posttoday

ก้าวสำคัญสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมพื้นที่เหมืองถ่านหินของไทย

20 ธันวาคม 2567

ก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือเพื่อสร้างความยั่งยืนและความเท่าเทียมในการลดการพึ่งพาถ่านหินในประเทศไทยและภูมิภาคที่มีการดำเนินการด้านถ่านหิน บนเวทีเสวนานโยบายระดับชาติ

ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน

 

“การเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการพึ่งพาการทำเหมืองถ่านหิน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงการเสริมสร้างโอกาสใหม่ๆในการสร้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

 

“เวทีเสวนานโยบายระดับชาติว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในพื้นที่เหมืองถ่านหินของประเทศไทย” (National High-Level Policy Dialogue on the Just Energy Transition in Thailand's Coal Regions) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ณ อาคารรัฐสภาไทย จังหวัดกรุงเทพมหานคร นับเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือเพื่อสร้างความยั่งยืนและความเท่าเทียมในการลดการพึ่งพาถ่านหินในประเทศไทยและภูมิภาคที่มีการดำเนินการด้านถ่านหิน

 

ก้าวสำคัญสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมพื้นที่เหมืองถ่านหินของไทย

 

ความร่วมมือระดับโลกสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่น

เวทีเสวนานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Just Energy Transition in Coal Regions - Interregional Platform” (JET-CR Platform) ซึ่งเป็นแกนหลักของโครงการ “Innovation Regions for a Just Energy Transition” (IKI JET) โครงการความร่วมมือระหว่างเยอรมนีและสหภาพยุโรปนี้ มีดำเนินการใน 7 ประเทศ ได้แก่ ชิลี โคลอมเบีย อินโดนีเซีย มองโกเลีย แอฟริกาใต้ เวียดนาม และประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายภูมิภาคเหมืองถ่านหินเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ การเสริมสร้างการเจรจาทางด้านนโยบาย และการสร้างองค์ความรู้ร่วมกันในประเทศไทย การเสวนาครั้งนี้ได้รวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลากหลายกลุ่ม ทั้งระดับชาติและระดับภูมิภาค อาทิ หน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและพลังงาน ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ สหภาพแรงงาน นักวิชาการ และภาคประชาสังคม

 

ก้าวสำคัญสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมพื้นที่เหมืองถ่านหินของไทย

 

เป้าหมายสำคัญและหัวข้อการอภิปราย

เวทีเสวนานี้มุ่งหวังให้เป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และบทเรียนจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีหัวข้อสำคัญดังนี้:

   •       การลดการใช้ถ่านหิน: วิเคราะห์ความท้าทายและหาแนวทางแก้ไขเพื่อสร้างการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในภูมิภาคถ่านหิน

   •      เครื่องมือทางเศรษฐกิจและสังคม: สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือทางนโยบายและกลไกทางการเงินที่ช่วยเร่งการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินก่อนกำหนด

   •       การแลกเปลี่ยนความรู้: นำเสนอความคิดริเริ่ม แนวปฏิบัติที่ดี และความท้าทายในประเทศที่เข้าร่วมโครงการ IKI JET รวมถึงในประเทศไทย

   •       การเสริมสร้างเครือข่าย: ขยายความร่วมมือระหว่างองค์กรและผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานในระดับชาติ ภูมิภาค และระดับย่อย

 

ก้าวสำคัญสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมพื้นที่เหมืองถ่านหินของไทย

 

หัวข้อและรายละเอียดของเวทีเสวนา

Session 1: “Green Zones: กลยุทธ์ดึงดูดการลงทุนสำหรับภาคถ่านหินในประเทศไทย”
คุณศุภโชติ ไชยสัจ และคุณศนิวาร บัวบาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจาก The Climate Parliament ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด Green Zones ในจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญที่รวมองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่

  • การวางตำแหน่งและการเชื่อมโยงเชิงกลยุทธ์
  • การลดความเสี่ยงในการลงทุน
  • การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในกระบวนการเปลี่ยนผ่าน
  • การแชร์บทเรียนจากการใช้พลังงานหมุนเวียนและอุตสาหกรรมที่มีอยู่ภายในจังหวัด

 

Session 2: “IKI JET Thailand: กิจกรรมการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม”
คุณสุชาติ คล้ายแก้ว หัวหน้าโครงการ IKI JET Thailand จาก GIZ ประเทศไทย ได้นำเสนอภาพรวมเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะของถ่านหินในประเทศไทย พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านเทคนิคและการสร้างศักยภาพในภูมิภาคถ่านหินแม่เมาะ

 

Session 3: “Mae Moh Smart City: แม่เมาะกรีนโมเดล”
คุณเกษศิรินทร์ แปงเสน หัวหน้าโครงการ Mae Moh Smart City การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอโมเดลแม่เมาะกรีนโมเดล หรือ “แม่เมาะสมาร์ทซิตี้” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมหลังการปิดเหมืองถ่านหิน โดยแสดงให้เห็นถึงแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการเปลี่ยนผ่านชุมชนจากการพึ่งพาถ่านหินสู่เศรษฐกิจสีเขียว

 

Session 4: การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเปิด (Round Table Discussion)
เวทีเสวนาช่วงนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเสนอแนะในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

 

ก้าวสำคัญสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมพื้นที่เหมืองถ่านหินของไทย

 

ประเทศไทยกับบทบาทในเวทีการเปลี่ยนผ่านพลังงานระดับโลก

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ JET-CR Platform ประเทศไทยได้แสดงบทบาทสำคัญในการสร้างความร่วมมือระดับโลกเพื่อจัดการกับความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน งานเสวนาครั้งนี้จะเป็นการเน้นย้ำถึงความสำเร็จและความท้าทายของประเทศไทย ในการสร้างเส้นทางสู่การลดการพึ่งพาถ่านหินอย่างเท่าเทียม พร้อมทั้งเสนอแนวทางใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม

 

เกี่ยวกับโครงการ IKI JET

โครงการ Innovation Regions for a Just Energy Transition (IKI JET) สะท้อนถึงความสำคัญของการสร้างทางออกที่เป็นธรรมและร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตพลังงานโลก ผ่านโครงการ JET-CR Platform นี้ โครงการได้มอบการสนับสนุนที่สำคัญแก่ภูมิภาคที่พึ่งพาถ่านหิน เพื่อให้มั่นใจว่าทุกภาคส่วนจะไม่ถูกละทิ้งในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานที่สะอาด

 

สรุปสาระสำคัญ

“การเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการพึ่งพาการทำเหมืองถ่านหิน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงการเสริมสร้างโอกาสใหม่ๆในการสร้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

 

การประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันวางแนวทางในการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ด้านพลังงาน แต่ยังเป็นการสร้างสังคมที่ยั่งยืนและมีความเป็นธรรมในทุกด้าน” ส.ส. ชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปรับลดและปลดระวางถ่านหินเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในประเทศไทย

 

 

ดร.ณัทกฤช อภิภูชยะกุล

อนุกรรมาธิการศึกษาปรับลดและปลดระวางถ่านหินเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในประเทศไทย