อย่างไรที่ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นเรื่องจริง เราไปดูเหตุผลหรือที่มาในเรื่องนี้กัน:
ความจริงสามัญ หรือสัจนิยมระดับผิวเผิน (Naïve Realism)
ไม่ว่าคุณจะแปลว่าอะไร เหตุผลประการหนึ่งในเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ “ความจริงสามัญ” ที่มาจากชุดข้อมูลและความเชื่อที่ว่า “ประสบการณ์ส่วนตัวของเราคือความจริง” การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ทัศนคติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นสัมพันธ์กับประสบการณ์ด้านสภาพอากาศของเรา
นั่นเป็นเพราะเรามักจะไม่รับรู้ข้อมูลจากทั่วโลกหรือสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่อย่างการละลายของน้ำแข็ง แต่มุ่งให้ความสำคัญกับสิ่งหรือข้อมูลที่เราประสบด้วยตัวเองในชีวิตประจำวัน การต้องประสบกับคลื่นความร้อนสูงและน้ำท่วมเป็นประวัติการณ์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเชื่อในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในช่วงฤดูหนาวในที่ที่มีอากาศหนาวเย็นอยู่แล้ว ก็อาจทำให้คนเชื่อในเรื่องนี้ยาก
ความจริงก็คือ เรามักจะไม่ค่อยใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ที่ค่อยๆ เกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และเนื่องจากเราทุกคนประสบกับความผันแปรทางอากาศในแต่ละวันแค่เพียงราว 20° ฟาเรนไฮต์ หรือเพียงราว -6.667ºC ในแต่ละวัน จึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่า ทำไมนักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงพยายามบอกเราว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพียงไม่กี่องศาตามที่คาดการณ์ไว้ อาจกลายเป็นหายนะครั้งใหญ่สำหรับดาวเคราะห์ของเรา
ข้อมูลบิดเบือน (Disinformation)
แม้ว่าผู้คนจะเชื่อกันมากขึ้นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องจริง แต่ความเชื่อที่ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจาก "มนุษย์" นั้นไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องนี้อย่างแท้จริง
จากการศึกษาในปี 2560 พบว่า ชาวอเมริกันเกือบ 90% ยังไม่รู้เรื่อง ฉันทามติของนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์
แม้ว่าจะเป็นความจริงที่นักวิทยาศาสตร์บางคนได้บันทึกไว้โดยอ้างว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่มีอยู่จริง แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกัน แนวคิดที่ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของมนุษย์ไม่ได้ถูกตัดสินด้วยวิทยาศาสตร์นั้นเป็น “กลยุทธ์บิดเบือนข้อมูลโดยเจตนา” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล
เหตุผลจูงใจ (Motivated Reasoning)
การปฏิเสธเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังสามารถนำมาประกอบกับการให้เหตุผลในทางการเมือง และการสนับสนุนทางการเมืองก็เป็นตัวชี้วัดที่แข็งแกร่งที่สุดอย่างหนึ่งของการไม่ยอมรับเรื่องโลกร้อนในหมู่คนอเมริกัน โดยกลุ่มอนุรักษ์นิยมและพรรครีพับลิกันมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์มากกว่าพวกเสรีนิยมและพรรคเดโมแครต
และการไม่ยอมรับว่าโลกเราร้อนขึ้นก็เป็นเรื่องปกติมากขึ้นในประเทศที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกาและซาอุดีอาระเบีย แทนที่จะอธิบายเรื่องนี้ เรากลับพบเรื่องซับซ้อนกว่านั้นเพราะกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ "ต่อต้านวิทยาศาสตร์" ทำให้โลกเห็นว่า การปฏิเสธเรื่องโลกร้อนส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับเงินในกระเป๋า จนทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ความเกลียดชังในการแก้ปัญหา" หรือ การไม่เต็มใจที่จะควบคุมการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลเพราะมันจะส่งผลร้ายต่อกระเป๋าเงินของเรา ไม่ว่าเราจะ 'กำลังพูดถึงคนทำงานในอุตสาหกรรมถ่านหิน นักการเมืองที่ได้รับการบริจาคจำนวนมหาศาลจากแคมเปญหาเสียงจากบิ๊กออยล์ หรือจากบิ๊กออยล์เอง
หากในระดับจิตใต้สำนึก เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ว่า เป็นความไม่ลงรอยกันทางความคิดของเราเอง เมื่อต้องเผชิญกับความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจาก การต้องยอมรับว่า เราเป็นต้นเหตุของความหายนะทั่วโลก การปฏิเสธนี้สามารถทำให้ความรู้สึกไม่สบายนั้นหายไปได้
การทำลายล้าง (Nihilism)
ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นทั่วโลก ความเชื่อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ก็เพิ่มขึ้นพร้อมกับความกังวลที่ว่า เราต้องทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ในขณะที่เราทุกคนบอกตัวเองว่า สามารถเป็นส่วนเล็กๆ ที่ช่วยโลกได้ในฐานะผู้บริโภค เช่น ประหยัดพลังงาน ขับรถน้อยลง กินเนื้อสัตว์น้อยลง
ความจริงก็คือ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต้องมาจากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อทำให้เราพ้นจาก “ภัยพิบัติในอนาคต” ดังนั้น ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ จึงไม่ใช่การพยายามเปลี่ยนความคิดของผู้ที่ยังคงปฏิเสธว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมีอยู่จริง
วิธีที่ดีที่สุดคือการแปลการยอมรับนั้นไสู่การดำเนินการทางการเมืองและกฎหมายในระดับโลก หากเราไม่เรียกร้องในฐานะพลเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ภาวะโลกร้อนและผลกระทบจากมันจะไม่มีวันลดลงอย่างแน่นอน
น่าสนใจว่า มีคนอีกมากมายเชื่อกระทั่งว่า นี่คือการปลอมครั้งใหญ่ คล้ายทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดที่ร่วมมือกันปลอมในระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่โกหกเพื่อให้ได้ทุนวิจัยก้อนโตสมาคมลับ "อิลลูมินาติ" (Illuminati) หรือว่าเป็น มนุษย์ต่างดาว
มีแผนสมรู้ร่วมคิดหลายสิบเรื่องที่ว่า ทำไมรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงไม่น่าเชื่อถือ แต่เหนือความไร้สาระทั้งหมดก็คือ ความคิดที่ว่า นักวิทยาศาสตร์เกือบทุกคนในโลกพยายามเก็บงำความลับที่ยิ่งใหญ่ไว้อย่างหนึ่ง
คำถามคือ หากมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ในการปฏิเสธเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แล้วคุณไม่คิดหรือว่า นักวิทยาศาสตร์จะวิ่งไปหา BP, Shell และบริษัทถ่านหินอื่น ๆ ทุกแห่งเพื่อขอรับทุนวิจัยจำนวนมหาศาลบ้างหรือ?
หรือเมื่อเร็วๆ นี้ ทรัมป์อ้างว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นการสมรู้ร่วมคิดที่ได้รับทุนสนับสนุนจากจีน!
แล้วคุณล่ะ เชื่อเรื่องนี้แบบไหน?
อ้างอิง:
https://www.wwf.org.uk/updates/here-are-10-myths-about-climate-change