"Internet Society กับอนาคตอินเทอร์เน็ตไทย: ก้าวสู่ยุคดิจิทัล"

03 เมษายน 2568

ประเทศไทยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงเป็นอันดับต้น ๆ ในภูมิภาค Internet Society มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงข่ายและส่งเสริมความปลอดภัยบนโลกออนไลน์

การพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย: บทบาทของ Internet Society และความก้าวหน้าทางดิจิทัล

สถานการณ์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่สูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่มีประชากรถึง 85% สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ ความสำเร็จนี้เป็นผลมาจากการสนับสนุนของภาครัฐในการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะผ่านโครงการเชื่อมต่อชุมชนที่ประหยัดต้นทุนอย่าง TakNet

ด้วยการแข่งขันในตลาดที่แข็งแกร่ง ประกอบกับการใช้โครงสร้างพื้นฐานและนโยบายที่เน้นการรักษาทราฟฟิกภายในประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถขยายและเพิ่มประสิทธิภาพบริการบรอดแบนด์ได้อย่างโดดเด่น โดยครองอันดับที่ 39 สำหรับอินเทอร์เน็ตมือถือ และอันดับที่ 12 สำหรับอินเทอร์เน็ตบ้านเมื่อเทียบกับทั่วโลก กลไกการแข่งขันและการประหยัดต้นทุนเหล่านี้ช่วยลดค่าบริการอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยลงกว่าครึ่งนับตั้งแต่ปี 2565
 

\"Internet Society กับอนาคตอินเทอร์เน็ตไทย: ก้าวสู่ยุคดิจิทัล\"

บทบาทของ Internet Society (ISOC)

Internet Society เป็นองค์กรที่มีเป้าหมายหลักสองประการสำหรับปี 2030 คือ:
1. ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มีราคาย่อมเยา เชื่อถือได้ และมีความยืดหยุ่น
2. ทำให้ประชาชนทุกคนได้รับประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย มั่นคง และได้รับการปกป้องในโลกออนไลน์

องค์กรนี้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาจุดแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ต (Internet Exchange Points: IXP) ทั่วโลก ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆ สามารถเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตระหว่างกันโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเครือข่ายของบุคคลที่สาม

ในประเทศไทย Internet Society ได้สนับสนุนการพัฒนา BKNIX ซึ่งเป็นจุดแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตที่เป็นกลางแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม 2557 ด้วยการสนับสนุนด้านเทคนิคและอุปกรณ์จากองค์กร Internet Society จุดแลกเปลี่ยนนี้ได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากเริ่มต้นที่มีสมาชิกเพียง 8 ราย จนปัจจุบันมีสมาชิกถึง 64 ราย โดยมีปริมาณการแลกเปลี่ยนทราฟฟิกสูงสุดมากกว่า 250 กิกะบิตต่อวินาที

นอกจากนี้ Internet Society ยังได้สนับสนุน BKNIX ในการจัดตั้งจุดเชื่อมต่อแห่งที่สองในกรุงเทพฯ ณ ศูนย์ข้อมูลใกล้ย่านธุรกิจกลางกรุงเทพฯ ในปี 2559 และในปี 2563 ได้จัดตั้งจุดแลกเปลี่ยนแห่งใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่
\"Internet Society กับอนาคตอินเทอร์เน็ตไทย: ก้าวสู่ยุคดิจิทัล\"

บทบาทของศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย

แซลลี่ เวนท์เวิร์ธ (Sally Wentworth) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Internet Society และ Internet Society Foundation เผยว่าประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในด้านตลาดศูนย์ข้อมูล (Data Center) โดยปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูล 37 แห่ง และจุดแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ต (IXP) ที่ใช้งานอยู่ 12 แห่ง การมีจุดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่กระจายอยู่หลายแห่งนี้ ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถให้บริการเว็บไซต์ยอดนิยม 1,000 อันดับแรกแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ถึง 84%

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อให้กับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย การให้บริการเนื้อหาภายในประเทศช่วยลดต้นทุนการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ และลดความหน่วงของสัญญาณอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการเว็บไซต์และสตรีมมิ่งที่ชื่นชอบได้เร็วขึ้น และมีปัญหาการใช้งานน้อยลง

