สรุปชัดๆ แผนพัฒนา EEC /สนามบินอู่ตะเภา โอกาส/อุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

สรุปชัดๆ แผนพัฒนา EEC /สนามบินอู่ตะเภา โอกาส/อุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

27 กุมภาพันธ์ 2568

สรุปชัดๆ อุปสรรค ความเป็นมา สถานการณ์ที่ท้าทายต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ยุทธศาสตร์สำคัญของไทย มีแนวทางใดที่จะแก้ไขได้หากไทยจะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในอาเซียน!

KEY

POINTS

  • เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นหนึ่งในโคร

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นหนึ่งในโครงการยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศไทยที่มุ่งหวังจะยกระดับประเทศให้พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก อย่างไรก็ตาม แม้โครงการนี้จะมีศักยภาพสูง แต่ก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายประการที่อาจส่งผลต่อความสำเร็จในระยะยาว

 

ชัดๆ อีกครั้งกับศักยภาพและเป้าหมายของ EEC

EEC เป็นโครงการที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศและเสริมสร้างขีดความสามารถของเศรษฐกิจไทย เร่งดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ หรือ S Curve ที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น เทคโนโลยีขั้นสูง การบิน และโลจิสติกส์ โครงการสำคัญภายใน EEC ประกอบด้วย 4 โครงสร้างพื้นฐานหลัก ได้แก่ ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (ระยะที่ 3), ท่าเรือแหลมฉบัง (ระยะที่ 3)

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งโครงการทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับภูมิภาค

 

สรุปชัดๆ แผนพัฒนา EEC /สนามบินอู่ตะเภา โอกาส/อุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

 

โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ลงนามเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 (มูลค่าการลงทุนไม่น้อยกว่า 204,240 ล้านบาท โดยวางแผนให้เปิดดําเนินการในปี 2568)

 

ย้อนรอย-ไทม์ไลน์ โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

- สกพอ. (หรือ EEC) และ UTA ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563

- ในระยะเวลา 4 ปีกว่าที่ผ่านมา UTA ลงทุนเพื่อเตรียมการดําเนินโครงการไปแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท

- ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการเริ่มต้นพัฒนาโครงการฯ (จากสถานการณ์โควิด-19)

 - UTA มีความตั้งใจอย่างเต็มที่และมีความพร้อมที่จะลงทุนเพื่อการดําเนินโครงการฯ ให้ประสบ ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

- ปัญหาและอุปสรรคที่สําคัญจําเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้โครงการฯ เริ่มพัฒนาได้ภายในกําหนด 5 ปี (กำลังจะสิ้นสุดในวันที่ 19 มิถุนายน 2568) นับแต่วันที่ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและ UTA

 

สรุปชัดๆ แผนพัฒนา EEC /สนามบินอู่ตะเภา โอกาส/อุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

 

ความสําคัญ และประโยชน์ของโครงการฯ ต่อการพัฒนาประเทศ

 

โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ หากดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามมติคณะรัฐมนตรีในการเป็นสนามบินระดับโลก และศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่เมืองการบินภาคตะวันออกให้ประสบความสําเร็จ ภายใต้สิทธิประโยชน์ที่เพียงพอและเหมาะสมจะเพิ่มความพร้อมและศักยภาพในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศไทยดังนี้

  1. สามารถสร้าง GDP ให้แก่ประเทศไทยกว่า 262,000 ล้านบาทต่อปี
  2. เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคการผลิตที่มีรายได้ต่อแรงงาน/บุคลากรจํากัดไปยังภาคการผลิตและการบริการที่สร้างรายได้ต่อแรงงาน/บุคลากรสูง รวมมากกว่า 30,000 ตําแหน่ง
  3. เพิ่มรายได้ของภาครัฐได้มากกว่า 179,000 ล้านบาทต่อปี
  4. เป็นส่วนสําคัญในการช่วยให้การพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกประสบความสําเร็จ ซึ่งจะช่วยเพิ่ม GDP ที่แท้จริงของประเทศไทยกว่า 3,780,000 ล้านบาทต่อปี
  5. ส่งผลทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปยังภาคส่วนต่าง ๆ ทั่วประเทศอย่างมหาศาล

 

อย่างไรก็ตาม โครงการยังไม่ได้เริ่มดำเนินการจริง เนื่องจากอุปสรรคด้านนโยบายและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อแผนพัฒนา

 

โดยปัญหาและอุปสรรคในการเริ่มต้นพัฒนาโครงการฯ ที่สำคัญคือ

1. ความไม่แน่นอนของโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (โครงการ HSR)

