"ชัชชาติ" ชวนทุกคนร่วมออกแบบ 'กรุงเทพฯ' เมืองยั่งยืน
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. เผยแนวทางกรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่และยั่งยืน ย้ำต้องมีการร่วมมือที่ดีระหว่างรัฐ เอกซน ชุมชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างและพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและมีพื้นที่ 1,569 ตร.กม. ที่นี่เป็นไปด้วยผู้คน นวัตกรรม การเจริญเติบโตของเมือง เป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายการใช้ชีวิตของชาวกรุง ทั้งปัญหาการจราจร ระบบโครงสร้าง สิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียวที่จำกัด และความเหลื่อมล้ำทางสังคม
งาน Pathways to a Sustainable Urban Future เส้นทางสู่อนาคตเมืองที่ยั่งยืน ซึ่งหัวข้อนี้มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด และคุณเข็มอัปสร สิริสุขะ นักแสดงและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดำเนินการเสวนาโดยคุณอาลิซาเบธ แซดเลอร์ ลีนานุไชย
ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่า กทม. กล่าวว่า การรักษาสมดุลระหว่างเมืองใหญ่และเมืองสีเขียวต้อง นิยามความยั่งยืนไม่ใช่แค่โลกร้อนเพียงอย่างเดียวยังเป็นเรื่องของความยั่งยืนในการใช้ชีวิตของประชาชนด้วย โดย กทม. มีวิสัยทัศน์ "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" สู่ 9 นโยบายหลัก บริหารจัดการดี ได้แก่ สิ่งแวดล้อมดี สุขภาพดี เดินทางดี ปลอดภัยดี สังคมดี เศรษฐกิจดี โปร่งใสดี เรียนดี และมี 216 แผนปฏิบัติการที่ปรับใช้ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน ในการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน
สำหรับเป้าหมายในปี 2570 คือกรุงเทพฯ ต้องเป็นเมืองน่าอยู่ 1 ใน 50 อันดับแรกของโลกซึ่ง กทม.ให้ความสำคัญกับโครงการที่ประชาชนจับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็น การเดินทาง Mobility ในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าหลายสาย แต่ยังไม่ยั่งยืนเพราะการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการเดินที่ฟุทบาทยังไม่เอื้ออำนวยในการเดินไดั คนก็กลับไปใช้รถส่วนตัวเหมือนเดิม ซึ่งมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
พร้อมด้วยนโยบายสำคัญ “กรุงเทพฯ 9 ดี” ได้แก่ บริหารจัดการดี สิ่งแวดล้อมดี สุขภาพดี เดินทางดี ปลอดภัยดี โครงสร้างดี เศรษฐกิจดี สร้างสรรค์ดี เรียนดี และมียัง 216 แผนปฏิบัติการที่ปรับใช้อยู่ในปัจจุบัน
กทม. ได้ให้ความสำคัญกับโครงการที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อาทิ สนับสนุนให้ลดการใช้รถส่วนตัวโดยพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและทางเท้าให้เอื้อต่อการเดินทางที่ยั่งยืน
เพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมืองและสวนขนาดเล็กเข้าถึงชุมชน การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมการคัดแยกขยะในกลุ่มผู้ประกอบการ และการปรับปรุงระบบระบายน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าหมายสำหรับสำนักงานเขต กทม. ปี 2567 ในการพัฒนาถนน 124 กิโลเมตร ติดตั้งและปรับปรุง ไฟถนน 31,900 ดวง ติดตั้งและปรับปรุง ไฟริมคลอง 9,500 ดวง ปลูกต้นไม้ 200,000 ต้น ปรับปรุงจุดฝืดจราจร เพิ่มสวน 15 นาที 153 แห่ง
แก้ไขจุดเสี่ยงอาชญากรรมและเพิ่มความปลอดภัย 370 แห่ง ปรับปรุงทางเท้า 312 กิโลเมตร ยกเลิกการค้าบนทางเท้า 100 จุด พัฒนา Hawker center 20 แห่ง ปรับปรุงจุดเสี่ยงน้ำท่วม 212 แห่ง เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมือง รวมถึงให้ความสำคัญในการร่วมมือกับภาคเอกชนพัฒนาศูนย์กิจกรรมต่างๆ และดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น การจัดตั้งธนาคารอาหาร 50 แห่งทั่วกรุงเทพฯ
ทั้งนี้ มีเป้าหมายสูงสุด คือการผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ 1 ใน 50 อันดับแรกของโลกภายในปี 2570 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มลพิษสิ่งแวดล้อม หนึ่งในสาเหตุของการเจ็บป่วย สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั่วโลกมีแนวโน้มอุบัติการณ์การเสียชีวิต จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น
โดยปัจจัยสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื่อรังในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย คือ มลพิษทางอากาศ จำแนกสาเหตุเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรือรังที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้ถึง 8.2 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 4 ใน 5 อันดับแรกเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
สถิติจาก WHO ระบุว่า ประชากรกรุงเทพฯ ราว 76% เสียชีวิตจากโรค NCD ซึ่งมีสาเหตุจากการนั่งนาน 75% ของประชากรมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน (Obesity) อีกทั้งกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย
ดังนั้น การพัฒนา Transit-Oriented Development (TOD) จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเขตที่มีการจราจรติดขัด เช่น บริเวณสุขุมวิทและศรีนคริทร์ที่มีทั้งที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ทำให้มีความหนาแน่นสูง
การเพิ่มพื้นที่สีเขียว กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดย Universal Design การออกแบบผังเมืองที่ดี ต้องยึดประโยชน์ของ ปชช. เป็นศูนย์กลางลดมลพิษทางอากาศ น้ำ เสียง สารเคมี ขยะเพิ่มพื้นที่ออกกำลังกาย/พักผ่อน ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เอื้อต่อสุขภาพกาย จิตที่ดีสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
ซึ่งเชื่อมโยงผู้คน ที่อยู่อาศัย และธรรมชาติเพิ่มพื้นที่สาธารณะปลอดภัย รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ เสริมสร้างทัศนียภาพ เกิดพื้นที่ชุมชนน่าอยู่ ที่เป็นมิตรกับคนทุกวัยผังเมืองที่ดี ลดปัญหาจราจร การเดินทางสะดวกมากขึ้นลดความเครียดจากการเดินทางที่ยาวนาน ลดอุบัติเหตุ เพิ่มเวลาพักผ่อน สร้างสมดุลชีวิต