GIS เทคโนโลยีแผนที่อัจฉริยะรับมือน้ำท่วม ไทยทำได้แค่ไหน?
ในยุคที่เรามีครบแทบทุกด้านทั้งเทคโนโลยี ดาวเทียม อุปกรณ์เครื่องมือเตือนภัยต่างๆ แต่ในส่วนของการนำเครื่องมือที่ว่ามานี้ไปประยุกต์ใช้ หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน จากข้อมูลที่ได้มาในมิติต่างๆ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ภัยวิกฤตฉุกเฉินน้ำท่วมภาคเหนือและอีสานที่เกิดขึ้นล่าสุด สร้างข้อกังขาว่าเรามีเทคโนโลยีหรือระบบป้องภัยที่พร้อมรับมือได้แค่ไหน ในยุคที่เรามีครบแทบทุกด้านทั้งเทคโนโลยี ดาวเทียม อุปกรณ์เครื่องมือเตือนภัยต่างๆ แต่ในส่วนที่เรียกว่า Human Factors (มนุษย์ปัจจัย) โดยเฉพาะในส่วนที่ลงมือปฎิบัติงาน (Human Elements) ได้มีการนำเครื่องมือที่ว่ามานี้ไปประยุกต์ใช้ หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหนจากข้อมูลที่ได้มาในมิติต่างๆ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ระบุว่า เราสามารถรู้ได้ว่า พื้นที่ใดเป็นพื้นที่เสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม จากการนำข้อมูลปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญมาวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลปริมาณน้ำฝน, แบบจำลองความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Mode (DEM), โครงข่ายลำน้ำ, สิ่งกีดขวางลำน้ำ และพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากจากภาพถ่ายดาวเทียม โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ร่วมกับทฤษฎีการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ โดยแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบแผนที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือประชาชนทั่วไปสามารถนำผลลัพธ์นี้ไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจ การเฝ้าระวัง หรือการทำงานเชิงรุก เพื่อเตรียมการวางแผนรับมือก่อนการเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมได้
ข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA บอกว่า ปัจจุบันหลายหน่วยงานทั่วโลกได้มีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ เพื่อรับมือกับภัยพิบัติกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัตินั้น ผู้ประเมินจำเป็นต้องมีความเข้าใจองค์ประกอบของสถานการณ์ของภัยพิบัติเสียก่อน เช่น พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (พื้นที่จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว พื้นที่ที่พายุขึ้นฝั่ง) ลักษณะทางกายภาพ (ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว, ศูนย์กลางความกดอากาศของพายุ) สภาพท้องถิ่น (การใช้ประโยชน์ที่ดิน ประเภทและความสูงของอาคารที่อยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบ) เป็นต้น
คุณสมบัติดังกล่าวต้องการอาศัยความเข้าใจในมิติด้านภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะสามารถคาดการณ์ระดับความรุนแรงหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เข้าใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอาคาร โครงสร้างพื้นฐานและประชากรในพื้นที่ ในขณะเดียวกันข้อมูลดังกล่าวก็เป็นประโยชน์ต่อช่วยเหลืออพยพและการฟื้นฟูเช่นเดียวกัน ดังนั้นข้อมูลภูมิสารสนเทศจึงเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการวางแผนจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Gistda เองก็มีแพลตฟอร์มที่เรียกว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ภัยพิบัติ”
ซึ่งเป็นระบบให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านน้ำท่วม, ไฟป่า และภัยแล้ง นำเสนอภาพรวมสถานการณ์ภัยพิบัติล่าสุดในประเทศไทยในรูปแบบ Story Map สามารถเข้าไปใช้งานได้แบบทันท่วงที เพียงคลิกปุ่ม “ภาพรวมสถานการณ์ภัยพิบัติ”
จากนั้นสามารถเลือกดูแผนที่ออนไลน์ตามช่วงเวลาด้วยตนเอง คลิกที่ไอคอนน้ำท่วม, ไฟป่า หรือภัยแล้ง เพื่อเข้าสู่ระบบแบบ Advance Mode ผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียนเป็นสมาชิกแล้วจะสามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ รวมถึงรับ API Key เพื่อใช้ดึงข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วย API Service ได้อีก
คำถามคือ การตัดสินใจต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติขึ้นอยู่กับใครหรืออะไร?
ย้อนไปก่อนที่จะเริ่มมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ การตัดสินใจต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัตินั้นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะความสามารถของผู้ตัดสินใจมากกว่าการตัดสินใจบนพื้นฐานความเป็นจริงที่สะท้อนผ่านข้อมูล แต่ปัจจุบันข้อมูลภูมิสารสนเทศ เช่น ข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ ข้อมูลประชากร ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน มีส่วนอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือและการพื้นฟูความเสียหาย
โซลูชันสุดล้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในเวลานี้คือเทคโนโลยี GIS for Crisis Management หรือ จีไอเอสเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตครบวงจร เป็นการดึงจุดแข็งด้านข้อมูลแผนที่อัจฉริยะและการวิเคราะห์ประมวลผลเชิงลึกเพื่อรับมือภัยพิบัติ เหตุฉุกเฉิน และสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พัฒนาโดยบริษัทอีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ESRI ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่
โดยมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง หยิบมาพัฒนาต่อได้ในเวลาอันสั้น พร้อมเข้าไปบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตได้ตั้งแต่การเตรียมพร้อมก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และฟื้นฟูสู่สภาวะปกติหลังเหตุการณ์ เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือด้านดิจิทัลที่ใช้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
GIS for Crisis Management เป็นโซลูชันที่เข้ามาช่วยจัดการสถานการณ์ภาวะวิกฤตครบวงจร คือ ช่วงเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ (Preparedness) หลายครั้งที่เหตุการณ์ฉุกเฉินหรือสภาวะวิกฤต ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ 100% แต่ด้วยเทคโนโลยี GIS และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องสามารถประเมินและคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลในหลากหลายมิติ และฐานข้อมูลย้อนหลัง เข้ามาช่วยคาดการณ์การเกิดเหตุล่วงหน้าได้ เช่น กรณีการพยากรณ์การเกิดอุทกภัย GIS สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า โดยนำข้อมูลแหล่งน้ำ ข้อมูลพารามิเตอร์มาวิเคราะห์ระดับและปริมาณน้ำ ฯลฯ และส่งข้อมูลเตือนภัยในเวลาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหายได้
สามารถมอนิเตอร์ดูสถานการณ์จริงแบบเรียลไทม์ เพื่อหาแนวทางเข้าควบคุม แก้ไข ผ่านเว็บแอพพลิเคชันพร้อมอัพเดทข้อมูลและรายงานสรุปผลด้วย Dashboard เข้าใจและเข้าถึงง่าย
โดยแสดงผลได้ทั้งบน หน้าจอโทรศัพท์ (Mobile Application) และบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ (Web Monitoring) ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อวางแผนรับมือกับสถานการณ์ได้เช่นกัน นับเป็นหนึ่งไฮไลต์ที่ช่วยให้การส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นถึงมือผู้ประสบเหตุหรือกำลังอยู่ระหว่างอพยพในเหตุวิกฤติ สามารถคาดคะเนเหตุการณ์และเตรียมความพร้อมรับมือได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้รายงานข้อมูลนี้เพื่อประเมินภาพรวมและบริหารสถานการณ์รวมทั้งทรัพยากรให้เหมาะสมที่สุด
ตัวอย่างจากฟิลิปปินส์
แผนที่อัจฉริยะ GIS ช่วยให้สภากาชาดฟิลิปปินส์ตอบสนองต่อภัยพิบัติหลายร้อยครั้งได้อย่างรวดเร็ว
ฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่สามในดัชนีความเสี่ยงโลก ซึ่งวัดการสัมผัสกับอันตรายทางธรรมชาติและทางชีวภาพ กาชาดฟิลิปปินส์ให้บริการประชากรของประเทศมากกว่า 100 ล้านคนกระจายอยู่ทั่วเกาะ 7,600 ในปี 2013 ฟิลิปปินส์ตกเป็นเหยื่อของเหตุฉุกเฉินสำคัญ 3 กรณี ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน หนึ่งในพายุไต้ฝุ่นที่ใหญ่และรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 7,000 คน และทำให้มีผู้พลัดถิ่นอีกหลายพันคน แผ่นดินไหวขนาด 7.2 กระทบเกาะโบโฮล บ้านเรือน ท่าเรือ โรงเรียน สนามบิน และโรงพยาบาล เสียหายหรือถูกปรับระดับ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 ราย บาดเจ็บอีก และก่อให้เกิดดินถล่มร้ายแรง และวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากความขัดแย้งในเมืองซัมโบอังกา ทำให้ประชาชนมากกว่า 100,000 คนต้องพลัดถิ่นและทำลายบ้านเรือนมากกว่า 10,000 หลัง
เวลานั้นสภากาชาดจัดทำแผนที่ง่าย ๆ สำหรับการเตรียมพร้อมและรับมือภัยพิบัติ และไม่มีเทคโนโลยีที่จะตอบคำถามที่สำคัญในภัยพิบัติใดๆ ว่า มีกี่คนที่ได้รับผลกระทบ? อะไรคือความต้องการของพวกเขาในตอนนี้? และจะขอความช่วยเหลือทันทีได้อย่างไร
แผนที่ GIS ซึ่งพัฒนาขึ้นภายหลังโดยความร่วมมือกับสภากาชาดนอร์เวย์และ DNV GL ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถระบุจำนวนผู้อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พร้อมกับทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น ศูนย์อพยพ ยานพาหนะฉุกเฉิน และรายการน้ำดื่ม ระบบยังมีข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เผชิญเหตุประเมินความเสียหายได้
สูตรของกาชาดเพื่อการตอบสนองต่อภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพคือ “อาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรม การขนส่ง บวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ”
สำรวจแอปพลิเคชัน แผนที่อัจฉริยะของไทย เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำที่ควรมี
ThaiWater
“ThaiWater” (ไทยวอเตอร์) เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความร่วมมือของหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ที่ดำเนินการโดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นแอปพลิเคชันติดตามสถานการณ์น้ำ เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัวที่จะป้องกันผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย โดยข้อมูลในตัวแอปพลิเคชันจะเป็นข้อมูลของปริมาณน้ำ ทั้งน้ำในเขื่อน น้ำฝน รวมถึงคลื่นในทะเล และพายุด้วย
จุดเด่นของแอปพลิเคชัน มีข้อมูลมากมายในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ และเป็นปัจจุบันซึ่งสามารถนำไปใช้งานวางแผนต่อได้ ส่วนจุดอ่อนคือการพยากรณ์อากาศที่ยังไม่ละเอียดเท่าที่ควร
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ThaiWater” ได้ทั้ง Google Play และ App Store https://play.google.com/store/apps/details?id=mobile.nhc.thaiwater&hl=en&gl=US
https://apps.apple.com/th/app/thaiwater/id1097487200?l=th
TVIS
แอปพลิเคชันของคนไทยที่ทาง NECTEC (เนคเทค) เป็นผู้พัฒนา TVIS (ทีวีไอเอส) ย่อมาจาก Traffic Voice Information System เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถรายงานการจราจรด้วยเสียง เพียงแค่พูดชื่อถนนที่ต้องการเท่านั้น แต่ทีเด็ดคือยังสามารถดูภาพเรดาร์สภาพอากาศทั่วประเทศ ณ ปัจจุบัน เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย ทำให้เราจะเห็นภาพของเมฆฝนที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านพื้นที่ของเราได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นแอปพลิเคชันนี้ยังบอกเส้นทางลัดทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เบอร์โทรต่าง ๆ ที่จำเป็นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “TVIS” ได้ทั้ง Google Play และ App Store
https://play.google.com/store/apps/details?id=hlt.tvis&hl=en&gl=US
https://apps.apple.com/th/app/tvis/id606945936?l=th
ขอบคุณข้อมูลจาก
Gistda
www.esrith.com