"ดร.รุ่ง" เน้นย้ำ! ภาคธุรกิจ มองไปข้างหน้า เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
"ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส" เน้นย้ำ! ภาคธุรกิจ มองไปข้างหน้า เพื่อ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ลั่น "การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนคือทางรอด ไม่ใช่ทางเลือก"
3 พ.ย. 2567 เวลา 14.00 น. ที่ งาน Sustainability forum 2025 จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมแบ่งปันแนวคิดด้าน Sustainable ในหัวข้อ Climate Finance toward SDGs
ดร.รุ่ง กล่าวว่า ต้นทุนเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยเปลี่ยนผังโลกใบนี้ให้เข้าไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลจากรายงาน global grinet of climate 2024 ที่ว่า private finance ยังมีน้อยเกินไป โดยมูลค่า Climate planet finance ของปี 2022 อยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าในแง่ของมูลค่าอาจจะดูเยอะแต่คิดเป็นเพียง 1 ใน 5 ของจำนวนเงินที่โลกต้องการเพื่อการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจำนวนเงินที่ต้องการนั้นสูงถึง 7.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Climate Finance เป็นประเด็นที่ท้าทายมากในระดับโลก และก็ยังคงต้องหาทางจัดการกันต่อไป
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 29 หรือที่เรียกกันว่า Cop 29 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ซึ่งในปีนี้ที่ประชุม Cop 29 ได้หยิบยกเรื่อง Climate Finance มาเป็นประเด็นหลักในการหารือ โดยพยายามผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มเป้าการจัดสรรเงินทุนเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของประเทศกำลังพัฒนา
โดยเรียกร้องให้ขยับจากระดับปัจจุบันที่ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปีเป็น 500,000 - 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปีแต่ในที่สุดแล้ว Cop 29 ก็ไปไม่ได้ถึงระดับที่คาดหวัง โดยสามารถบรรลุข้อตกลงการตั้งเป้าจำนวนเงินได้เพียง 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2035 ท่ามกลางความผิดหวังของประเทศกำลังพัฒนา ที่มองว่าจำนวนเงินที่กล่าวนั้นน่ะน้อยเกินไป รวมถึงมองว่าเป้าหมาย 500,000 - 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ตั้งไว้ก็จะยังเป็นเพียงภาพลวงตา
เพราะว่าที่ผ่านมาการจัดสรรเงินทุนเหล่านั้นมักไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น เป้าเดิมที่เคยตั้งไว้ ว่าจะสนับสนุน Climate Finance 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปีภายในปี 2020 ก็ไม่ได้บรรลุเป้าหมายนั้น จนกระทั่ง 2 ปีต่อมาคือในปี 2022 ซึ่งแปลว่ายังคงมีความเสี่ยงค่อนข้างเยอะที่เงินทุนที่จะได้รับจริงๆจะยังน้อย และ น้อยกว่าสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่านโลกใบนี้อยู่มาก
“หันกลับมามองประเทศไทยกันบ้างก็พบว่าเราจะต้องใช้เงินจำนวน 5-7 ล้านล้านบาท ในการสนับสนุนการดำเนินการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ mathery returning contribution หรือ mtc ภายในปี 2034”
อย่างไรก็ตามจำนวนเงินไม่ใช่ประเด็นเดียวที่จำเป็นต้องพิจารณา สำหรับประเทศไทยยังมีความท้าทายอีกหลายประการจากบริบทเฉพาะตัวของประเทศที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่
1.โครงสร้างเศรษฐกิจไทย ยังมีสัดส่วนธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เรียกกันว่า “brown” อยู่มาก โดยภาคอุตสาหกรรมยังพึ่งพาการใช้พลังงานจากถ่านหินและน้ำมันสูงถึง 60% และยังใช้เทคโนโลยีแบบเดิมๆอยู่ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร
2.ประเทศไทยมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศติดอยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ในขณะที่ขีดความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลับอยู่ในอันดับท้ายๆของโลก รวมทั้งทุกวันนี้ประเทศของไทยประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น PM 2.5 หรือเรื่องของอุทกภัย
