10 ปี 10 เรื่องน่าเล่า One Bangkok ตำนานอภิมหาโปรเจกต์ Mixed Use แห่งกรุงเทพฯ
One Bangkok เป็นมากกว่าโครงการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร อภิมหาโปรเจกต์ Mixed Use ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท บนที่ดิน 108 ไร่ พื้นที่ใช้สอย 1.93 ล้านตารางเมตร ตั้งอยู่บนถนนวิทยุและถนนพระราม 4 มีอะไรอยู่ภายใน Stories นี้บ้าง ไปหาคำตอบกัน!
10 เรื่องน่ารู้ของโครงการ One Bangkok
1. One Bangkok เป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด กับ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ของตระกูลสิริวัฒนภักดี กลุ่มทุนที่แข็งแกร่งที่สุดในไทย โดยมีนายปณต สิริวัฒนภักดี ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด
2. รวมระยะเวลา 10 ปี นับจากที่เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ชนะการประมูลที่ดินเมื่อปี พ.ศ.2557 จากสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ กับตำนานที่ดินผืนสุดท้ายซึ่งเป็นทำเลที่ดีที่สุดของกรุงเทพฯ 3 ปีต่อมา 3 เมษายน 2560 ได้เผยโฉมโครงการในพื้นที่ 108 ไร่เป็นครั้งแรกอย่างยิ่งใหญ่กับโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย ด้วยมูลค่าสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน) ทำพิธีลงเสาเอกต้นแรกเมื่อเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561
3. เปิดตัวอย่างเป็นทางการอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยรวมใน Q4/2567 จะเปิดตัวโครงการในส่วน 70% แรก คือ พื้นที่รีเทล 2 โซนหลักคือ The Parade และ The Storeys อาคารสำนักงาน 2 อาคาร และโรงแรมคือโรงแรมริทซ์-คาร์ลตัน กรุงเทพฯ (The Ritz-Carlton) โรงแรมหรูระดับ 6 ดาวจะเปิดบริการเดือน พ.ย. 2567 โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก เปิดบริการ ปี 2568 เฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ เปิดบริการปี 2569
4. พื้นที่ตั้งอยู่บนถนนวิทยุบรรจบกับถนนพระราม 4 ย่านการค้าเก่าแก่ที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์และการพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ มายาวนานกว่าร้อยปี และนับเป็นทำเลที่ดีที่สุดผืนสุดท้ายใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับย่านธุรกิจอื่น ๆ อาทิ สาทร สีลม สามย่าน ด้วยระบบขนส่งสาธารณะแบบครบวงจร
5. มีทางเข้าออกรอบโครงการถึง 6 จุด จากฝั่งถนนวิทยุไล่มาจนถึงพระราม 4 พร้อมทั้งสร้างพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เปิดโล่งกว่า 50 ไร่ มี “สวนสาธารณะแนวยาว (Linear Park)” ขนาดกว้างจากทางเท้าถึงหน้าโครงการถึง 35 – 45 เมตร เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ เป็นพื้นที่รวมกันกว่า 700 ไร่ ซึ่งเปรียบเสมือนปอดผืนใหญ่ใจกลางกรุง
6. มีทางเท้าสะดวกและกว้างขวาง สามารถเดินเข้าถึงทุกพื้นที่ในโครงการได้เพียง 15 นาที สอดคล้องกับแนวคิด 15-Minute Walking City เทรนด์ใหม่ของการพัฒนาเมือง
7. เป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED for Neighborhood Development ระดับ Platinum รวมถึง WiredScore Platinum และ SmartScore Platinum จากการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะขั้นสูง
8. อาคาร Signature Tower สูง 430 เมตร ซึ่งจะกลายเป็นหนึ่งในสิบตึกที่สูงที่สุดในอาเซียน ภายในเป็นออฟฟิศและโรงแรมระดับ Super Luxuary
9. พัฒนาภายใต้แนวคิด “The Heart of Bangkok” เมืองที่ยึดเอา “หัวใจ” ของผู้คนเป็นศูนย์กลาง ตั้งใจยกระดับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ผลักดันกรุงเทพฯ ให้ก้าวสู่การเป็น “The New Influential Global City”
10. มี “Art Loop” เส้นทางแห่งศิลปะและวัฒนธรรมความยาว 2 กิโลเมตรเชื่อมต่อทั่วทั้งโครงการ และมี One Bangkok Public Art Collection ผลงานศิลปะสาธารณะจากศิลปินระดับโลกและท้องถิ่น มีไฮไลท์คือ ผลงานศิลปะสาธารณะติดตั้งถาวรจากศิลปินระดับโลก อนิช คาพัวร์ และ โทนี แคร็กก์ ด้วยตั้งใจให้ประติมากรรมอันทรงพลังทั้งสองชิ้นนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของกรุงเทพฯ ซึ่งทั่วโลกอยากมาชมให้เห็นกับตา เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้กรุงเทพฯ และประเทศไทยมีบทบาททางด้านศิลปะและวัฒนธรรมบนเวทีโลกมากขึ้น
กลุ่มอาคาร One Bangkok มีอะไรบ้าง
อาคารที่กระจายตัวอยู่โดยรอบพื้นที่โครงการ มีใจกลาง Civic Plaza เป็นพื้นที่สันทนาการขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น 6 โซนหลักตามการใช้สอยแบบ Mixed Use คือ
- One Bangkok Retail (ค้าปลีก)
- Hospitality (โรงแรม)
- Workplace (ออฟฟิศ)
- Residences (ที่อยู่อาศัย)
- Forum (ฮอลล์จัดแสดง)
- Art Loop (พื้นที่ศิลปะ)
1) One Bangkok Retail (ค้าปลีก): ประกอบด้วย 3 ห้างหลัก
- Parade (เปิดแล้ว) ห้าง 9 ชั้น (85,000 ตร.ม.) ริมถนนพระราม 4 เป็นไลฟ์สไต์มอลล์ มีร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และแบรนด์ระดับแมส มี“ดิวตี้ ฟรี” คือ คิง เพาเวอร์ ซิตี บูทีก บนพื้นที่ 5,000 ตร.ม. เป็น “แม่เหล็ก” ของพื้นที่รีเทล และ Big C, Mitsukoshi Nihombashi, One Ultra Screen ฯลฯ
- The Storeys (เปิดแล้ว) สรรพสินค้า 5 ชั้น (35,000 ตร.ม.) ริมถนนวิทยุ เน้นร้านค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เช่น จิม ทอมป์สันไลฟ์สไตล์สโตร์บนพื้นที่กว่า 500ตร.ม. รวมถึงร้านอาหาร บาร์แอนด์บิสโทร และแหล่งแฮงเอาต์ในช่วงกลางคืน
- POST 1928 (เปิดเฟส 2) ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Go Beyond Luxury’ เน้นๆ สำหรับนักช้อประดับลักชัวรีกับประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ไม่เคยมีในไทยมาก่อน บนพื้นที่เช่า 5 ชั้น ขนาด 40,000ตร.ม. ไฮไลต์จะอยู่ตรงที่ในโครงการได้รวบรวมร้านค้าแฟลกชิปสโตร์แบรนด์ดังระดับโลกมาเปิดให้บริการ 2 ฝั่งถนนในรูปแบบ สแตนด์อโลนของแบรนด์แฟชั่น นาฬิกา จิวเวลรี รวมทั้งแบรนด์สตรีทแวร์
2) Hospitality (โรงแรม): ประกอบด้วย 3 โรงแรม
- โรงแรมริทซ์-คาร์ลตัน กรุงเทพฯ (6 ดาว) เปิดให้บริการ พ.ย. 2567
- โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก เปิดให้บริการปี 2568
- โรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ คาดเปิดให้บริการปี 2569
3) Workplace (ออฟฟิศ) เฟสแรกประกอบด้วย Tower 3 Tower 4 และ Tower 5 (เปิดจองแล้ว) โดยมีหลายบริษัทชั้นนำที่ย้ายเข้ามาแล้ว อาทิ ไลน์แมน วงใน BMW EY ฯลฯ
4) Residences at One Bangkok (ที่อยู่อาศัย) ที่พักอาศัยริมถนนวิทยุ เปิดให้เข้าชมปลายปี 2567
5) Forum (ฮอลล์จัดแสดง) สถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ต ไลฟ์โชว์ นิทรรศการแบบในร่ม ความจุ 6,000 ที่นั่ง พร้อมบันไดยักษ์สำหรับเดินพรมแดง
6) Art Loop (พื้นที่ศิลปะ) เส้นทางแห่งประสบการณ์ทางศิลปะและวัฒนธรรม ที่ประกอบไปด้วยโปรแกรม ชิ้นงาน และกิจกรรมมากมายหลากหลายรูปแบบ จุดประกายให้เกิดเป็นเส้นทางรูปแบบใหม่กับความเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด
Smart Technologies เทคโนโลยีอัจฉริยะ ด้านต่างๆ สอดคล้องกับแนวคิดด้านความยั่งยืน
Central Utility Plant (CUP) ศูนย์กลางของระบบอัจฉริยะที่เปรียบเสมือนหัวใจของ วัน แบงค็อก เป็นอาคารสาธารณูปโภคแบบรวมศูนย์ที่ล้ำสมัย รวบรวมการทำงานทุกระบบ ไว้ในที่เดียว เพื่อการบริหารและจัดการโครงการฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอด 24 ชั่วโมง โดยมี District Command Center หรือศูนย์บัญชาการกลางพร้อมเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบควบคุม บริหารจัดการ และทำงานร่วมกันกับแพลตฟอร์ม Smart Estate ควบคู่กับระบบ AI ขั้นสูงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการระบบการใช้น้ำและพลังงานไฟฟ้าของโครงการ
ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์และจุดควบคุมอัจฉริยะมากกว่า 250,000 ตัว รวมถึงกล้องวงจรปิดกว่า 5,000 จุด ที่สามารถตรวจสอบและบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อประสิทธิภาพของระบบรักษาความปลอดภัย
ระบบ Traffic Control ตรวจสอบและรายงานสภาพการจราจรภายในโครงการ
Smart Pole เสาไฟอัจฉริยะที่ให้แสงสว่
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น
– Electric Power Saver ระบบกักเก็บไฟฟ้าสำรองสำหรับการใช้งานตลอด 24 ชม. และบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าให้คุ้มค่าสูงสุด
– District Cooling System ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
– Smart Water Management ระบบบริหารจัดการน้ำแบบหมุนเวียน ที่สามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำ และใช้เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
– Construction Waste Management ตั้งเป้านำขยะจากการก่อสร้างมากกว่า 75% กลับมาใช้ใหม่ และรีไซเคิล อาทิ การนำเทคโนโลยีบดย่อยเศษขยะคอนกรีตจากหัวเสาเข็มเพื่อนำไปสร้างผนังอาคาร การนำเศษอิฐมวลเบาที่เหลือใช้จากการก่อสร้างมาผลิตเป็นแผ่นผนังกันเสียงในอุโมงค์ทางลอดเข้าโครงการฯ เป็นต้น