- โครงการ HSR อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา รวมถึงการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน จึงยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการเริ่มต้นพัฒนาโครงการ HSR ซึ่งทําให้ไม่สามารถจัดทําแผนประสานงานร่วม ระหว่างโครงการ HSR และโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกได้ ส่งผลให้เงื่อนไขการเริ่มต้นพัฒนาก่อสร้างโครงการฯ ยังไม่สําเร็จ และไม่สามารถเริ่มต้นพัฒนาโครงการฯ ได้

 - หากโครงการ HSR ล่าช้า หรือไม่มีการพัฒนาจะส่งผลต่อความสะดวกในการเดินทางของ ผู้ใช้บริการสนามบินและเมืองการบิน และไม่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 3 สนามบิน และการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ และโครงการฯ ได้ภายในระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงการฯ ให้เป็นสนามบินแหล่งที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร และเป็น ศูนย์กลางการบิน

 

2. ปัญหาด้านสิทธิประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

การให้สิทธิพิเศษด้านภาษีและการลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ตาม สิทธิประโยชน์บางประการที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุนของสนามบินอู่ตะเภายังไม่ได้รับการอนุมัติจากภาครัฐ หรือมีผลบังคับใช้ ทำให้เกิดความไม่แน่นอนและลดความน่าสนใจของโครงการ กล่าวคือ

 

- สัญญาร่วมลงทุน เอกสารการประมูล และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการนโยบายอีอีซี (กพอ.) ได้กําหนดสิทธิประโยชน์ที่สําคัญทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีสําหรับการประกอบ กิจการ การทํางาน การอุปโภคบริโภค ให้แก่โครงการฯ ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาให้โครงการฯ รวมถึงเมืองการบินภาคตะวันออกและเขตประกอบการค้าเสรี(Free Trade Zone) สามารถเป็นศูนย์กลางของประเทศในด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจ การบิน และโลจิสติกส์ ที่สามารถแข่งขันกับเมืองอื่นในภูมิภาคเอเชีย เช่น Hainan Singapore และ Hong Kong

 

- จนถึงปัจจุบัน การออกกฎหมายกําหนดสิทธิประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมและมีผลใช้บังคับ ยังไม่แล้วเสร็จ จึงทําให้โครงการฯ ยังสามารถกําหนดรูปแบบของโครงการฯ โดยเฉพาะเมืองการบินภาค ตะวันออก และไม่สามารถประเมินถึงความเป็นไปได้ในทางธุรกิจได้

 

3. ผลกระทบจากโควิด-19 และแผนขยายสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้จำนวนผู้โดยสารทางอากาศลดลงอย่างมาก ส่งผลให้การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารของสนามบินอู่ตะเภาต้องถูกปรับลดลง นอกจากนี้ การที่รัฐบาลไทยมีแผนขยายสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ อาจทำให้สายการบินเลือกใช้สนามบินเหล่านั้นแทนการย้ายไปที่อู่ตะเภา

 

ผลกระทบข้างต้นที่กระทบต่อปริมาณผู้โดยสารและเที่ยวบิน จะทําให้การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานเสริม เช่น ศูนย์โลจิสติกส์ศูนย์การท่องเที่ยวคุณภาพสูง และศูนย์ธุรกิจ MICE (Meetings, Incentives, Conferences, Exhibitions) มีข้อจํากัด

 

สรุปชัดๆ แผนพัฒนา EEC /สนามบินอู่ตะเภา โอกาส/อุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

 

ทั้งนี้ UTA ได้เสนอแนวทางการดำเนินการเพื่ออแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเพื่อให้โครงการฯ เริ่มพัฒนาได้คือ

UTA ยินดีเริ่มต้นพัฒนาก่อสร้างโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก แม้ในขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนของโครงการ HSR โดยขอให้ภาครัฐร่วมแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยพิจารณาอนุมัติ สิทธิประโยชน์ให้แก่โครงการฯ ตามสัญญาร่วมลงทุน และสนับสนุนให้โครงการฯ เริ่มต้นได้ โดยการลด ความเสี่ยงและภาระในการลงทุน

 

และมีมาตรการที่จูงใจผู้ลงทุน และผู้มาใช้บริการในโครงการฯ ซึ่งรวมถึงการทบทวนขนาดการลงทุนให้สอดคล้องกับประมาณการความต้องการใช้สนามบินในปัจจุบัน โดยยังคงความพร้อมให้ขยายสนามบินได้เต็มศักยภาพตามวัตถุประสงค์โครงการที่ขีดความสามารถในการรองรับ ผู้โดยสารได้60 ล้านคน/ปี

 

และจัดให้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้าง High-value Tourist Destination ระดับสากล แข่งขันได้ในระดับภูมิภาค ที่จะสร้างความน่าสนใจและอุปสงค์ของเมืองการบินภาคตะวันออก

 

พร้อมกับมีมาตรการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดจนภาค ธุรกิจมาใช้บริการสนามบินและเมืองการบิน ซึ่งจะเป็นตัวเหนี่ยวนําให้เกิดความต้องการใช้บริการครงการฯ โดยลดทอนการพึ่งพิงการส่งผ่านผู้ใช้บริการจากโครงการ HSR ที่ยังไม่มีความชัดเจนได้

 

การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคโดยสรุปคือ

 

  1. เร่งรัดการดำเนินโครงการ HSR – หากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสามารถดำเนินไปตามแผน สนามบินอู่ตะเภาจะสามารถเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ ได้สะดวกขึ้น เพิ่มโอกาสดึงดูดสายการบินและผู้โดยสาร
  2. ให้ความชัดเจนด้านสิทธิประโยชน์ทางเศรษฐกิจ – รัฐบาลควรอนุมัติสิทธิพิเศษด้านภาษีและการลงทุนตามข้อตกลง เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้กับนักลงทุน
  3. ส่งเสริมให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางของ High-Value Tourism – สนามบินควรได้รับการพัฒนาให้เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวระดับสูง เช่น นักธุรกิจและกลุ่ม MICE (Meetings, Incentives, Conferences, Exhibitions) เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคง
  4. นำแนวทางจากกรณีศึกษา Hainan Free Trade Port มาใช้ – เขตเศรษฐกิจพิเศษไห่หนานของจีนเป็นตัวอย่างที่ดีของการให้สิทธิพิเศษทางภาษีและการลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากไทยสามารถออกมาตรการที่คล้ายกันได้ สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกอาจสามารถดึงดูดธุรกิจและนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น

 

แม้ว่าโครงการสนามบินอู่ตะเภาและ EEC จะมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย แต่ความล่าช้าของโครงการ HSR, ปัญหาด้านสิทธิประโยชน์ และผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินการ หากภาครัฐสามารถเร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ โครงการนี้จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาคในอนาคต

 

สรุปชัดๆ แผนพัฒนา EEC /สนามบินอู่ตะเภา โอกาส/อุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

 

หมายเหตุ:

ตัวอย่างกรณีศึกษา: การสนับสนุนสิทธิประโยชน์สําหรับ Hainan Free Trade Port

1. ท่าเรือการค้าเสรีไห่หนาน (Hainan Free Trade Port) โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนมุ่งเน้นการผลักดัน ให้เกาะไห่หนานเป็นพื้นที่นําร่อง และพื้นที่ทดลองสําหรับนโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการลงทุน ไม่เพียงแต่สนับสนุนด้านโลจิสติกส์และการผลิตเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมการพัฒนาศูนย์การท่องเที่ยวและธุรกิจแห่งใหม่ที่สามารถดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวและนักลงทุน ส่งผลให้เกิดกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศแทนการใช้จ่ายในต่างประเทศของประชาชนจีน

2. ปัจจัยความสําเร็จของท่าเรือการค้าเสรีไห่หนานมาจากสิทธิประโยชน์ที่โดดเด่นและการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การให้สิทธิประโยชน์กับนักท่องเที่ยวในประเทศที่เดินทางออกจากเกาะไห่หนานสามารถซื้อสินค้าปลอดภาษีที่ร้านค้า Offshore ได้สูงสุด 100,000 หยวน (หรือประมาณ 500,000 บาท) ต่อคนต่อปี ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นสําคัญในการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ

3. การสนับสนุนจากภาครัฐของท่าเรือการค้าเสรีไห่หนานก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดในด้านต่าง ๆอาทิ

 - ไห่หนานมี GDP มูลค่า 755.1 พันล้านหยวน โดยมีอัตราเติบโตต่อปีที่ 9.2% ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 2 ของเมืองต่าง ๆ ในประเทศจีน

 - ยอดขายสินค้าปลอดภาษีขาออกของเกาะไห่หนานมีมูลค่าถึง 43.76 พันล้านหยวน

- มีนักท่องเที่ยวจํานวน 90 ล้านคน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้ถึง 180 พันล้านหยวน

- อุตสาหกรรมภาคบริการในไห่หนานมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 10.3%

 

ข้อมูลจาก: UTA

Thailand Web Stat