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของไทยยังได้รับคำชื่นชมในวิสัยทัศน์การนำ IPv6 มาใช้งาน เพื่อรองรับการเติบโตของโครงข่ายในอนาคต โดยเกือบ 50% ของโครงข่ายได้นำโปรโตคอลใหม่นี้มาใช้แล้ว ซึ่งช่วยให้สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ใหม่ๆ ได้หลายพันล้านเครื่อง ความสำเร็จนี้ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 30 ของโลกในด้านการใช้งาน IPv6

แซลลี่ เวนท์เวิร์ธ (Sally Wentworth) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Internet Society และ Internet Society Foundation แซลลี่ เวนท์เวิร์ธ (Sally Wentworth) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Internet Society และ Internet Society Foundation

การพัฒนาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสู่ชุมชน

แม้ว่าประเทศไทยจะมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในระดับสูง แต่ยังคงมีประชากรในพื้นที่ห่างไกลและชนบท (โดยเฉพาะในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ) ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงประโยชน์จากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต อันเนื่องมาจากปัญหาด้านความพร้อมใช้งาน ค่าใช้จ่าย และการยอมรับเทคโนโลยี

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ Internet Society ได้ส่งเสริมและพัฒนาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดย:
- สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อผู้ที่ต้องการมากที่สุด
- สนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านเทคนิคในท้องถิ่น
- ส่งเสริมนโยบายที่เอื้อประโยชน์ด้านการออกใบอนุญาต คลื่นความถี่ และการสนับสนุนเงินทุนสาธารณะสำหรับเครือข่ายชุมชน
- ร่วมมือกับพันธมิตรในการระบุและใช้ประโยชน์จากโอกาสด้านเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น

TakNet เป็นตัวอย่างที่ดีของโครงการเครือข่ายชุมชนที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย โดยได้สร้างผลกระทบเชิงบวกและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดตาก ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบัน TakNet ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ให้กับบ้านเรือนเกือบ 600 หลังใน 30 ชุมชน เปิดโอกาสให้ประชาชนกว่า 2,000 คนสามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้

\"Internet Society กับอนาคตอินเทอร์เน็ตไทย: ก้าวสู่ยุคดิจิทัล\"

แผนการดำเนินงานในปี 2025 ของ Internet Society

Internet Society ได้วางแผนการดำเนินงานในปี 2025 ไว้ดังนี้

1. การพัฒนาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสู่ชุมชน: มุ่งสนับสนุนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลางสำหรับประชากรชายขอบและกลุ่มที่ขาดโอกาส
2. การมอบอินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ในราคาที่เข้าถึงได้: มุ่งทำให้การเข้าถึงมีราคาที่เอื้อมถึงได้และมีความยืดหยุ่น
3. ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือออนไลน์: มุ่งเสริมสร้างความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองและชุมชน
4. อินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้างและน่าเชื่อถือ: ผลักดันนโยบายและแนวปฏิบัติที่ปกป้องอินเทอร์เน็ตให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง
5. ข้อมูลเชิงลึกและนวัตกรรมอินเทอร์เน็ต: มุ่งเน้นการให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและนำไปประยุกต์ใช้งานได้
6. การระดมชุมชนและพันธมิตร: มุ่งเสริมพลังและรวมพลังชุมชนและพันธมิตรทั่วโลก
7. การเปลี่ยนแปลงระดับองค์กร: มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรและเสริมสร้างความแข็งแกร่ง

ความท้าทายและอนาคต

แม้จะมีความก้าวหน้าอย่างมาก แต่ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การพัฒนา AI ในอนาคตจำเป็นต้องคำนึงถึงการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะประชากรที่ยังไม่มีการเชื่อมต่อ เพราะพวกเขาอาจมีความคิดสร้างสรรค์และวิธีแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

นอกจากนี้ ผู้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ไม่เพียงพอยังมีความเสี่ยงสูงที่จะตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามทางไซเบอร์และออนไลน์ได้ง่าย เช่น การถูกหลอกลวง และการหลอกล่วงข้อมูลส่วนตัว (phishing)
\"Internet Society กับอนาคตอินเทอร์เน็ตไทย: ก้าวสู่ยุคดิจิทัล\"

Thailand Web Stat