Bangkok Post Tech Conference 2022 เน้นย้ำเทคโนโลยีเมตาเวิร์สคือกุญแจในการสร้างโอกาส
เทคโนโลยีเสมือนจริง “เมตาเวิร์ส” กำลังเป็นเรื่องในกระแสที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ รวมถึงประเทศไทยที่เล็งเห็นโอกาสในการต่อยอดได้อย่างมหาศาล และเพื่อเป็นการตอบรับกระแสดังกล่าว กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) รวมทั้งผู้บริหารบริษัทเอกชนระดับแนวหน้าของประเทศไทยจึงได้พร้อมใจกันเข้าร่วมงานสัมมนา Bangkok Post Tech Conference 2022 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ตั้งแต่เวลา 12.30-16.30 น. ซึ่งมีการถ่ายทอดสดออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กเพจ Bangkok Post
ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ต่างแสดงวิสัยทัศน์ รวมไปถึงความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับโอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถก้าวมาเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่นำเทคโนโลยีเมตาเวิร์สมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล และก้าวข้ามความท้าทายที่คาดไม่ถึงต่างๆ อาทิ การแพร่ระบาดของโควิด-19 และยังคงสามารถประคองประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติโดยไม่ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การสัมมนาในหัวข้อ “Metaverse Gold Rush: An Opportunity to Reshape the World” ได้รับเกียรติจากคุณวรชัย พิจารณ์จิตร รองประธาน บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน) ในการกล่าวเปิดงาน โดยได้กล่าวถึงโอกาสอันไร้ขีดจำกัดที่เมตาเวิร์สสามารถนำมาสู่มนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี XR (Extended Reality) และการสร้างการพัฒนาด้วย 5G ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย
การจัดงานในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มบางกอกโพสต์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) Translucia ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย
จากการสำรวจโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ปัจจุบันประชากรไทยกว่า 70% มีการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในแง่ของการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค ด้านสารสนเทศ การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยหน่วยงานรัฐและเอกชน การพัฒนาความเร็วในการดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่ 308.35 เมกะวัตต์/วินาที (Mbps) ซึ่งนับเป็นอันดับสามของโลก นอกจากนี้ ธุรกิจและประชาชนในประเทศมีความพร้อมในการเปิดรับเทคโนโลยีสูง โดยเฉพาะการใช้งานแพลตฟอร์มต่างๆ ผ่านระบบ 5G ความเร็วสูงที่มีความเสถียรดีเยี่ยม
คุณชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า “รัฐบาลได้ร่วมพัฒนาระบบบรอดแบนด์เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้า และสามารถตอบสนองการใช้งานและนำเมตาเวิร์สมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเสมือนจริง พร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลไปอีกขั้น”
“พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ได้ถูกนำมาบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และคุ้มครองข้อมูลความเป็นส่วนตัวของประชาชน” นายชัยวุฒิได้กล่าวต่อไปว่า “รัฐบาลได้ทุ่มเทในการนำ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาบังคับใช้ รวมไปถึงนโยบายด้านความปลอดภัยทางดิจิทัล เพื่อรองรับการพัฒนาการให้บริการด้านดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคแห่งเมตาเวิร์ส”
ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ประธาน บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมแสดงทัศนะต่อเมตาเวิร์สไว้ว่า “ในอนาคตอันใกล้ เราจะเข้าถึงโลกดิจิทัลผ่านสื่อต่างๆ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงโทรศัพท์มือถือเท่านั้น เทคโนโลยีเมตาเวิร์สจะช่วยสร้างพื้นทีที่มอบความเสมือนจริง ให้ความรู้สึกที่ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมได้มากกว่าที่เคย ช่วยให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อได้ถึงกันผ่านที่ทำงาน บ้าน และความบันเทิงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน”
“ในฐานะคลื่นลูกใหม่แห่งโลกอินเทอร์เน็ต เมตาเวิร์สกำลังนำโอกาสอันยิ่งใหญ่มาสู่ประเทศไทย” คุณณัฐเศรษฐ์ ไตรทิพย์เจริญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Brandverse และผู้สร้าง T-Verse เมตาเวิร์ส ซึ่งบริหารและทำการตลาดโดย บริษัท เจโนไซส์ ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด “เมตาเวิร์สคือโลกดิจิทัลที่ผู้คนสามารถใช้ชีวิตผ่านไอคอนกราฟิกโดยการสร้างโปรไฟล์ขึ้นมา โดยที่แต่ละคนสามารถเชื่อมต่อไปสู่กันได้ หรือสร้างชุมชนต่างๆ เพื่อมีประสบการณ์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสังคม ชอปปิง ทำงาน หรือเรียนหนังสือ เราเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้นำโอกาสทางธุรกิจมาให้อย่างแท้จริง รวมไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve”
คุณมนต์วลี พัธโนทัย กรรมการกลุ่ม ธนบุรี เฮลท์เทคโนโลยี ในเครือบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าเมตาเวิร์สจะอยู่ในการพัฒนาระยะเริ่มแรก แต่เทคโนโลยีนี้จะนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจที่เราสามารถนำมาต่อยอดได้ในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งโรงพยาบาลต่างๆ ที่ให้ความสำคัญด้านนวัตกรรมไม่ควรพลาด” ตสาหกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งโรงพยาลาละความบันเทิงอย่างอนไลน
พันธบัตร สันติมากร ประธานกลุ่มพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์โครงการ Translucia Metaverse, ภายใต้การบริหารของ บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ด้วยจำนวนผู้ใช้คริปโตที่มากมายในปัจจุบัน รวมไปถึงนักลงทุนที่ต่างเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งการขยายตัวและการพัฒนาต่อยอดเมตาเวิร์สในอนาคต และทำให้โลกแห่งเมตาเวิร์สได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก”
ในช่วงท้ายของงานสัมมนาฯ คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้กล่าวแนะนำว่า ประเทศไทยควรมองการพัฒนาเศรษฐกิจให้ไกลกว่าธุรกิจการท่องเที่ยว และเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ
“รายได้กว่า 40% ของประเทศจีนและยูเครนมาจากเศรษฐกิจดิจิทัล ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรสร้างการเปลี่ยนแปลงและลงทุนด้านเศรษฐกิจดิจิทัลให้มากขึ้น ให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ ในโลก ซึ่งเศรษฐกิจดิจิทัลจะสามารถช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในอีกหลายสิบปีข้างหน้า”