posttoday

เปิดเส้นทาง 3 SME ปรับธุรกิจสู่นวัตกรรมสีเขียว สร้างแต้มต่อขอสินเชื่อ

14 กันยายน 2567

SME ยุคใหม่ อยากมีแต้มต่อในการขอสินเชื่อ ต้องมีของ โพสต์ทูเดย์ พาไปดูเส้นทาง 3 SME สีเขียว จากธุรกิจซื้อมา-ขายไป จนมีนวัตกรรมของตนเอง พร้อมเปิดผลประกอบการย้อนหลัง 5 ปี เพื่อสร้างแรงบันดาลใจกับ SME ในการยกระดับธุรกิจของตนเอง

ศกยง พัฒนเวคิน ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จำกัด หรือ VEKIN กล่าวว่า บริษัทคือผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง (Deep Technology) สร้างสรรค์แนวทางใหม่ เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมาย Net Zero ให้เกิดขึ้นจริง เริ่มจากการสร้างกระบวนการรับรู้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบอัตโนมัติ สร้างช่องทางให้ทุกภาคส่วนมีร่วมเพื่อลดการปลดปล่อย และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม

ก่อนหน้านั้น บริษัทเป็นเพียง SME ที่ซื้อมาขายไป ขายปลั๊กไฟ ที่ไม่ได้มีแบรนด์ของตนเอง แต่เมื่อสั่งสมประสบการณ์และพบโจทย์ของลูกค้าที่ต้องการมาหลายรูปแบบทำให้ได้เรียนรู้ และเริ่มหาจุดแข็งของตนเอง จนสามารถมีนวัตกรรมเป็นของตนเองได้ จนในที่สุดจากการขายปลั๊กไฟ นำมาสู่ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันแทน

ปัจจุบันบริษัทมีสาขาที่ประเทศอังกฤษ ด้วยการได้ทุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และกำลังมีแผนขยายเพิ่มอีก 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น

เปิดเส้นทาง 3 SME ปรับธุรกิจสู่นวัตกรรมสีเขียว สร้างแต้มต่อขอสินเชื่อ ศกยง พัฒนเวคิน ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ เวคิน (ที่สองจากซ้าย)

แอปพลิเคชันของเรา ช่วยให้ SME สามารถขอสินเชื่อเพื่อและการันตีการลดคาร์บอนเครดิตได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ไม่ต้องเรียนหลักสูตรใดๆมากมาย เช่น อยากกู้เงินซื้อแอร์ หรือ รถ EV แค่อย่างเดียว ระบบก็สามารถแปลงเป็นคาร์บอน เครดิต เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการกู้เงินได้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับระบบดาวเทียมของจิสด้าในการคำนวณคาร์บอนเครดิตในป่าได้อีกด้วย

ศกยง กล่าวว่า SME ที่ต้องการไปสู่นวัตกรรมสีเขียว ต้องรู้จุดยืนของธุรกิจก่อนว่าจะไปกรีนแบบไหน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ 1. การนำนวัตกรรมสีเขียวมาช่วยในการทำงาน เช่น การใช้รถ EV การใช้โซลาร์เซลล์ เป็นต้น 2. คือการทำสินค้าแบรนด์ของเราให้กรีน 3. การสร้างสินค้าให้กรีนตั้งแต่แรก เช่น รองเท้า กระเป๋าหนัง และสุดท้ายคือ ช่วยให้คนอื่นกรีน 

สิ่งสำคัญที่ SME จะโกกรีนได้ คือ ภาครัฐ ต้องสนับสนุนสินค้าของไทยเองเสียก่อน ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่า สินค้าไทยต้องถูก ทั้งที่ออราเคิล ไมโครซอฟท์ แพง ทำไมยังใช้ ทำไมถึงไม่มีนโยบายเหมือนจีนที่นิยมใช้ของในประเทศ รัฐบาลควรยินดีจ่ายเงินให้สินค้าไทยแพงกว่าด้วยซ้ำ SME ต้องการให้ช่วยในระดับเริ่มต้นก่อนเพื่อให้สามารถไต่ระดับไปสู่จุดที่แข็งแกร่งได้ ไม่ใช่มาถามว่า สู้กับต่างชาติได้ไหม ราคาถูกกว่าหรือไม่ 

อย่างบริษัทตนเองมีการตั้งสาขาในอังกฤษ ถ้ากลับมาขายในไทยแล้วเติม 0 เพิ่มขึ้นไป แพงกว่า คนไทยก็ซื้อเพราะมาจากต่างประเทศ หรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ โครงการไหนใช้สินค้าไทย ได้ดอกเบี้ยถูก หรือ สินค้า ESG ได้สินเชื่อ ดอกเบี้ย 0% 10 ปี 

