รู้จักนวัตกรรมเลนส์เสริม ICL แก้ปัญหาสายตา ถอดออกได้-ไม่ทำให้กระจกตาบาง

30 มิถุนายน 2567

สายตาสั้น หรือ เอียง แล้วไม่สามารถทำเลสิกได้เพราะความหนาของกระจกไม่เพียงพอ หรืออยากได้เทคโนโลยีที่ 'เปลี่ยนใจ' ได้ทีหลัง หรืออาจจะอยากได้เทคโนโลยีที่ไม่ทำให้กระจกตาบางลง ทุกวันนี้โลกมีนวัตกรรมเลนส์เสริม ICL ที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ รวมถึงในไทยเช่นกัน!

เคทีซีร่วมกับศูนย์จักษุและศูนย์เลสิก โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดเสวนาปันความรู้ในหัวข้อ “เช็คความเสื่อม รู้ก่อนเสี่ยง ไขข้อข้องใจแบบเจาะลึกเกี่ยวกับสุขภาพตา” รู้เท่าทันอันตรายของปัญหาสายตา โดยภายในงานได้มีการให้ความรู้ ไขข้อข้องใจกับเทคโนโลยีตัวใหม่ล่าสุดสำหรับแก้ปัญหาสายตาอย่าง เลนส์เสริม ICL 

 

รู้จักนวัตกรรมเลนส์เสริม ICL แก้ปัญหาสายตา ถอดออกได้-ไม่ทำให้กระจกตาบาง

 

  • เลนส์เสริม ICL คืออะไร และข้อดีเป็นอย่างไร

สำหรับเลนส์เสริม ICL เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับผู้มีค่าสายตาสั้น เอียง ที่สามารถแก้ไขสายตาสั้นได้ถึง 1,800 สายตาเอียงได้ถึง 600 โดยนวัตกรรมตัวนี้เป็นการใส่เลนส์เสริมเข้าไปยังดวงตาโดยผ่าตัดแค่เพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และใช้เวลาเพียง 15-20 นาที!

เลนส์เสริม ICL เหมาะกับคนที่ไม่สามารถทำเลสิกได้ เพราะตามปกติการทำเลสิกต้องมีความหนาของกระจกตาเป็นเกณฑ์การตัดสินใจว่าจะทำได้หรือไม่ ซึ่งการทำเลนส์เสริม ICL จะไม่ทำให้กระจกตาบางลงจึงเหมาะกับคนที่กระจกตาบางเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หรือแม้แต่กระจกตาหนาก็สามารถเลือกใช้นวัตกรรมตัวนี้ได้เช่นกัน

เลนส์เสริม ICL สามารถถอดออกได้! หมายความว่าหากมีเทคโนโลยีที่ดีกว่าเดิมในอนาคตก็จะสามารถถอดเลนส์เดิมออกไป กระจกตาก็ยังมีความหนาเท่าเดิม รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาแก้ปัญหาสายตาได้อีกในอนาคต

นอกจากนี้การผ่าตัดแบบใส่เลนส์เสริม ICL ยังมีแผลขนาดเล็ก จึงรักษาหายได้เร็ว สามารถออกไปใช้ชีวิต หรือทำงานได้ในวันรุ่งขึ้น! และแตกต่างจากการทำเลสิกตรงที่ ผู้ที่ทำเลสิกบางคนอาจพบว่าตาแห้งเป็นประจำ เนื่องจากในการทำเลสิกจะมีการทำลายเส้นประสาทตาบางส่วนในระดับที่ไม่อันตราย แต่ก็อาจจะมีประสาทตาที่สร้างน้ำตาราว 5% ไม่สามารถงอกกลับมาไม่เท่าเดิม จึงอาจพบปัญหาตาแห้งบ้าง แต่สำหรับการใส่เลนส์เสริม ICL จะไม่พบกับอาการตาแห้ง

นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ที่ชอบทำกิจกรรม ไม่อยากมีภาระกับการขนแว่นสายตา ทำกิจกรรมก็ต้องถอดแว่นออกและมองไม่เห็น ผู้ที่ขับรถตอนกลางคืน หรือผู้ที่อยากเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากขึ้นโดยไม่ต้องสวมแว่นตา

ข้อจำกัดของเลนส์เสริม ICL คือไม่สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีสายตายาวในปัจจุบัน ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย สำหรับผู้มีสายตายาวหากต้องการไม่ใส่แว่นตา ในปัจจุบันจะเป็นการทำเลสิก ซึ่งการเลสิกก็มีการพัฒนารูปแบบเป็นการทำ ReLEx smile ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็ก แผลแห้งเร็ว ความแข็งแรงของกระจกไม่ได้ลดลงเท่ากับการทำเลสิกแบบแผลใหญ่เช่นเมื่อก่อน

 

รู้จักนวัตกรรมเลนส์เสริม ICL แก้ปัญหาสายตา ถอดออกได้-ไม่ทำให้กระจกตาบาง

 

