posttoday

“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9” พื้นที่สีเขียว เรื่องราวบทใหม่ของชาวกรุงเทพฯ

29 สิงหาคม 2567

พื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ของชาวกรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 279 ไร่ แปลงโฉมจากพื้นที่สนามม้านางเลิ้งเดิมให้กลายเป็น “อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9” หลังราชตฤณมัยสมาคมฯ หมดสัญญาเช่าพื้นที่สนามกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เมื่อปี พ.ศ. 2561

หลัง ราชตฤณมัยสมาคม แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ สนามม้านางเลิ้งเดิม ส่งมอบพื้นที่คืนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในวันที่ 4 ตุลาคม 2561 สนามม้านางเลิ้งก็ได้เข้าสู่กระบวนการแปลงโฉมเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของคนกรุงเทพมหานครในนาม "อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร" ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้

 

“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9” พื้นที่สีเขียว เรื่องราวบทใหม่ของชาวกรุงเทพฯ

 

ข้อมูลสำคัญอุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9 

แนวคิดสำคัญของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ  “น้ำคือชีวิต จากนภา ผ่านภูผา สู่นที”

 

มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 9 บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญ เป็นพื้นที่รับน้ำและเป็นพื้นที่สีเขียวในกับกรุงเทพฯ

 

ที่นี่จึงไม่ได้เป็นเพียงสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับป่าและน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสนพระทัยและทรงให้ความสำคัญ

 

ตั้งอยู่ในพื้นที่สนามม้านางเลิ้งเดิม บนเนื้อที่ 279 ไร่ ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ที่ทรงมอบที่ดินมูลค่าหลายหมื่นล้านนี้ให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ประโยชน์

 

“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9” พื้นที่สีเขียว เรื่องราวบทใหม่ของชาวกรุงเทพฯ

 

การออกแบบในจุดต่างๆ จะเน้นไปที่เลข 9 เป็นหลัก เช่น สระน้ำและสะพานรูปเลข ๙ ส่วนอื่นๆ ก็จะเป็นการจำลองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง พื้นที่ชุ่มน้ำ เกษตรฯพอเพียง ที่สำคัญคือโครงการ “แก้มลิง” ที่สระน้ำในสวนเชื่อมกับคลองโดยรอบ คือ คลองผดุงกรุงเกษม กับ คลองเปรมประชากร คลองสามเสน เพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับกรุงเทพ

 

“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9” พื้นที่สีเขียว เรื่องราวบทใหม่ของชาวกรุงเทพฯ

“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9” พื้นที่สีเขียว เรื่องราวบทใหม่ของชาวกรุงเทพฯ

 

นอกจากโซนที่เป็นการศึกษาเรียนรู้แล้ว ก็มีลู่วิ่ง ทางจักรยาน ลานกิจกรรม อุปกรณ์ออกกำลังกาย พื้นที่ริมน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆรองรับการใช้งานของประชาชน โดยโครงการมีกำหนดแล้วเสร็จปี พ.ศ.2567

 

“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9” พื้นที่สีเขียว เรื่องราวบทใหม่ของชาวกรุงเทพฯ

 

แลนด์มาร์ค

พระบรมราชานุสาวรีย์ ร. 9  หัวใจและศูนย์กลางของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

 

บริเวณที่ตั้งเป็นจุดที่ประชาชนจะสามารถมองเห็นอนุสาวรีย์ได้จากถนนรอบนอกพื้นที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ทั้งถนนศรีอยุธยา ถนนพระรามที่ 5 และถนนพิษณุโลก

 

พระบรมราชานุสาวรีย์ ร. 9  ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หันพระพักตร์ไปทางพระตำหนักสวนจิตรดา ถนนศรีอยุธยา หล่อด้วยโลหะสำริด แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นผังแปดเหลี่ยม ตามคติพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันเป็นสัญลักษณ์เบื้องแรกแห่งการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9” พื้นที่สีเขียว เรื่องราวบทใหม่ของชาวกรุงเทพฯ

 

อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ (พื้นที่ทั้งหมด 279 ไร่) ถือเป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของกรุงเทพมหานครชั้นใน รองจากสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ โดยมีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

ด้านทิศเหนือ ติดถนนศรีอยุธยา

ด้านทิศตะวันออก ติดถนนสวรรคโลก

ด้านทิศใต้ ติดถนนพิษณุโลก และบางส่วนติดโรงเรียนราชวินิต มัธยม

ด้านทิศตะวันตก ติดถนนพระรามที่ 5

 

“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9” พื้นที่สีเขียว เรื่องราวบทใหม่ของชาวกรุงเทพฯ

 

ความเป็นมา

หลังกิจการของสนามม้านางเลิ้งเริ่มซบเซา จนประสบกับปัญหาขาดทุนสะสมต่อเนื่องกว่า 1,300 ล้านบาท จากหลายปัจจัย แต่เหตุผลหนึ่งคือ การต้องส่งภาษีเข้ารัฐจำนวนมาก แม้ทางผู้บริหารราชตฤณมัยสมาคมฯ จะเคยทำหนังสือถึงรัฐบาลเพื่อขอจ่ายภาษีลดลง แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาต

 

พื้นพระราชทานให้สร้างเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ ต่อมาเปลี่ยนสถานะเป็นเขตพระราชฐาน และถูกเรียกว่า "901 แลนด์" เพื่อให้เป็นสวนสาธารณะและแหล่งเรียนรู้ ให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษาพระราชกรณียกิจ และใช้ประโยชน์จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเฉพาะเรื่องน้ำ และป่า 

 

อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เริ่มมีการออกแบบและพัฒนาแบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 และเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2564 โดยพลตำรวจโท ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในขณะนั้น ในฐานะหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ออกข้อบังคับว่าด้วยการจำกัดความเร็วและห้ามใช้เสียงในบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน 901 แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ 

 

“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9” พื้นที่สีเขียว เรื่องราวบทใหม่ของชาวกรุงเทพฯ

 

ปัจจุบันเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางไปได้หลายเส้นทาง 

 

1.รถไฟใต้ดิน : สายเฉลิมรัชมงคล, สายสุขุมวิท

 

2.รถเมล์ : 157 (ปอ.), 16, 16 (ปอ.), 171 (ปอ.) , 99, 505, 60, 8

 

3.รถยนต์ส่วนตัว : จอดในอาคารจอดรถใต้ดิน ภายในอุทยานฯ รองรับรถยนต์ได้ 700 คัน คาดเปิดใช้บริการเต็มรูปแบบปี 2567

 

“สะพานไม้เจาะบากง” เป็นการจำลองสะพานไม้เจาะบากง จ.นราธิวาส สะพานที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เคยเสด็จฯ ไปทรงงาน