ด้านธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธาอีส อีโคเลทเธอร์ จำกัด ผู้ผลิตนวัตกรรมเครื่องหนังรีไซเคิล  แบรนด์ “THAIS”  เล่าแรงบันดาลใจ เกิดจากชื่นชอบเครื่องหนังแฮนด์เมด จึงไปเรียนการตัดเย็บเครื่องหนัง ทำให้พบข้อมูลสำคัญว่า กระบวนการผลิตสินค้าเครื่องหนังสัตว์  ไม่ว่าจะกระเป๋า รองเท้า หรือเฟอร์นิเจอร์  วัสดุหนังที่ถูกใช้งานจริง มีเพียงประมาณ 60% เท่านั้น ส่วนเศษหนังชิ้นเล็กชิ้นน้อยต้องทิ้งเป็นขยะ ซึ่งยากต่อการย่อยสลายหรือทำลาย  ไม่ว่าจะเป็นการฝังกลบหรือเผาทิ้ง ล้วนก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ตนเองใช้เวลาอยู่ประมาณ 2 ปี ในการนำเศษหนังแท้มาทำเป็นแผ่นจากนั้นจึงกลับไปที่สิงคโปร์ซึ่งตนเองเคยเรียนอยู่ที่นั่น เพื่อหาคำตอบว่า สินค้าประเภทนี้ ถ้ามีการผลิตจริง จะมีใครซื้อหรือไม่ ปรากฎว่า คนสนใจ ตนเองจึงกลับมาพัฒนาตัวสินค้าให้มีความแมสมากขึ้นจึงเข้าไปปรึกษากับ NIA

ใช้เวลาอยู่ประมาณ 2 ปีจากนั้นกลับไปที่สิงคโปร์ไปดูว่ามีใครอยากซื้อสินค้าของเราบ้างหรือไม่ ตอนนั้นยังไม่เป็นสินค้าด้วยซ้ำ แต่เป็นแผ่นหนังที่หน้าตาเหมือนหนังกำพร้า แต่ว่าหลังจากนั้นเมื่อเราออกจากห้องเมื่อรับฟังเสียงคนข้างนอกก็มีความคิดเห็นพร้อมกันพอกลับมาเราจึงคิดว่าเราต้องพัฒนาตัวสินค้าของเราต่อไปได้และทำให้โครงการนี้เป็นแมส 

เปิดเส้นทาง 3 SME ปรับธุรกิจสู่นวัตกรรมสีเขียว สร้างแต้มต่อขอสินเชื่อ ธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ  ธาอีส อีโคเลทเธอร์ (คนกลาง)

ในตอนแรกตนเองเข้าใจเพียงแค่ว่า มีโมเดลธุรกิจแล้ว มีลูกค้าระดับหนึ่งแล้ว ต้องขอเงินได้ พอเงินตนเองหมดจึงมาขอสินเชื่อกับ SME D Bank ปรากฎว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คิด สิ่งที่ SME ต้องคิดต่อคือ เมื่อได้ลูกค้าแล้ว จะหมุนเงินอย่างไร มีแหล่งผลิตอย่างไรบ้าง 

นี่คือเส้นทางก่อนที่เราจะเติบโต เรานำตัวหนังรีไซเคิลจากโรงงานเอามาตัดเย็บโดยนำมาจากหนังแท้ๆไม่มีการผสมวัตถุดิบอื่นเลย จนเรากลายเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในโลก ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่มีใครทำได้ อีกทั้งได้ใบรับรองด้านกรีน เทคโนโลยีจากยูเอ็นด้วย

ทุกวันนี้ บริษัททำหน้าที่ทั้งผลิตสินค้าแบรนด์ตัวเอง และรับจ้างผลิตให้แบรนด์อื่นๆ มีนวัตกรรมที่มาจากเศษวัสดุเหลือทิ้งมากกว่า 8 ตัว เช่น ขวดพลาสติก เพื่อนำมาทำเป็นเส้นด้าย  ผ้าเหลือใช้นำมา upcycling ซึ่งในประเทศไทยมีเศษผ้าถึง 1 แสนตันต่อปี ขณะที่หนังมีเพียง 1 หมื่นตันต่อปี ซึ่งถ้านำเศษหนังใส่ถุงพลาสติกมาเรียงกันจะได้ตึกมหานคร 6 ตึก

เปิดเส้นทาง 3 SME ปรับธุรกิจสู่นวัตกรรมสีเขียว สร้างแต้มต่อขอสินเชื่อ

วาเรญ อ้อยแขม ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ โคเวอร์แมท

วาเรญ อ้อยแขม ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท โคเวอร์แมท จำกัด นวัตกรรมสินค้ารักษ์โลกทางเลือกทดแทนกระดาษและพลาสติก กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของบริษัทก็เป็นธุรกิจซื้อมา ขายไป ไม่มีจุดเด่น หรือ จุดแข็ง ต่อมาจึงได้พัฒนานวัตกรรมเองเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก ปัจจุบันมีการผลิตถุงพลาสติกรักษ์โลกให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และจะขยายไปยังโรงพยาบาลอื่นเพิ่มเติม 

การมีนวัตกรรมของตนเองนั้น บริษัทเพิ่งเริ่มเมื่อปีที่ผ่านมา และด้วยบริษัทยังมีธุรกิจอื่นด้วยและเป็น SME ขนาดเล็กจึงทำให้การเปลี่ยนผ่านสะดุด เพราะทุ่มเทการทำงานไปกับสิ่งใหม่ 100 % ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำ หาก SME ต้องการเริ่มไปสู่นวัตกรรมสีเขียวต้องแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสม อาจจะจัดพอร์ตเพียง 20 % เพื่อไม่ให้ธุรกิจหลักสะดุด ซึ่งขณะนี้บริษัทอยู่ตัวแล้ว และกำลังจะมีนวัตกรรมออกใหม่เร็วๆนี้ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้

โพสต์ทูเดย์ พาไปดูผลประกอบการย้อนหลัง 5 ปี ของ 3 SME นวัตกรรมสีเขียว จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า มีทั้งขาดทุนและกำไร ดังนี้ 

เปิดเส้นทาง 3 SME ปรับธุรกิจสู่นวัตกรรมสีเขียว สร้างแต้มต่อขอสินเชื่อ