3. SME ซึ่งมีจำนวนมากและเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ที่เริ่มเห็นแรงกดดันจากกฎเกณฑ์ในต่างประเทศ และการตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันกลับเห็นว่า SME ยังไม่ค่อยตระหนักถึงความเร่งด่วนและความจำเป็นของการปรับตัว นอกจากนี้ SME ยังขาดองค์ความรู้และเงินทุนจึงไม่สามารถปรับตัวได้ด้วยความเร็วใกล้เคียงแล้วไม่สามารถเดินควบคู่ไปกับธุรกิจรายใหญ่ได้
ดังนั้นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยจึงต้องสร้างความสมดุลระหว่างการปรับตัวไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้ทันการกับการจำกัดความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบอย่างฉับพลันในวงกว้างต่อเศรษฐกิจ การดำเนินการจึงต้องพิจารณาให้เหมาะสมทั้งจังหวะเวลาและความเร็ว
โดยอาจเริ่มจากการปรับเศรษฐกิจสีน้ำตาลเข้มให้กลายเป็นเศรษฐกิจสีน้ำตาลอ่อนก่อนและสำหรับ SME ที่มีความพร้อมน้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ก็ต้องคงต้องเริ่มจากการปรับตัวก้าวเล็กๆก่อนแต่ก็อยากให้เป็นก้าวที่จับต้องได้ในทางปฏิบัติและสามารถขยายผลได้ทั้งสำหรับตนเองแล้วก็เพื่อนๆในวงกว้าง
ดร.รุ่ง กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยมุ่งผลักดันให้ภาคการเงินมีบทบาทช่วยให้ภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้เห็นว่าการผลักดันนั้นควรจะมีความสอดคล้องกับความท้าทายและบริบทของประเทศไทยจึงได้ดำเนินการใน 2 ส่วนสำคัญ คือ
1.การวางรากฐานที่จำเป็นในระยะยาว หรือการกำหนด building block ต่างๆเพื่อสร้าง ecosystem ให้ภาคเศรษฐกิจ ซึ่งการเงินไทยตอบโจทย์ความต้องการ ช่วยในการปรับตัวของภาคธุรกิจได้ดีขึ้น
2. การผลักดันให้เกิดการปรับตัวจริงๆอย่างเป็นรูปธรรม โดยการทำงานร่วมกันกับสถาบันการเงินต่างๆ การนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจ
"โดยสรุปสาระที่ดิฉันต้องการเน้นย้ำคือมองไปข้างหน้าจะมีแรงกดดันให้ภาคธุรกิจเกิดการปรับตัวมากขึ้นจากเกณฑ์ต่างๆ ที่จะมีความเข้มข้นขึ้นและ ภาคการเงินโดยธนาคารพาณิชย์ได้ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการปรับตัวให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง แม้ว่า 2 ปัจจัยข้างต้นจะเป็นตัวผลัก"
แต่คาดว่าจะยังไม่พอกับการปรับตัวในวงกว้างและในอัตราที่เร่งขึ้นเพื่อให้เท่าทันกับความต้องการของเศรษฐกิจ คงต้องอาศัยมาตรการสร้างแรงจูงใจหรือมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐและภาคเอกชน เช่นบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นหัวขบวนของห่วงโซ่การผลิตมาเป็นแรงหนุนที่สำคัญดังนั้นในระยะต่อไปนอกเหนือจากการพัฒนา building block อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ภาคการเงินมีศักยภาพและเครื่องมือที่จะช่วยประเมินความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธปท. ตั้งใจจะขยายผลโครงการ “ Financing a transition” โดยร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่ที่เห็นความสำคัญของการปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อผลักดันบางห่วงโซ่การผลิตให้ปรับตัวจาก สีน้ำตาลเข้ม เป็นน้ำตาลอ่อนได้ตลอดห่วงโซ่ โดยมีบริษัทขนาดใหญ่เป็นพลังขับเคลื่อนอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากธนาคารพาณิชย์เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคใดภาคหนึ่งไม่สามารถทำให้บรรลุผลได้ด้วยตนเอง จึงถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐ ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ และภาคการเงินต้องมีกลไกความร่วมมือที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างครบวงจร ทั้งการออกแบบมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจและองค์ความรู้การจัดหาเทคโนโลยี การปรับตัวที่เหมาะสมกับธุรกิจแต่ละประเภท ตลอดจนการพัฒนาฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยเกิดการปรับตัวที่เห็นผลได้จริงมากขึ้น
“เพราะการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนคือทางรอดและไม่ใช่ทางเลือก”