posttoday

เยือนถิ่น “ลาวเวียง” จิบชาดอกดาหลา ที่ “นครนายก” ฤดูฝน ใกล้กว่าที่ไกล

03 กันยายน 2567

“Green Season” ฤดูฝนสีเขียว จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ น่าเที่ยวอีกหนึ่งจังหวัดคือนครนายก หนึ่งในเมืองรองของภาคกลาง ในชุมชนบ้านวังรี ถิ่น “ลาวเวียง” เดินป่า จิบชาดอกดาหลา สารพัดเมนูอาหารถิ่น ท่ามกลางเมฆหมอกของป่าในฤดูฝน เที่ยวแล้วยังลดหย่อนภาษีได้อีก

ถนนสู่ชุมชนบ้านวังรี ของกลุ่มชาติพันธุ์ "ลาวเวียง" ในฤดูฝนโปรยปราย ดูเหมือนดินแดนลับแลไกลแสนไกล สองข้าวทางเป็นภูเขา เส้นทางเล็กๆ รถสวนกันได้ แต่สะดวกสบาย ขับรถง่าย ถนนดี และวิวจัดว่าสวยขั้นเทพ สำหรับคนรักฤดูฝนตัวจริง จะหลงรักบรรยากาศแบบนี้ไม่ยากเลย เพราะมันคือบรรยากาศและกลิ่นหอมสดชื่นของฤดูฝนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ ผัก ผลไม้ประจำฤดู ทัศนียภาพของภูเขาสีเขียวเข้มที่แน่นขนัดไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ไม่ใช่ภูเขาหัวโล้น ตัดเมฆหมอกที่ลอยคลอเคลียอยู่เบื้องบน

 

ชุมชนเล็กๆ อยู่ในโอบล้อมของภูเขาลูกเล็กๆ ดูเหมือนไกลจากโลกภายนอก แต่ความจริงคือเข้าถึงได้ไม่ยากเลย จากกรุงเทพมหานครเดินทางไม่ถึงสองชั่วโมง คุณก็สามารถเข้าป่าเข้าเขาหนีโลกวุ่นวายได้แบบสบายๆ

 

ชุมชนวังรีในบรรยากาศของฤดูฝน

 

หมู่บ้านท่องเที่ยวชุมชนบ้านวังรี ตั้งอยู่ตำบลเขาพระ อ.เมืองนครนายก จ.นครนายก เป็นชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นชาติพันธุ์ลาว ทั้งภาษา อาหารพื้นบ้าน การแต่งกาย การแสดงพื้นบ้าน มีการรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนอยู่สม่ำเสมอ จากความร่วมมือของชาวบ้านที่ได้นำกิจกรรมในชีวิตประจำวันมานำเสนอในรูปแบบที่นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมได้ เช่น ปั่นจักรยานชมสวนดอกดาหลา ดอกไม้ท้องถิ่นที่สามารถทานสดได้

 

ดาหลา พืชประจำถิ่นที่นำมาทำผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย

 

เรียนรู้วิถีถิ่น ประดิษฐ์จานกาบหมาก อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติของหมู่บ้านวังรี ช่วยลดโลกร้อน ลดการใช้ขยะ ทำของที่ระลึก เพ้นท์พวงกุญแจหอยหอม กิจกรรมเดินป่าศึกษาสมุนไพรป่าชุมชน เดินป่ากลางคืน เก็บหอยหอม จับปู นวดแพทย์ไทย ทำขนมพื้นบ้าน กิจกรรมทำน้ำสมุนไพร (ดอกดาหลา)

 

เส้นทางท่องเที่ยวในชุมชนลาวเวียงบ้านวังรี

น้ำดอกดาหลาทานกับขนม

 

ไฮไลท์สำคัญของชุมชนบ้านวังรี ก็คือการนำดอกดาหลามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และอาหารต่างๆ อาทิ ยำดอกดาหลา, ส้มตำดอกดาหลา, แกงป่าหน่อดาหลา, น้ำพริกดอกดาหลา นอกนี้ก็ยังมีเครื่องดื่มอย่าง น้ำดอกดาหลา ชาดอกดาหลา แยมจากดอกดาหลา ดอกดาหลากวน และสบู่จากดอกดาหลา

 

ชาจากดอกดาหลา สมุนไพรประจำถิ่น

เยือนถิ่น “ลาวเวียง” จิบชาดอกดาหลา ที่ “นครนายก” ฤดูฝน ใกล้กว่าที่ไกล

 

