ส่องชัดๆ “รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ผ่านที่ไหน สถานีอะไรบ้าง?

12 กุมภาพันธ์ 2568

รถไฟเชื่อมสามสนามบินเป็นรถไฟความเร็วสูงที่ตั้งเป้าเปิดให้บริการในปีพ.ศ. 2572 เชื่อมต่อ 3 สนามบินคือท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ผ่าน 9 สถานี ใน 5 จังหวัด มีที่ไหนบ้างไปดูกันชัดๆ

ส่อง 9 สถานีใน 3 สนามบินมีที่ไหนบ้าง

"รถไฟฟ้าความเร็วสูง" หรือ "ไฮสปีดเทรน" (ที่จะเริ่มต้นการก่อสร้างในเดือนเมษายน 2568 นี้) จะวิ่งเชื่อม 3 สนามบิน ผ่านสถานีหลักๆ บนเส้นทางรวมทั้งหมด 9 สถานีรถไฟความเร็วสูงใน 5 จังหวัด เริ่มต้นจากสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ สิ้นสุดที่สนามบินอู่ตะเภา รวมระยะทาง 220 กิโลเมตร และหากวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะใช้ระยะเวลาเดินทางทั้งหมดราว 60 นาที 

 

ส่องชัดๆ “รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ผ่านที่ไหน สถานีอะไรบ้าง?

ผ่าน5จังหวัด กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง

 

ส่องชัดๆ “รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ผ่านที่ไหน สถานีอะไรบ้าง?
เป็นเส้นทางรถไฟทางคู่ (เชื่อม 3 ท่าเรือ) และรถไฟฟ้าความเร็วสูง เริ่มต้นจาก 1. สถานีดอนเมืองเป็นสถานีแรกต่อด้วย 2. สถานีบางซื่อ และ 3. สถานีมักกะสัน จุดเชื่อมต่อสำคัญกับเส้นทางรถไฟฟ้าในเมือง (พญาไท และราชปรารภ และช่วงรามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้างและลาดกระบัง)

 

"มักกะสัน" ถูกวางบทบาทเป็น Main Station ระดับ EEC Gate Way และได้รับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง (TOD) ที่การรถไฟฯกำหนดไว้ 6 พื้นที่ ได้แก่ มักกะสัน (140 ไร่) บางซื่อ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา และพัทยา) เพื่อสนับสนุนการบริการรถไฟ (อ่านรายละเอียด คลิก)

 

ก่อนข้ามกรุงเทพฯ เลี้ยวขวาเข้าสู่ 4. สถานีสุวรรณภูมิ (สมุทรปราการ) เป็นอันผ่านไปแล้วสองสนามบิน ก่อนข้ามไปยัง 5. สถานีฉะเชิงเทรา ผ่านแม่น้ำบางปะกงต่อเนื่องไปจนถึง 6. สถานีชลบุรี ต่อด้วย 7. สถานีศรีราชา ซึ่งเป็นจุดที่สามารถเดินทางไปยังท่าเรือแหลมฉบังได้จากสถานีนี้

 

ก่อนเดินทางต่อไปยัง 8. สถานีพัทยา จากนั้นรถไฟจะลอดอุโมงค์ช่วงเขาชีจรรย์ ก่อนจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ปลายทางสุดท้ายสถานีที่ 9. สถานีอู่ตะเภา ซึ่งเป็นจุดที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางไปยังท่าเรือสัตหีบและสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (ตั้งเป้าเปิดให้บริการในปี 2571) และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (ระยะ 3 เปิดให้บริการปี 2569) เป็นอันครบจบ 3 สนามบินในระยะเวลา 60 นาที

 

ส่องชัดๆ “รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ผ่านที่ไหน สถานีอะไรบ้าง? ส่องชัดๆ “รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ผ่านที่ไหน สถานีอะไรบ้าง?

 

สรุป

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง
ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่

รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ กับพื้นที่ อีอีซี (รวม 9 สถานี) ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที

แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด (ตามภาพ) โดยใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิมและมีการออกแบบใหม่เฉพาะบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า)

 

แนวเส้นทางโครงการประกอบด้วย 3 โครงการ 

  • โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่ง ผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Link and City Air Terminal: ARL)
  • โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท (ARL Extension)
  • โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง

 

โครงสร้างทางวิ่งของโครงการ

ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบัน (ARL) ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร

โดยเบื้องต้นจำแนกลักษณะรูปแบบโครงสร้างทางวิ่งทั้งโครงการเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1 ทางวิ่งยกระดับระยะทางประมาณ 181 กิโลเมตร
2 ทางวิ่งระดับดินระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
3 ทางวิ่งใต้ดินระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก EEC และ การรถไฟแห่งประเทศไทย

Thailand Web Stat