เตือนภาวะโลกเดือดได้เรื่อยๆ หลังปี 2023 โลกร้อนสุดเป็นประวัติการณ์
The New York Times เปิดงานวิจัยเรื่องโลกร้อน พบข้อมูลน่าสะพรึงกลัวกว่าเดิม ว่าปี 2023 เป็นปีที่อุณหภูมิโลกร้อนสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ครั้งสุดท้ายที่โลกร้อนมากที่สุดคือยุคสมัยที่ยังไม่มีมนุษย์อยู่บนโลก
เรื่องโลกร้อนเวลานี้หลายคนคงรู้และทราบดีแล้วว่าปัจจุบันภาวะโลกร้อนนั้นพัฒนาไปจนกลายเป็นภาวะโลกเดือด หลายพื้นที่บนโลกประสบปัญหาเรื่องโลกร้อนจนกระทบต่อชีวิตผู้คน สัตว์ หรือพืชผลทางการเกษตร
รายงานใหม่ที่จัดทำโดย European Climate Monitor และเผยแพร่โดย The New York Timesให้รายละเอียดว่าปี 2023 เป็นปีที่ร้อนที่สุดในรอบศตวรรษครึ่งหรือ 150 ปี
อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น เดือนแล้วเดือนเล่าไม่เพียงแต่ทำลายสถิติ แต่ยังแซงหน้าสถิติเดิมไปไกลเรื่อยๆ ปีนี้ (2024) อาจจะร้อนกว่านี้ก็ได้
เมื่อวันศุกร์ที่ 12 ม.ค. 2024 นักวิทยาศาสตร์ของ NASA พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2023 สูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 1.37 องศาเซลเซียส ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือ NOAA ระบุว่า ปีที่แล้วอุ่นกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม 1.34 องศาเซลเซียส
“โดยเฉลี่ยในปีที่แล้ว (2023) อุณหภูมิทั่วโลกอยู่ที่ 1.48 องศาเซลเซียส หรือ 2.66 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งสูงกว่าในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19” รายงาน จาก The New York Times
แน่นอนว่าแต่ละองค์กรใช้วิธีการคำนวณตัวเลขที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่น่าสะพรึงคือเมื่อ ทุกคนต่างเห็นพ้องกันว่าปี 2023 เป็นปีที่อุณหภูมิโลกสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และมีคลื่นความร้อนที่แผ่ตัวเป็นวงกว้าง
สถิติก่อนหน้านี้ ปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์คือปี 2016 ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ขึ้นมาเรื่อยๆ จากปี 2015 , 2014
“นี่เป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่” รัสเซล โวส หัวหน้าฝ่ายติดตามและประเมินสภาพภูมิอากาศของศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของ NOAA กล่าวระหว่างงานประกาศผลการดำเนินงานของหน่วยงานเมื่อวันศุกร์
ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสำหรับนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นถึงระดับใหม่ สิ่งที่นักวิจัยยังคงพยายามทำความเข้าใจคือปี 2023 คาดการณ์ไว้อีกหลายปีหรือไม่ที่บันทึกความร้อนไม่เพียงแต่ถูกทำลายสถิติเดิมเท่านั้น แต่มันจะเกิดสถิติใหม่มากกว่านี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พวกเขากำลังจะบอกว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นสัญญาณบอกว่าโลกกำลังเดือดด้วยอัตราเร่งที่มากขึ้นทุกปี
เมื่อนักวิทยาศาสตร์อ่านค่าดาวเทียมกับหลักฐานทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับสภาพอากาศ ย้อนกลับไปยังอดีตกาลอันไกลโพ้นทะเล พบว่าปี 2023 เหมือนจะเป็นปีที่โลกมีอุณหภูมิสูงที่สุดในรอบ 100,000 ปีเป็นอย่างน้อย
“พูดง่ายๆคือครั้งสุดท้ายที่โลกมีอุณหภูมิสูงมากตอนนั้นโลกยังไม่มี ไม่มีเมือง ไม่มีหนังสือ เกษตรกรรม หรือสัตว์ในบ้านเลย" ด้าน คาร์โล บูออนเทมโป ผู้อำนวยการฝ่ายติดตามสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป กล่าวเมื่อวันอังคาร (9 ม.ค.24)