ด้วยสรรพคุณสุดปัง จากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพโดยสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า สารสำคัญที่พบในดอกดาหลา คือ สารกลุ่ม flavonoids และสารกลุ่ม phenolics ซึ่งสามารถช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยของผิว และมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตส (elastase) เป็น เอนไซม์ที่เร่งการเกิดริ้วรอยบนผิวหนังได้ 

 

อาหารพื้นบ้านลาวเวียงพลาดไม่ได้ มาแล้วไม่ลองถือว่าพลาดอย่างแรง หอยหอมนึ่ง น้ำจิ้มสุดแซ่บ น้ำพริกแสนอร่อย (มาก) และหากมาในฤดูนี้ ก็จะได้พบกับเมนูฤดูฝนอันอุดมไปด้วยหน่อไม้ เราก็จะได้ทานน้ำพริกจิ้มกับหน่อไม้อ่อนๆ แสนอร่อย

 

อาหารพื้นบ้านชุมชนลาวเวียง

 

รู้จัก “ลาวเวียง”

คำเรียก "ลาวเวียง" เป็นเพราะชาวลาวกลุ่มนี้ย้ายถิ่นฐานอพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (บางครั้งจึงเรียกว่า "ลาวกลาง") ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี และมีการโยกย้ายครั้งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากการก่อกบฏของเจ้าอนุวงศ์ ใน พ.ศ. 2369 เมื่อการต่อสู้สิ้นสุดลงและกรุงเทพฯ ได้รับชัยชนะ จึงนำผู้คนจากเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองลาวใกล้เคียงกลับมา

 

ทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำทรายทองใกล้ชุมชนลาวเวียง
 

คำว่า “ลาว” ไม่ได้แปลว่า คนเฉยๆ หากแต่หมายความถึง “ชนผู้เป็นนาย” ข้อสังเกตนี้ได้มาจากการพิจารณานามกษัตริย์ของอาณาจักรเงินยาง มีคำว่าลาวนำหน้าทุกพระองค์ เริ่มตั้งแต่ลาวจก ลาวเก้าแก้ว ลาวเลา ลาวตัน เรื่อยลงมาทั้งหมดกว่า 30 “ลาว” ยุคหลังจึงค่อยเปลี่ยนมาใช้ขุนนำหน้ากษัตริย์
 

พื้นที่หลักที่มีความหนาแน่นของกลุ่มลาวเวียง คือ บริเวณลุ่มน้ำภาคกลาง โดยกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี สำหรับในจังหวัดนครนายก ชาวลาวเวียงได้ถูกกวาดต้อนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในพื้นที่บริเวณบ้านใหญ่ บ้านเขาพระ บ้านเขาทุเรียน บ้านศรีนาวา บ้านคิรีวัน บ้านสาริกา และบ้านหินตั้ง เป็นต้น เมื่อเข้ามาอยู่อาศัยแล้วได้มีการสร้างวัดวาอารามไว้มากมาย วัดที่สำคัญๆได้แก่ วัดแก้วตา วัดดง วัดใหญ่ลาว วัดอุดมธานี เป็นต้น

 

เยือนถิ่น “ลาวเวียง” จิบชาดอกดาหลา ที่ “นครนายก” ฤดูฝน ใกล้กว่าที่ไกล

 

ขณะเดียวกันด้วยสำเนียงของชาวลาวเวียงมักจะลงท้ายด้วยคำว่า ตี้ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือลาวตี้ เมื่ออยู่นานวันจนเป็นคนไทย ไม่ใช่ชาวลาวเช่นบรรพบุรุษรุ่นแรก จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ "ไทยเวียง" 

 

เครื่องแต่งกายแบบลาวเวียง

 

อัตลักษณ์สำคัญของชาวลาวเวียงคือ “ผ้าซิ่นตีนจก”

เพราะเป็นงานหัตถกรรมที่มีความโดดเด่น ทั้งทักษะ ลวดลายและความหมายที่ได้ถักทอลงบนผืนผ้า ประกอบกับความนิยมใช้สีแดง ส่งผลให้ผ้าซิ่นมีความโดดเด่นและทรงคุณค่า และมีมูลค่าสูง ชุมชนลาวเวียงหลายชุมชนที่ยังคงมีองค์ความรู้เหล่านี้พยายามรักษาอัตลักษณ์โดยการจัดตั้งกลุ่มทอผ้า พัฒนาลวดลาย เทคนิค และทักษะการทอผ้าสืบต่อจากคนรุ่นเก่า รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหลากหลายกลุ่มที่เข้ามาสืบทอดอัตลักษณ์ผ้าทอตีนจกของชาวลาวเวียง ซึ่งนอกจากสืบทอดคุรค่ามรดกภูมิปัญญาของบรพบุรุษแล้วยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไปพร้อมกัน

