Upcycling เฟอร์นิเจอร์อะลูมิเนียม สู่ดีไซน์ใหม่โดนใจต่างชาติ
ทำอย่างไรให้เฟอร์นิเจอร์อะลูมิเนียมที่อยู่ในตลาดมานานกว่า 40 ปี กลายเป็นดีไซน์ใหม่ที่ไม่ตกยุค และรักษ์โลกไปพร้อมกัน จุไรรัตน์ คุณาวิชยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท คุณากิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ จำกัด ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ อะลูมิเนียม แบรนด์ KUN มีคำตอบ
ดีไซน์คือคำตอบผลักดัน KUN สู่แบรนด์ระดับโลก
จุไรรัตน์ เล่าว่า คุณากิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อยู่ในตลาดมากว่า 40 ปี ธุรกิจของเราเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยคุณปู่ เราจะเห็นสินค้าของเรา เช่น เก้าอี้พับ โต๊ะพับ ขาอะลูมิเนียม อยู่คู่ร้านก๋วยเตี๋ยว มายาวนาน ถ่ายทอดธุรกิจสู่รุ่นคุณพ่อ และ ตนเอง นับเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของบริษัท ทำให้ต้องเพิ่มความพิเศษของสินค้าที่นอกเหนือจากการใช้งานสู่งานดีไซน์ที่ทันสมัยรับตลาดยุคใหม่ จนเกิดแบรนด์ KUN ที่ไม่ได้เป็นแค่การผลิตสินค้าปริมาณเยอะๆเหมือนสมัยก่อน
แต่เน้นการผลิตงานดีไซน์ที่ตอบโจทย์กลุ่มตลาดในประเทศและต่างประเทศ ด้วยการทำงานใกล้ชิดกับดีไซเนอร์ชื่อดัง ฟรีแลนซ์ และดีไซน์เนอร์ของบริษัทเอง ทำให้งานเฟอร์นิเจอร์ของ KUN มีแรงบันดาลใจที่หลากหลาย หลากความต้องการของตลาดในแต่ละกลุ่ม
สมัยก่อนเราทำเฟอร์นิเจอร์เหล็กเป็นงานหลัก เน้นงานแมส ไม่ใช่งานดีไซน์ เมื่อเราเน้นงานดีไซน์ ทำให้การผลิตเราน้อยลง เพราะเน้นผลิตงานดีไซน์แทนการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ
จุไรรัตน์ ขยายความเพิ่มเติมว่า เราให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าเพราะอยากให้ลูกค้าได้สินค้าที่ดีเราจะมีการ ควบคุมคุณภาพ 100% ในสินค้ารวมถึงการแพ็กกิ้ง เพื่อให้การขนส่งสินค้าถึงปลายทางอย่างปลอดภัย ลูกค้าต่างประเทศสามารถมา ตรวจสอบสินค้าของเราได้ตลอดเวลา
ออนไลน์และงานแฟร์ ช่องทางขายที่สำคัญ
สำหรับช่องทางการตลาดของเรา หลักๆ คือ การโปรโมทสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก และ ไอจี รวมถึงการออกงานแสดงสินค้าต่างๆ เช่น การออกงานร่วมกับ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ งานบ้านและสวนแฟร์ และงานสถาปนิก เป็นต้น เมื่อลูกค้าสนใจ เขาก็จะมาดูงานที่โรงงานของเรา
Upcycling รักษ์โลก ตอบโจทย์ BCG
แม้ว่าสินค้าอะลูมิเนียมของเรา มีคุณสมบัติแข็งแรง เป็นที่นิยมในตลาด แม้ว่าช่วงโควิด ตลาดต่างประเทศ เราไม่ได้รับผลกระทบ เพราะคนต่างชาติมีความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตนอกบ้าน ก็ตาม แต่เมื่อสภาวะโลกที่ร้อนขึ้นทุกขณะ เราก็ต้องปรับตัว ให้สินค้าของเรารักษ์โลก รักสิ่งแวดล้อม การทำธุรกิจตามแนวคิด BCG เราจึงต้องคิดตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นดีไซน์ ทำอย่างไรไม่ให้มีวัสดุเหลือใช้ และหากเหลือใช้ต้องสามารถนำมา Upcycling เพื่อให้เกิดสินค้าใหม่
เรามีการจับมือกับซัพพลายเออร์ หรือ แบรนด์อื่นๆ เพื่อนำวัสดุเหลือใช้มาใช้งานร่วมกัน เช่น การนำอะลูมิเนียมเหลือใช้มาทำเป็นโคมไฟ และการนำเสื่อเหลือใช้ของพันธมิตรมาสร้างสินค้าใหม่ร่วมกับอะลูมิเนียมเหลือใช้ เป็นต้น
จุไรรัตน์ กล่าวว่า โจทย์ใหญ่ของทายาทรุ่นที่ 3 ในการรับช่วงต่อธุรกิจคือ จะต่อยอดธุรกิจที่อยู่มายาวนานให้เกิดธุรกิจใหม่ได้อย่างไร ขอเพียงแต่กล้าที่จะทำ กล้าที่จะก้าวออกมา และลองทำ
ลิงก์ข่าวที่เกี่ยวข้อง
https://www.posttoday.com/smart-sme/708819
https://www.posttoday.com/smart-sme/709797
ลิงก์เฟซบุ๊ก
https://www.facebook.com/watch/?mibextid=jmPrMh&v=500317848996130&rdid=KHVFP8sVYEZpuJs9
ลิงก์ยูทูป
https://www.youtube.com/watch?v=MOn4fRy5rQA