posttoday

ไทยติดสปีดปลูกข้าวคาร์บอนต่ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยากว่า10ล้านไร่

06 มกราคม 2568

”รมว.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์“เผย ไทยติดสปีดพัฒนาการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้กว่า 10 ล้านไร่ หนุนทำนาเปียกสลับแห้ง ลดลดปล่อยก๊าซมีเทน พร้อมส่งเสริมใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางและตอชังข้าว แทนการเผา

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหัวหน้าพรรคกล้าธรรม กล่าวถึงสถานการณ์การแข่งขันกันในเรื่องสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนตํ่า เพื่อลดภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขั้นตอนการผลิต ซึ่งข้าวก็เป็นหนึ่งในสินค้าเป้าหมาย ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกว่า 4.9 ล้านครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ นาปี - นาปรัง รวมกว่า 70 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่เกือบกึ่งหนึ่งของพื้นที่ภาคการเกษตรของประเทศไทย จึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้การผลิตข้าวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เมื่อปี 62 ภาคการเกษตรมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 2 รองจากภาคพลังงาน โดยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรเกิดจากการผลิตข้าวกว่าร้อยละ 40

ไทยติดสปีดปลูกข้าวคาร์บอนต่ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยากว่า10ล้านไร่

ศ.ดร.นฤมล กล่าวต่อว่า เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้น กรมการข้าวจึงได้ปรับวิธีการปลูกข้าว มาเป็นการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งเป็นเทคนิคการจัดการน้ำในแปลงนาให้มีทั้งสภาพเปียก และสภาพแห้งที่เหมาะสม กับความต้องการน้ำของข้าวในแต่ระยะการเจริญเติบโต โดยปล่อยให้น้ำแห้งตามธรรมชาติ เพื่อให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศที่ดี กระตุ้นให้รากและลำต้นข้าวมีความแข็งแรง โดยช่วงที่เหมาะสม โดยเทคนิคการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งดังกล่าวสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าวได้ ซึ่งขณะนี้กรมการข้าวได้เริ่มทดลองกับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกศูนย์ข้าวชมชนในพื้นที่ 22 จังหวัด และมีเกษตรกรเข้าร่วมประมาณ 3,300 คนแล้ว

”การปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งถือว่าเป็นวิธีที่สะดวก ประหยัด และมีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำแล้ว ยังสามารลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งถือได้ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตข้าวได้กว่าร้อยละ 30 ปี ถือว่าเป็นการพลิกโฉมการผลิตข้าวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และลดสาเหตุการเกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ ฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นแนวทางส่งเสริมให้เกิดตลาดพรีเมี่ยม เปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และที่สำคัญ คือ เป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร“ศ.ดร.นฤมล กล่าว

ไทยติดสปีดปลูกข้าวคาร์บอนต่ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยากว่า10ล้านไร่

ศ.ดร.นฤมล กล่าวต่อว่า อีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญก็คือ การย่อยสลายฟางข้าว ที่เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ที่เกิดขึ้นจากการเกษตรจำนวนมาก ที่ผ่านมาวิธีที่เกษตรกรจะใช้กันก็คือ การเผา ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศ ทำลายสภาพแวดล้อม และเป็นการเพิ่มมลภาวะทางอากาศอย่างมาก กระทรวงเกษตรจึงมีการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางและตอชังข้าวแทนการเผา นอกจากเป็นการพัฒนาระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนแล้ว ยังได้เพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวให้แก่ดิน
รวมถึงปรับปรุงโครงสร้าง และความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย

“ปัจจุบันเราสามารถผลิตข้าวคาร์บอนต่ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 10 ล้านไร่ โดยการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง และการใช้ปุ๋นไนโตรเจนอย่างเหมาะสม รววมถึงลดการเผาตอซังข้าว ด้วยการการใช้จุลินทรีย์ เพื่อเร่งการย่อยสลายฟางและตอชังข้าวหลังการเก็บเกี่ยว เป็นทางเลือกให้เกษตรกรกรลดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร โดยกรมการข้าวมีการพัฒนางานวิจัย เพื่อพัฒนาเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายตอซังข้าว และลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนในระหว่างการย่อยสลายตอซังอีกด้วย“ศ.ดร.นฤมล กล่าว