  • เพราะปัญหาสายตา กระทบกับคุณภาพในการใช้ชีวิต

พญ.ธารินี เสงี่ยมพรพาณิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์จักษุและศูนย์เลสิก โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า “จากสถิติผู้ป่วยมาขอรับคำปรึกษาและเข้ารับการรักษาปัญหาทางสายตาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ มีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2567 มีผู้เข้ารับการบริการประมาณ 200 คนต่อวัน และปีนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 10% โรงพยาบาลกรุงเทพจึงได้ปรับโฉมศูนย์จักษุและศูนย์เลสิกขึ้นใหม่ เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยเฉพาะทางตาที่มากขึ้น โดยให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะความผิดปกติทางตาสำหรับผู้ป่วยทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นโรคตาทั่วไปหรือโรคทางตาที่ซับซ้อน ทางศูนย์ฯ พร้อมแก้ไขทุกปัญหา รวมทั้งปัญหาด้านสายตา ทั้งสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด สายตาเอียงและสายตายาวตามอายุ โดยทีมจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางครบทุกสาขาที่มีประสบการณ์สูง ร่วมกับการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และเครื่องมือทันสมัยในการตรวจวินิจฉัยและการผ่าตัดแก้ไขสายตาทุกรูปแบบ ทั้งด้วยเลเซอร์แก้ไขสายตาหลายรูปแบบ รวมทั้งเลนส์เสริม ICL โดยที่ผ่านมาให้บริการผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตามามากกว่า 3,500 ราย

 

รู้จักนวัตกรรมเลนส์เสริม ICL แก้ปัญหาสายตา ถอดออกได้-ไม่ทำให้กระจกตาบาง

 

“การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันเราใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีกันมากขึ้นทุกช่วงอายุ ล้วนส่งผลกระทบต่อสายตามากขึ้น          ที่ศูนย์จักษุและศูนย์เลสิก พร้อมดูแลรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพตาทุกช่วงวัย เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยทำงานด้วยการต้องใช้จอโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานจะพบปัญหาสายตาสั้น ตาแห้ง ต้อลม ต้อเนื้อ หรือตาล้า ต่อมาในวัยราว 40 ปี     มีปัญหาสายตายาวตามวัยจะพบปัญหาในเรื่องต้อกระจก ต้อหิน ได้มากขึ้น รวมไปถึงโรคตาที่เกิดจากเบาหวานหรือจอตาเสื่อม ที่ศูนย์จักษุและศูนย์เลสิกมีจักษุแพทย์เฉพาะทางเช่น ผ่าตัดแก้ไขจอประสาทตา ม่านตาอักเสบ ศัลยกรรมจักษุตกแต่ง โรคตาเด็กและกล้ามเนื้อตา การวัดสายตาประกอบแว่นด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์ดวงตาเชิงลึกครบครันด้วยเลเซอร์รักษาโรคตาและเครื่องมือผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน เพื่อดูแลรักษาดวงตาของผู้มารับการรักษาให้มีสุขภาพดีแบบองค์รวม”

“นอกจากมาตรฐานการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพให้ความสำคัญแล้ว ยังได้ปรับโฉมใหม่ของศูนย์จักษุและศูนย์เลสิกในรูปแบบสมาร์ท เซอร์วิส (Smart Services) ทั้งแนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์เพื่อบรรยากาศผ่อนคลาย เพื่อให้เข้าถึงการบริการดูแลรักษาอย่างเป็นสัดส่วน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน โดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของ     ผู้มาใช้บริการ เช่น โซนพบแพทย์ โซนเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ โซนนั่งรอ โซนห้องหยอดตา เป็นต้น เรามุ่งเน้นการรักษาแบบองค์รวมและดูแลปัญหาสายตาในทุกช่วงอายุ เพราะเราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพตาที่ดี มองคมชัด รวมถึงใช้ชีวิตประจำวันและทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบายด้วยความมั่นใจ แม้ว่าโรคบางอย่างอาจจะมีความยากที่ซับซ้อนในการรักษา เราก็มีทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางที่สามารถร่วมกันวางแผนในการรักษา อีกทั้งมีทีมพยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่ร่วมกันดูแลแบบองค์รวม”

ทั้งนี้ทีมงานของ ศูนย์จักษุและศูนย์เลสิก โรงพยาบาลกรุงเทพ ยังกล่าวว่าปัญหาสายตาเป็นปัญหาที่เป็นภัยเงียบ และรบกวนคุณภาพการใช้ชีวิตได้มากกว่าที่คิด 

 

สำหรับผู้ที่สนใจ เคทีซีจึงได้จับมือกับศูนย์จักษุและเลสิก โรงพยาบาลกรุงเทพ ออกแบบสิทธิพิเศษเพื่อมอบให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี และสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ที่ใช้บริการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะเรื่องของสายตา ณ ศูนย์จักษุและเลสิก โรงพยาบาลกรุงเทพ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567  ดังนี้

1. แพ็กเกจเลสิกไร้ใบมีดแผลเล็ก ReLEx Smile 2 ตา ราคาพิเศษ 85,000 บาท (ปกติ 88,000 บาท)

2. แพ็กเกจผ่าตัดใส่เลนส์เสริม (ICL) รักษาภาวะสายตาสั้นตั้งแต่ 450 ขึ้นไป 1 ตา ราคาพิเศษ  95,000 บาท (ปกติ 98,000 บาท)

3. แพ็กเกจผ่าตัดใส่เลนส์เสริม (ICL) รักษาภาวะสายตาสั้นไม่เกิน 450 สำหรับ 1 ตา ราคาพิเศษ  90,000 บาท (ปกติ 93,000 บาท)

4. แพ็กเกจตรวจตาและจอประสาทตาอย่างละเอียด ราคาพิเศษ 4,000 บาท (ปกติ 5,800 บาท) พร้อมรับเครดิตเงินคืนไม่จำกัดตลอดรายการ เมื่อมียอดใช้จ่ายแบบเต็มจำนวนตามกำหนด โดยสามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3W1vUPK

Thailand Web Stat