 

เส้นทางไปชุมชนวังรี

 

มาตรการลดหย่อนภาษีปี 2567 เที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 30 พฤศจิกายน 2567

 

เมืองรอง คือจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวต่ำกว่า 4 ล้านคน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 55 จังหวัด คือ

 

• ภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สุโขทัย ลำพูน อุตรดิตถ์ ลำปาง แม่ฮ่องสอน พิจิตร แพร่ น่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี และพะเยา

• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี อุบลราชธานี หนองคาย เลย มุกดาหาร บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ สุรินทร์ สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด มหาสารคาม บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ยโสธร หนองบัวลำภู และอำนาจเจริญ

• ภาคกลาง, ภาคตะวันออก, ภาคตะวันตก 12 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สุพรรณบุรี นครนายก สระแก้ว ตราด จันทบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม ปราจีนบุรี ชัยนาท อ่างทอง และสิงห์บุรี

• ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล ชุมพร ระนอง นราธิวาส ยะลา และปัตตานี

 

คาเฟ่ เคลื่อที่ รถขายกาแฟบริเวณอ่างเก็บน้ำทรายทอง บรรยากาศการท่องเที่ยวธรรมชาติ

 

มาตรการเที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567

การเที่ยวเมืองรอง จะมีส่วนช่วยกระจายรายได้ให้ชุมชนมากขึ้น ดังนั้น การมีมาตรการลดหย่อนภาษีเมื่อเที่ยวเมืองรอง ก็จะเป็นตัวช่วยที่ดึงดูดการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวมากขึ้น โดยมาตรการเที่ยวเมืองรอง สามารถนำค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามรายละเอียด

 

ได้สิทธิค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรอง โดยสามารถนำค่าบริการท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ (ค่าแพ็คเกจทัวร์) ค่าที่พักในโรงแรม รีสอร์ท หรือโฮมสเตย์ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 30 พฤศจิกายน 2567 ไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)

 

workshop ทำชาจากดอกดาหลาที่ชุมชนบ้านวังรี

 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (เคทีซี) ร่วมด้วย บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เดินหน้ากระตุ้นการท่องเที่ยว

เมืองน่าเที่ยว 55 จังหวัดทั่วประเทศ หวังยกระดับการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยวและกระจายรายได้สู่ชุมชนเพื่อเป็นแรงผลักดันให้รายได้การท่องเที่ยวในประเทศโตตามเป้าหมายที่ 1.2 ล้านล้านบาท พร้อมมอบสิทธิพิเศษผ่านแคมเปญ ‘ขับรถเที่ยวเมืองรอง (เมืองน่าเที่ยว) กับบัตรเครดิตเคทีซี’ รับเครดิตเงินคืน4% เมื่อเติมน้ำมันที่ พีทีที สเตชั่น ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567

 

นางสาวสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. กล่าวว่า ททท. ขานรับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว หรือ เมืองรอง 55 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) นำรายได้กระจายสู่ชุมชน และยังถือเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์  IGNITE THAILAND’S TOURISM ของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมายการเป็น Tourism Hub ที่สำคัญของโลก จึงได้ร่วมมือกับร่วมมือกับ เคทีซี หรือ บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท 
 

ปตท. นํ้ามันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และพันธมิตรอีกหลายรายออกแคมเปญ ‘ขับรถเที่ยวเมืองรอง (เมืองน่าเที่ยว) กับบัตรเครดิตเคทีซี’ รับเครดิตเงินคืน 4% เมื่อเติมน้ำมันที่สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และได้รับเครดิตเงินคืนกับสถานีบริการน้ำมันอีกหลายราย รวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ อีกมากมาย โดยตั้งเป้าหมายการออกแคมเปญในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) ไม่ต่ำกว่า 70,000,000 บาท

 

นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในหมวดการท่องเที่ยวทั้งประเทศเดือนมกราคม – มิถุนายน 2567 เติบโตที่ 12% โดยยอดการเติบโตส่วนใหญ่มาจากหัวเมืองใหญ่จังหวัดท่องเที่ยว สะท้อนได้ว่าการท่องเที่ยวhttps://www.ktc.co.th/tat

 

เยือนถิ่น “ลาวเวียง” จิบชาดอกดาหลา ที่ “นครนายก” ฤดูฝน ใกล้กว่าที่ไกล