ทุกๆ 10 องศาของภาวะโลกร้อนแสดงถึงเชื้อเพลิงทางอุณหพลศาสตร์พิเศษที่ทำให้เกิดคลื่นความร้อนและพายุรุนแรงขึ้น มันไปเพิ่มระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และเร่งการละลายของธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็ง
เตรียมตัวรับโลกร้อนกันอย่างไร เมื่อโลกยังเดือดแบบนี้
สิ่งที่แสดงให้เห็น ผลกระทบจากโลกที่ร้อนขึ้นทุกคนเห็นกันตามที่ปรากฎบนหน้าข่าวกัน ไม่ว่า ทั้งอิหร่านและจีน กรีซและสเปน รัฐเท็กซัส และอเมริกาใต้ ที่เกิดความแปรปรวน จากลมฟ้าอากาศฝนตกน้ำท่วมแบบผิดฤดูกาล
ขณะที่แคนาดามีฤดูไฟป่าที่ทำลายล้างมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีพื้นที่ไหม้ไปมากกว่า 45 ล้านเอเคอร์ ส่วนน้ำแข็งในทะเลก่อตัวรอบๆ ชายฝั่งแอนตาร์กติกาลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด
ดร. ซาราห์ แคปนิคกล่าวเสริมว่าเธอหวังจะเห็นชุมชน ถาคธุรกิจ และบุคคลทั่วไปจะใช้ข้อมูลที่เผยแพร่จากรายงนบนี้ไปใช้ เพื่อเตรียมและสร้างความยืดหยุ่นสำหรับอนาคต
“เราต้องเตรียมพร้อมสำหรับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ และเดี๋ยวนี้เลย เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายสุดขีดมันจะเกิดขึ้นและบ่อยขึ้นแน่ๆ" ซาราห์ แคปนิค หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ NOAA กล่าว
"เอลนีโญ่"ไม่ใช้ปัจจัยโลกเดือด
ภาวะโลกร้อนช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายฝ่ายเชื่อว่าเกิดจากปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เหตุผลคือ ในช่วงไม่ 20 ปีที่ผ่านมา โลกมีอุณหภูมิอบอุ่นขึ้นทุกปี และมักเป็นปีที่มีจุดเริ่มต้นในรัฐเอลนีโญ
แต่ปีที่แล้ว(2023) ไม่มีปรากฏการณ์เอลนีโญเลยจนถึงกลางปี
"เรื่องนี้บ่งชี้ได้ทันทีว่าเอลนีโญไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนหลักของความอบอุ่นผิดปกติ" เอมิลี่ เจ. เบกเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศจากมหาวิทยาลัยไมอามี กล่าว
นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าในปีเดียว (ที่เกิดโลกร้อน) หรือแม้แต่ปี 2023 ก็สามารถบอกเราได้มากเพียงว่าภาวะโลกร้อนในระยะยาวอาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่สัญญาณอื่นๆ บ่งชี้ว่าโลกกำลังร้อนขึ้นเร็วกว่าเมื่อก่อน
พลังงานประมาณ 90% ที่กักขังโดยก๊าซเรือนกระจกสะสมอยู่ในมหาสมุทร และนักวิทยาศาสตร์พบว่าการดูดซับความร้อนของมหาสมุทรได้เร่งตัวขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ทศวรรษ 1990
“ถ้าคุณดูเส้นโค้งนั้น มันชัดเจนว่าไม่เป็นเส้นตรง” ซาราห์ เพอร์คีย์ (Sarah Purkey) นักสมุทรศาสตร์จากสถาบันสมุทรศาสตร์ Scripps แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก กล่าว
เมื่อเร็วๆ นี้กลุ่มนักวิจัยในฝรั่งเศสพบว่าความร้อนโดยรวมของโลกทั้งในมหาสมุทร ผืนดิน อากาศ และน้ำแข็ง เป็นตัวเร่งความเร็วให้เกิดโลกร้อน นับตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งตรงกันจากการสำรวจของหลายหน่วยงาม กับการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการลดลงของละอองลอย (ฝุ่น,เขม่า,หมอก) ในอดีต
"แต่เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์จะต้องศึกษาข้อมูลต่อไปเพื่อทำความเข้าใจว่าปัจจัยอื่นๆ อาจจะได้ผลเช่นกันหรือไม่" คารินา ฟอน ชุคมันน์ หนึ่งในนักวิจัย นักสมุทรศาสตร์จาก Mercator Ocean International ในเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส กล่าว
“เพราะอาจจะมีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นโดยที่เรายังไม่เข้าใจมัน” ดร. ฟอน ชุคมันน์ อีกหนึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวเสริมความคิดดังกล่าว