ชี้เป้าจุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) กว่า 50 จุดรอบกรุงเทพฯ
ชี้เป้าจุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) กว่า 50 จุดรอบกรุงเทพมหานคร หากไม่สะดวกเดินทางสามารถฝากทิ้งกับเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ได้
ในยุคดิจิทัลที่ทุกคนมีอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วเป็นจำนวนมาก การทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่ถูกวิธีเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สารเคมีอันตราย เช่น ตะกั่ว และปรอท ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รั่วไหลออกมาสู่สิ่งแวดล้อม เมื่อสารเคมีเหล่านี้ซึมลงดิน หรือระเหยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ จะก่อให้เกิดมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศในระยะยาว
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อม เราควรแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ก่อนนำไปทิ้งตามจุดรับทิ้ง
เปิดพิกัดจุดทิ้ง "ขยะ E-Waste" รอบกทม.
- สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต 🏢
- ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้าและดินแดง) 🏛️
- อาคารคณะสิ่งแวดล้อมและศูนย์การค้าสุพรีม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🏫
บริการไปรษณีย์
หากไม่สะดวกเดินทางไปจุดรับ E-Waste สามารถใช้บริการไปรษณีย์ได้ง่ายๆ ดังนี้
1. นำบรรจุภัณฑ์ใส่กล่อง
2. เขียนหน้ากล่องว่า “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์”
3. ฝากทิ้งกับเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ที่มานำจ่ายจดหมายตามบ้านได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ที่รับทิ้ง
- อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด
- ลิเธียมแบตเตอรี่ที่ใช้ใน โทรศัพท์มือถือ, แล็ปท็อป, ตู้เย็น, คอมพิวเตอร์, รถยนต์ไฟฟ้า,เครื่องพิมพ์
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่รับ
- จอมอนิเตอร์รุ่นเก่าหรือจอซีอาร์ทีที่มีหลอดไอโอโดส
- ถ่านอัลคาไลน์
- หลอดไฟ
ข้อควรระวังในการทิ้ง E-Waste
- ไม่ควรทิ้ง E-Waste ปนกับขยะทั่วไปเพราะอาจทำให้สารพิษปนเปื้อนและแพร่กระจายได้
- ไม่เผา ฝังดิน หรือทิ้งลงในท่อระบายน้ำ เพราะจะทำให้สารพิษกระจายตัวและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเรา
- ไม่ควรแกะหรือแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์อาจเกิดอันตราย เนื่องจากมีสารเคมีหรือส่วนประกอบที่เป็นพิษภายในอุปกรณ์
คำแนะนำก่อนทิ้ง
- ลบข้อมูลและภาพในโทรศัพท์และแท็บเล็ตให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล
- ถอดเมมโมรีการ์ดก่อนทิ้ง
- หากแบตเตอรี่บวม ให้แช่น้ำ 5 ชั่วโมงเพื่อลดประจุพลังงาน และใส่ถุงหรือห่อกระดาษก่อนทิ้ง