posttoday

“รอยัล ภูเก็ต มารีน่า” ท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรก ยกระดับ ‘Green Luxury’

08 มกราคม 2568

“รอยัล ภูเก็ต มารีน่า” กับบทบาทการเป็นผู้บุกเบิกในฐานะท่าจอดเรือแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชียที่ได้รับการรับรองปลอดคาร์บอน บนนิยาม ’ความหรูหราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ ที่มากกว่าแค่การเป็นไลฟ์สไตล์เดสติเนชั่น

รอยัล ภูเก็ต มารีน่า (RPM) ได้รับการรับรองเป็นท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนเป็นปีที่สองติดต่อกันจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกหรือ (TGO) ตอกย้ำพันธกิจด้านความยั่งยืนและบทบาทการเป็นผู้บุกเบิกในฐานะท่าจอดเรือแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชียที่ได้รับการรับรองปลอดคาร์บอน มากกว่าการเป็นไลฟ์สไตล์เดสติเนชั่น รอยัล ภูเก็ต มารีน่า กำลังนิยามความหมายใหม่ของ ‘Green Luxury’ หรือ ’ความหรูหราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ เมื่อประสบการณ์ระดับพรีเมียมมาบรรจบกับการใช้ชีวิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัว

 

ภาพ รอยัล ภูเก็ต มารีน่า (RPM)

 

นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ใช้พลังงานหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์มากมาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมพร้อมมอบความหรูหราในระดับเวิลด์คลาส ปัจจุบันแผงโซลาร์เซลล์สามารถจ่ายพลังงานให้กับท่าจอดเรือได้ถึง 38% ของความต้องการพลังงานรายวัน ทำให้เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ อีกทั้งยังใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ Seabin V5 ซึ่งสามารถดักจับเศษซากลอยน้ำและไมโครพลาสติกจากแอ่งน้ำของท่าจอดเรือได้มากถึง 48 กิโลกรัมต่อวัน ด้วยความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ท่าจอดเรือของ รอยัล ภูเก็ต มารีน่า จึงยกระดับด้วยการใช้ระบบกักเก็บน้ำฝนเพื่อทำความสะอาดเรือ ซึ่งช่วยลดการใช้น้ำประปาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ Seabin V5 ซึ่งสามารถดักจับเศษซากลอยน้ำและไมโครพลาสติกจากแอ่งน้ำของท่าจอดเรือได้มากถึง 48 กิโลกรัมต่อวัน

 

นอกจากนี้ ที่ชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV) แบบใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ผู้มาเยือนสามารถชาร์จยานพาหนะของตนโดยใช้พลังงานหมุนเวียนได้ 100%

 

“รอยัล ภูเก็ต มารีน่า” ท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรก ยกระดับ ‘Green Luxury’

 

แนวคิด Green Luxury

 

นายกูลู ลัลวานี ประธานของรอยัล ภูเก็ต มารีน่า กล่าวว่า “เราไม่ได้เป็นเพียงจุดหมายปลายทางชั้นนำสำหรับผู้ที่หลงใหลในกิจกรรมทางทะเลเท่านั้น แต่เรากำลังสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับความหรูหราที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมการเดินเรืออีกด้วย โครงการด้านสิ่งแวดล้อมของเราไม่เพียงแต่ช่วยอนุรักษ์โลก แต่ยังเพิ่มพูนประสบการณ์ของแขกผู้มาเยือน สร้างความทรงจำอันยั่งยืนท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่พิเศษ”

 

นอกจากนี้ นายกูลู ลัลวานี ยังเสริมเพิ่มเติมว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 เขาประสบความสำเร็จในการผลักดันให้นายกรัฐมนตรีไทยลดภาษีนำเข้าเรือยอช์ตจากกว่า 200% เหลือศูนย์ การลดภาษีครั้งนี้ช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมการเดินเรืออย่างโดดเด่นด้วยการเพิ่มการนำเข้าและธุรกิจบริการเรือยอชต์ จากนั้นนายกูลู ลัลวานี ได้ริเริ่มการก่อสร้างรอยัล ภูเก็ต มารีน่า ส่งเสริมให้ภูเก็ตกลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านเรือยอชต์ที่เฟื่องฟู และทำให้ภูเก็ตกลายเป็นสวรรค์แห่งการแล่นเรือของเอเชียและดึงดูดเรือยอชต์จากทั่วโลก

 

ท่าจอดเรือแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระดับประเทศในการส่งเสริมโครงการ Zero-Waste และมีส่วนร่วมในการศึกษาสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เช่น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง นอกจากนี้ ยังมีการจัดสัมมนาเชิงวิชาการและวันทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้แขกและคนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสร้างโลกที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

 

เหนือกว่าการเป็นท่าจอดเรือ คือความมุ่งมั่นสู่อนาคตที่ยั่งยืน

รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ รวมถึงการรับรอง 5 Gold Anchor จาก Yacht Harbour Association และรางวัล International Clean Marina จาก Marina Industries Association ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องยืนยันถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องในด้านการให้บริการระดับหรูหราควบคู่ไปกับการรักษาแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไว้ได้ ตอกย้ำความสำเร็จในฐานะท่าจอดเรือแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลเหล่านี้

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของ รอยัล ภูเก็ต มารีน่า เยี่ยมชมได้ที่: https://www.royalphuketmarina.com/sustainability-at-royal-phuket-marina.