"กรุงไทย" ร่วมสร้างโป่งเทียมอนุรักษ์ช้าง เนื่องในวันช้างไทย 13 มีนาคม
สนับสนุนการทำโป่งเทียมเพิ่มแร่ธาตุ วิตามินที่จำเป็น ช่วยเสริมความแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคต่างๆ สร้างแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ให้แก่ช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เนื่องใน "วันช้างไทย"
ธนาคารกรุงไทย ร่วมกับมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนการทำโป่งเทียมเพิ่มแร่ธาตุ วิตามินที่จำเป็น ช่วยเสริมความแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคต่างๆ สร้างแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ให้แก่ช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เนื่องใน "วันช้างไทย" ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและช้างป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล ลดปัญหาช้างป่าบุกรุก พื้นที่เกษตรเขตป่ารอยต่อ 5 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี ช่วยให้คนและช้างป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
ความเป็นมา
วันช้างไทย เกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานองค์การภาครัฐและเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทย คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการ สถาปนาวันช้างไทยขึ้นจะช่วยให้ประชาชนคนไทยหันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหน ตลอดจน ให้ความสําคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทํายุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวัน กองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่นและเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการ คัดเลือกสัตว์ประจําชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นําเสนอมติเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกทางหนึ่ง และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541
วัตถุประสงค์
1. ให้ประชาชนคนไทยสนใจช้าง รักหวงแหนช้าง ให้ความสําคัญต่อการให้ความช่วยเหลือ และอนุรักษ์ช้างมากขึ้น
2. เป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสําคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้าง เคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติหรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์
ที่มา : ฝ่ายวารสารและเอกสาร, งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด มหาวิทยาลัย รามคําแหง
เครดิตภาพ: Pixabay.com