กฟผ. ดัน Grid Modernization เสริมพลังงานสะอาด บนเวทีคนรุ่นใหม่

26 มีนาคม 2568

กฟผ. หนุนคนรุ่นใหม่เปลี่ยนโลก โชว์แนวคิด Grid Modernization เสริมความมั่นคงพลังงาน รองรับหมุนเวียน-ไฮโดรเจน สู่เป้าหมาย Net Zero

กฟผ. ดัน Grid Modernization เสริมพลังงานสะอาด บนเวทีคนรุ่นใหม่

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองการปรับตัวในภาวะวิกฤตโลกเดือดกับทิศทางพลังงานยั่งยืน ในหัวข้อ “เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านพลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบทบาทภารกิจของ กกพ.” ในกิจกรรม Kick-off "Young Change World Change" for Net Zero Emission ภายในงานแถลงข่าวโครงการ Young Change World Change : คนรุ่นใหม่เปลี่ยนโลก โดยมีนายพิทักษ์ จรรยาพงษ์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นประธานเปิดงาน โดย กฟผ. ได้นำเสนอภายใต้ประเด็น “เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานของประเทศไทย” ร่วมกับ ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. นำเสนอ "บทบาทภารกิจของ กกพ." รศ.ดร.แนบบุญ หุนเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอ "แพลตฟอร์มเมืองอัจฉริยะและการทดสอบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"  และ ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการ กฟผ. ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ ร่วมนำเสนอในประเด็น “การต่อยอดของเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ณ อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา

กฟผ. ดัน Grid Modernization เสริมพลังงานสะอาด บนเวทีคนรุ่นใหม่

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการ กฟผ. เผยว่า การเปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสู่การผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด คือ ความท้าทาย เพราะพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE ) ไม่มีความแน่นอน กฟผ. ได้เตรียมรับมือพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มมากขึ้น ผ่านแผนงาน Grid Modernization เพื่อสร้างความมั่นคงพลังงาน โดยพัฒนาโรงไฟฟ้าและโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น ทันสมัย พร้อมพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) พัฒนาแพลตฟอร์มโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant: VPP) ที่รวบรวมโรงไฟฟ้า RE และระบบกักเก็บพลังงาน มาบริหารจัดการเพื่อให้สามารถสั่งการเดินเครื่องและจ่ายไฟได้อย่างมีเสถียรภาพเสมือนมีโรงไฟฟ้าหลัก พัฒนาศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Forecast Center: REFC) เพื่อนำผลพยากรณ์ไปใช้วางแผนการผลิตไฟฟ้า และพัฒนาศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center: DRCC) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการควบคุมลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง โดยจูงใจผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้า

กฟผ. ดัน Grid Modernization เสริมพลังงานสะอาด บนเวทีคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้พัฒนาและแสวงหาพลังงานทางเลือก อาทิ ไฮโดรเจน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยนำไปผสมกับก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบของเซลล์เชื้อเพลิง การเตรียมพัฒนา

กฟผ. ดัน Grid Modernization เสริมพลังงานสะอาด บนเวทีคนรุ่นใหม่

โรงไฟฟ้า Small Modular Reactor: SMR เป็นการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซึ่งปัจจุบันมีความปลอดภัยสูง ด้วยการออกแบบให้อยู่ในรูปแบบของโมดูล ช่วยลดความซ้ำซ้อนของระบบ อุปกรณ์หลักสามารถผลิตได้เบ็ดเสร็จจากโรงงาน ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพได้ดี ติดตั้งได้เร็ว ใช้พื้นที่รองรับเหตุฉุกเฉินน้อย มีเทคโนโลยีความปลอดภัย Passive Cooling ที่ไม่พึ่งพาระบบไฟฟ้า ที่สำคัญคือราคาเชื้อเพลิงคงที่ไม่ผันผวน มีปริมาณสำรองมากในธรรมชาติ และใช้เชื้อเพลิงปริมาณน้อย สามารถสร้างความมั่นคงพลังงานควบคู่กับตอบโจทย์ภาวะโลกร้อน เพราะไม่มีการปล่อยคาร์บอนในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีพลังงานอื่น ๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น และเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ที่จะมาช่วยผลักดันการบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission

กฟผ. ดัน Grid Modernization เสริมพลังงานสะอาด บนเวทีคนรุ่นใหม่

สำหรับโครงการ Young Change World Change: คนรุ่นใหม่เปลี่ยนโลก จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) จัดสรรเงินกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างพื้นที่ให้นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม โดยส่งผลงานเข้าประกวด ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2568 ชิงทุนการศึกษากว่า 1,000,000 บาท

Thailand Web Stat