SCB ชี้ ตลาดผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยังเปิดกว้าง ก่อนเข้า Net Zero ปี 2565
นพมาศ ฮวบเจริญ นักวิเคราะห์อาวุโส จาก SCB EIC เผยในงาน SCBX REIMAGINING CLIMATE Series ในช่วง EP1: Shaping the Pathway Towards Net Zero Transition ที่ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 สยามพารากอน ว่าตลาดผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีแนวโน้มโตแบบก้าวกระโดด
โดยปัจจุบันภาครัฐไทยกำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และ Net Zero สอดรับไปกับเป้าหมายของโลก เป้าหมายคือ ไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และจะเข้าสู่ Net Zero ภายในปี 2065
ไทม์ไลน์ตัวอย่างเป้าหมายของไทยก่อนเข้าสู่ Net Zero 2065
ปี 2021 เริ่มต้น
2030 ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก 40%
2035 ประมาณการใช้รถ EV 69%
2037 กำจัดคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ 120 เมตริกตัน
2050 เป็นกลางทางคาร์บอน
2065 เข้าสู่ Net Zero
นอกจากนี้ยังมีนโยบาย 30@30 คือตั้งแต่จุดเริ่มต้น ไทยต้องใช้และผลิต EV อย่างน้อย 30% ขึ้นไป และต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้ EV เรื่อยๆเป็นขั้นบันได จาก 1 ล้าน ไป 3 ล้านคัน และ ปี 2040 ไทยต้องมี EV ขาย 100 %
ส่วนการไปสู่ Net Zero ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (SCB EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์เพิ่มเติมว่าเราต้องสนับสนุนให้ใช้พลังงานบริสุทธิ์อย่างพลังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งตลาดการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยังโตได้อีก และจะโตแบบก้าวกระโดด
ข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและหลายภาคส่วนจากเอกชนเผยว่า ตั้งแต่ปี 2018 ถึง ปัจจุบันปริมาณการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ของเอกชนที่ขายตรงให้กับธุรกิจโตขึ้น +97%
ปี 2018 ผลิตที่ 22 kWh
2019 ผลิตที่ 50 kWh
2020 ผลิตที่ 101 kWh
2021 ผลิตที่ 226 kWh
2022 ผลิตที่ 375 kWh
2023 ผลิตที่ 644 kWh
นอกจากภาครัฐที่จะมีส่วนในเรื่องนี้แล้ว ภาคการเงินคือหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และ Net Zero ผ่านตลาดการเงินสีเขียว รวมถึงเป้าหมายการเพิ่มทรัพย์สินที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้สถาบันการเงินชั้นนำมีเป้าหมายเพิ่มทรัพย์สินที่ยั่งยืน หลายสถาบันการเงินชั้นนำลงทุนไปกับพลังงานสะอาด อย่าง Commerzbank มาเป็นอันดับ 1 ที่ 80 % อันดับ 2 เป็น Nordea 70% อันดับ 3 เป็น JP Morgan 63 % อันดับ 4 เป็นของ Deutche Bank 62 % อันดับ 5 เป็นของ BBVA 60 %
อีกหนึ่งช่องทางธุรกิจพลังงานสะอาดคือ การใช้ กรีน ไฮโดรเจน ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งภาครัฐฯคาดการณ์ว่าจะชัดเจนในปี 2030 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยให้ราคากรีน ไฮโดรเจนมันชัดเจนขึ้นก็จะทำให้การนำมาใช้ในไทยทำได้เร็วขึ้น
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ SCB วิเคราะห์ต่อว่า ตลาดของกรีนไฮโดรเจนในไทยยังมีอุปสรรคที่ทำให้เติบโตได้ช้า เช่น
- ราคากรีนไฮโดรเจนยังค่อนข้างสูง
- ปริมาณความต้องการกรีนไฮโดรเจนยังไม่แน่นอน
- โครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่ได้ออกแบบเพื่อรองรับการจัดส่งและจำหน่าย กรีนไฮโดรเจน