ไทยเตรียมเก็บ “ภาษีคาร์บอน” (Carbon Tax) ตุลาคม67
ไทยเตรียมเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ก่อนมี พ.ร.บ.Climate Change บังคับใช้อย่างเร็วสุดภายในปีงบประมาณ 2568 (เดือนตุลาคม 2567) เพื่อให้ทันการเก็บค่าธรรมเนียม CBAM ในปี 2569
รู้หรือไม่?
ภาษีคาร์บอนถือเป็นเครื่องมือสําคัญเพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกลไกของ Carbon Pricing ตามหลักทางเศรษฐศาสตร์ เพราะทําให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสิ่งที่มีราคาต้องจ่าย ไม่ใช่ของฟรีที่จะปล่อยเท่าไหร่ก็ได้อีกต่อไป และบังคับให้ผู้ประกอบการต้องร่วมรับผิดชอบต่อสังคมจนเกิดผลกระทบเชิงบวกเป็นวงกว้าง
โดยพื้นฐานแล้วภาษีคาร์บอนเป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับมลพิษ โรงงานหรือบริษัทใดผลิตคาร์บอนไดออกไซด์มากก็ต้องจ่ายภาษีมาก โดยอาศัยหลักการทางเศรษฐศาสตร์เรื่องผลกระทบภายนอกในเชิงลบ
Negative Externality หมายถึง ผลกระทบต่อกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกรรมทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ผลกระทบต่อชุมชนซึ่งเกิดจากการก่อมลภาวะของโรงงาน ซึ่งส่วนมากยังไม่ได้รวมเอาต้นทุนส่วนนี้เข้าไปในการคิดต้นทุนรวมของธุรกรรม ทำให้ไม่แสดงต้นทุนที่แท้จริง
ไทยเริ่มนำ “ภาษีคาร์บอน” มาใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์
เป็นการจัดเก็บภาษีคาร์บอนทางอ้อมจาก “เชื้อเพลิงฟอสซิล”
*ตามกฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565
ประเทศที่นำกลไกภาษีคาร์บอนมาใช้มี 36 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกราวร้อยละ 5
ไทย เป็นประเทศที่ 2 ของอาเซียน ต่อจากสิงคโปร์
สิงคโปร์ เริ่มเก็บปี 2019 เป็นแบบขั้นบันได ล่าสุดในอัตรา 630บาท/ตันCO2 (อัตราปี 2024)
ญี่ปุ่น ประเทศแรกในเอเชีย เริ่มปี 2012 อัตรา 66 บาท/ตันCO2
ระบบภาษีคาร์บอนแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
1.ข้อกําหนด 2.ประเภทเชื้อเพลิง
รูปแบบการจัดเก็บภาษี:
1.ทางตรงจากการผลิต: การผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิล การเผาไหม้ของเครื่องจักรโรงงานและยานพาหนะ
2.ทางอ้อมจากการบริโภค: การซื้อผลิตภัณฑ์ที่ก่อก๊าซเรือนกระจก เหล็ก กระดาษ บรรจุภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
*อัตราภาษีที่มีแต่ 0.08 - 155.87 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันCO2
อุรุกวัย เป็นประเทศที่จัดเก็บภาษีคาร์บอนในอัตราสูงที่สุดในโลก เริ่มในปี 2022 (ราว160ดอลลาร์) รองลงมาคือประเทศสวีเดน ลิกเตนสไตน์ และสวิสเซอร์แลนด์
สรุป "ภาษีคาร์บอน" หรือ carbon tax คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ประกอบการและองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ที่มา: กรมสรรพสามิต และ ธนาคารโลก ณ วันที่ 1 เมษายน 2022
นอกจากจะเก็บภาษีคาร์บอนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว ก็อาจจะมีการเก็บภาษีกับก๊าซเรือนกระจกที่รั่วไหล (Fugitive emission) หรือ จากกระบวนการการผลิต (Process emission) อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ประเทศส่วนใหญ่ที่นำภาษีคาร์บอนมาใช้มักเลือกเก็บภาษีคาร์บอนกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงชนิดเดียว ทั้งนี้ อัตราภาษีนี้เป็นหัวใจสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่จะกำหนดว่าสังคมจะสามารถบรรลุจุดที่มีต้นทุนโดยรวมต่ำที่สุดได้หรือไม่ “ในทางเศรษฐศาสตร์ อัตราภาษีที่เหมาะสม คือระดับที่ทำให้ต้นทุนการบำบัดก๊าซเรือนกระจกส่วนเพิ่ม (Marginal Abatement Cost) เท่ากับ ต้นทุนความเสียหายของสังคมส่วนเพิ่ม (Marginal Damage Cost)”
ข้อมูลจาก: Global Compact Network Thailand