posttoday

เปิดกฎหมาย ‘การุณยฆาตสัตว์’ ทำได้ในกรณีใด?

11 มกราคม 2568

จากกรณีดราม่าแมวถูกการุณยฆาตในโซเชียลมีเดีย โพสต์ทูเดย์จะพาไปดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าสามารถทำได้หรือไม่ และในกรณีใดบ้าง!

ดราม่า 'น้องแมว' ที่ถูกพบและนำไปรักษาจากมูลนิธิ Soi Dog (อ่านลิงก์ต้นเรื่องได้ที่นี่)  แต่สุดท้ายได้รับการการุณยฆาต ซึ่งสร้างกระแสดราม่าในโซเชียลมีเดียในมุมที่แตกต่างกันไป โพสต์ทูเดย์จึงขอเปิดเรื่องจริงทางกฎหมายว่าการการุณยฆาตสัตว์นั้นทำได้หรือไม่ และทำได้ในกรณีใด

 

จาก พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ระบุไว้ในมาตรา 21 ดังนี้

มาตรา ๒๑ การกระทําดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐ 

(๑) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร

(๒) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจําหน่ายเนื้อสัตว์

(๓) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์

(๔) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยา หรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน

(๕) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา

(๖) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน

(๗) การกระทําใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับยกเว้นให้กระทําได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภาตามกฎหมายวา่ ด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์

(๘) การตัด หู หาง ขน เขา หรืองาโดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ หรือการดํารงชีวิตของสัตว์

(๙) การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น

(๑๐) การกระทําอื่นใดที่มีกฎหมายกําหนดให้สามารถกระทําได้เป็นการเฉพาะ

(๑๑) การกระทําอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

 

นอกจากนี้ มาตรา ๒๖ ในกรณีที่พบสัตว์ถูกปล่อย ละทิ้ง หรือไม่มีเจ้าของ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ดําเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ตามความเหมาะสม

มาตรา ๒๗ ในกรณีที่พบสัตว์ตกอยู่ในสภาพที่ทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บสาหัส และสัตวแพทย์เห็นว่าการให้สัตว์มีชีวิตอยู่ต่อไปจะได้รับความทุกข์ทรมานจนเกินสมควรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอาํ นาจสั่งให้ฆ่าสัตว์นั้นได้

*** การฆ่าสัตว์ตามวรรคหนึ่ง จะต้องดําเนินการโดยสัตวแพทย์ และในกรณีที่สัตว์นั้นมีเจ้าของ ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสัตว์