ม.ศรีปทุม รุกแก้กับดัก SME สร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่รับมือเศรษฐกิจดิจิทัล

22 เมษายน 2568

SME ไทยมีมากกว่า 3.2 ล้านรายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มักเผชิญกับดัก ขาดทักษะนวัตกรรม และเข้าถึงแหล่งเงินทุน ม.ศรีปทุม เดินหน้าแก้เกม สร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่รับมือเศรษฐกิจดิจิทัล

ผศ.ดร.เกรียงไกร สัจจะหฤทัย คณบดีคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า จากรายงาน IMD World Competitiveness Ranking 2024 พบว่าแม้ประเทศไทยจะมีความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ แต่ระบบการศึกษาการจัดการไทย ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ ตกลงไป 13 อันดับ ลดลงจากลำดับที่ 19 เป็น 32 จากการประสบปัญหาที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่

 

1.อาจารย์ขาดประสบการณ์จริง การสอนในห้องเรียนยังขาดการเชื่อมโยงกับโลกธุรกิจจริง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง

 

2.งานวิจัยไม่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจ เน้นตีพิมพ์ผลงานวิชาการมากกว่าการวิจัยที่สามารถนำไปปรับใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดจริง

 

3.ความยั่งยืนเป็นเพียงรูปโฉม หลักสูตรในหลายสถาบันมักพูดถึงแนวคิดความยั่งยืนเพียงแค่ในระดับการตลาด ไม่ได้บูรณาการอย่างแท้จริงในกระบวนการเรียนการสอน

 

4.ขาดการสอนนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ หลักสูตรยังไม่มีการบูรณาการแนวคิดอย่าง Design Thinking และ Creative Thinking ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

 

5.ล้าหลังด้านเทคโนโลยีและ AI ขาดผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และ AI ทำให้หลักสูตรไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ

 

นอกจากการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์ เจ้าของธุรกิจไทยยังต้องเผชิญกับ "กับดัก" มากมาย โดยเฉพาะ ขาดทักษะนวัตกรรมและการเข้าถึงแหล่งทุน ซึ่งขัดขวางการเติบโตของธุรกิจ โดยพบว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก 

 

ปัจจุบันจำนวนมากถึง 3.2 ล้านราย คิดเป็น 99.5% ของสถานประกอบการทั้งหมด และมีการจ้างงานรวมประมาณ 12.8 ล้านคน หรือเฉลี่ย 4 คนต่อกิจการ ในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (Value Added) SMEs มีสัดส่วนประมาณ 38.5% ของ GDP ประเทศไทย และมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกประมาณ 14% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ตามโครงสร้าง GDP ของ SMEs ในปี 2566
 

 

จำแนกตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ พบว่า ภาคการบริการมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคการผลิต และภาคการค้าปลีกและค้าส่ง 

 

สำหรับตัวอย่างจากต่างประเทศ ฮ่องกงมีการส่งเสริม SMEs ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดงานแสดงสินค้า SME Market Day เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกของ SMEs 

 

จากข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า SMEs มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีส่วนร่วมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม การจ้างงาน และการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญ

 

ทั้งการที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถไต่อันดับได้ดีขึ้น และสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ตอบโจทย์โลกธุรกิจยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องปรับรูปแบบการศึกษาด้านการจัดการและสนับสนุนเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ ให้มีศักยภาพเข้าไปเพิ่มกำลังสำคัญในการขับเคลื่อประเทศไทยมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง  


โดยคณะได้วางกลยุทธ์ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายที่อย่างครอบคลุม ด้วย 5 แนวทางหลัก  ได้แก่

 

1.ดึงผู้เชี่ยวชาญและเจ้าของธุรกิจจริงมาสอนและเป็นโค้ชปรับกระบวนการคัดเลือกอาจารย์โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ตรงในภาคธุรกิจ พร้อมเชิญเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารระดับแนวหน้ามาแบ่งปันประสบการณ์ในทุกรายวิชา


2.วิจัยตอบโจทย์ภาคธุรกิจ ลงนามความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ  สร้างงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ


3.บูรณาการความยั่งยืนในหลักสูตร ปรับปรุงหลักสูตรโดยเพิ่มวิชาที่เน้นการจัดการธุรกิจสีเขียว (Green Business Management) และโครงการปฏิบัติจริง 


4.พัฒนาทักษะนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เปิดศูนย์ Innovation Hub เพื่อฝึกใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเพิ่มหลักสูตรที่เน้นการคิดนอกกรอบผ่านการสอน Design Thinking และ Creative Thinking 

 

5.เสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีและ AI จับมือกับบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีและ AI เพื่อเปิดโครงการ “AI for Business” แห่งแรกโดยมุ่งเสริมทักษะให้กับนักศึกษาทุกคนในคณะเรียนและใช้จริงตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 พร้อมประยุกต์ใช้ในมิติ

 

6.สร้างนักศึกษาให้เป็นนักแก้ปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่ใช่แค่ท่องจำทฤษฎี  คณะ คือพื้นที่ปลอดภัยให้นักศึกษาได้ลองผิดลองถูกโดยมีโค้ชดูแลอย่างใกล้ชิด ลงมือทำธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น สร้างเจ้าของธุรกิจที่มีศักยภาพและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและ AI
 

Thailand Web Stat