บอกต่อสาระ! DW มีอะไรบ้างที่มือใหม่ควรรู้ก่อนเริ่มเทรด

11 มีนาคม 2565

เราเชื่อว่าหลายคนที่เข้ามาที่นี่น่าจะเคยได้ยินชื่อของ DW กันบ่อยครั้งจนเกิดข้อสงสัยว่าจริงๆ แล้ว DW คืออะไร? แล้วทำไมการลงทุนรูปแบบดังกล่าวจึงได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีให้หลัง?

เพื่อเป็นการตอบคำถามคาใจทั้งหมด วันนี้เราจึงได้จัดทำบทความในชื่อ“บอกต่อสาระ! DW มีอะไรบ้างที่มือใหม่ควรรู้ก่อนเริ่มเทรด”ขึ้นมาเพื่อพาทุกคนมาทำความรู้จักข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมดเกี่ยวกับ DW ตามรายละเอียดด้านล่าง ดังนี้ 

DW คืออะไร?

ก่อนที่เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ DW เราอยากจะขอพูดถึงความหมายของคำดังกล่าวกันสักเล็กน้อย จริงๆ แล้ว DW ย่อมาจาก Derivative Warranty หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่นักลงทุนสามารถทำการซื้อขายได้เหมือนกับการซื้อขายหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ ถึงแม้รูปแบบการซื้อขาย DW และหุ้นจะคล้ายคลึงกัน แต่สิ่งที่ทำให้การลงทุนทั้งสองประเภทนี้แตกต่างกันได้แก่การปรับตัวขึ้น/ลงของราคา เนื่องจากราคาของ DW แต่ละตัวจะปรับตัวตามหุ้นตัวใดตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์หรือหุ้นแม่ ผิดกับหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ที่ส่วนใหญ่แล้วราคามักจะผันผวนตามสภาพเศรษฐกิจ ณ เวลานั้นๆ  

DW มีอะไรบ้าง?

ในปัจจุบัน DW สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ Call DW และ Pull DW โดยข้อแตกต่างระหว่าง DW ทั้งสองประเภทนี้ได้แก่ จังหวะการปรับตัวตามหุ้นแม่ โดยราคาของ Call DW จะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อหุ้นแม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในขณะที่ราคาของ Pull DW จะเป็นการวิ่งสวนทางกับหุ้นแม่ กล่าวคือในกรณีที่ราคาหุ้นแม่ปรับตัวลง ราคาของ Pull DW จะปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง

ข้อดีและความเสี่ยงของ DW

ข้อดี

หลังจากลองทำความเข้าใจว่าDW มีอะไรบ้างกันไปแล้ว เราเชื่อว่าหลายคนคงพอจะเห็นภาพคร่าวๆ กันแล้วใช่ไหมว่า DW นั้นเป็นการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง เพราะเราสามารถลงทุนได้ทั้งในช่วงที่ตลาดหุ้นอยู่ในขาขึ้นและขาลง และด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่มักเลือกใช้ DW เป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงเพื่อการเกร็งกำไรในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง

ความเสี่ยง

ถึงแม้ DW จะมีจุดเด่นที่น่าสนใจ แต่เราก็ปฏิเสธข้อเท็จจริงไม่ได้ว่า DW นั้นก็เหมือนกับการลงทุนทุกประเภทที่มีความเสี่ยงอยู่ในตัวเองเป็นทุนเดิม โดยความเสี่ยงที่เราอยากจะให้ทุกคนศึกษาให้ดีก่อนเริ่มลงทุน DW นอกเหนือไปจากการเข้าใจว่าจุดเด่นของDW มีอะไรบ้าง ได้แก่ DW เป็นใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีอายุจำกัด, DW มีค่าเสื่อมสภาพจากการถือครอง หรือยิ่งเราถือไว้นานเท่าไหร่ ราคาของ DW ก็จะลดลงไปมากขึ้นเท่านั้น และ DW มีความผันผวนสูง เป็นต้น

และทั้งหมดก็คือรายละเอียดของบทความว่าด้วย DW มีอะไรบ้าง ก่อนจากกันไป เราอยากจะบอกกันอีกสักครั้งว่าการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยงสูง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจ

Thailand Web Stat