"ข้อเสนอเรื่องการไหว้ครูของเนติวิทย์" มองการบังคับทำลายความสัมพันธ์ที่แท้จริง
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เเสดงความคิดเห็นต่อพิธีไหว้ครู มองการบังคับคือการทำลายความสัมพันธ์
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เเสดงความคิดเห็นต่อพิธีไหว้ครู มองการบังคับคือการทำลายความสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นต่อพิธีไหว้ครูผ่านเพจเฟซบุ๊ก Netiwit Ntw เนื้อหาระบุว่า
"ข้อเสนอเรื่องการไหว้ครูของผม
ผมจะไม่เสนอภาพใหญ่ว่าทั้งประเทศควรจะเป็นอย่างไร แน่นอนล่ะว่าผมสนับสนุนว่าไม่ควรมีการบังคับ เพราะการไหว้ครูเป็นเรื่องส่วนบุคคล เรื่องประสบการณ์ส่วนตัว ครูคนนี้สอนไปด่าเราไป ดูถูกเราไป จะไหว้มันทำไม การบังคับคือการทำลายความสัมพันธ์ที่แท้จริง
ทีนี้ ผมจะขอเสนอภาพเล็ก ตราบเท่าที่พิธีนี้ยังมีอยู่ แต่จะมีอย่างไรให้งามและมีความหมาย คณะอื่นๆ ผมไม่ทราบ แต่ผมเรียนที่ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ดังนั้นผมจะเสนอในบริบทของผม ใครคิดว่าดีก็อาจจะเอาไปปรับใช้ได้
ผมเสนอว่า ควรจะมีการไหว้ครู(อาจารย์)ทุกเทอมเลย ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว ทำไมถึงคิดเช่นนั้น ตอนนี้พิธีไหว้ครูจัดตอนนิสิตใหม่เพิ่งเข้าเรียนไปได้อาทิตย์สองอาทิตย์ แล้วก็ไหว้ครูกัน โดยที่ครูเหล่านั้นเด็กก็ยังไม่รู้จักเลยว่าเป็นคนยังไง สอนดีหรือไม่ดี การสักเอาแต่ไหว้ กลายเป็นเรื่องรกรุงรังไปซะเปล่า เป็นเรื่องไม่มีความหมาย เข้าร่วมไปก็ไม่ได้อะไรดีขึ้น
ดังนั้นเพื่อความงอกงามของศิษย์และครู น่าจะจัดให้ไหว้กันตอนหลังเรียนวิชานั้นเสร็จแล้ว หรือคาบสุดท้าย เด็กที่รู้สึกผูกพันกับครู อาจารย์สอนดี เอาใจใส่ก็เอาพวงมาลัยมาไหว้ ส่วนเด็กคนไหนรู้สึกไม่เห็นค่าเลย หรืออาจารย์เห็นเด็กไม่ตั้งใจเรียน เอาแต่คุยก็ไม่เข้าร่วม ไม่นับกันไป
อาจารย์หรือเด็กบางคนอาจจะไม่อยากเอาพวงมาลัยหรือกระทำตามขนบโบราณ เห็นว่าไร้แก่นสาร ลดทอนความเป็นมนุษย์นั่นก็มีสิทธิคิดได้ แต่ไม่ดีหรอกหรือ หากจะมีการได้เคารพกันอย่างซึ่งหน้า ในฐานมนุษย์ที่เท่ากัน แทนที่ทำให้ดูเคร่งขรึม อาจจะทำเป็นงานปาร์ตี้เล็กๆ ในคลาส เอาขนม หรืออาหารมาแบ่งปันกัน คุยกัน แสดงความคิดเห็นว่า วิชาอาจารย์เป็นยังไง เด็กเป็นยังไง เราควรจะปรับปรุงส่วนไหนของกันและกัน คุยกันออกมาตรงๆ นี่ก็น่าทำ
จะกระทำแบบนี้ท้ายเทอมก็ได้ หรือกลางเทอมเผื่ออาจจะมีพัฒนาการสอนหรือการตั้งใจเรียนขึ้นก็ได้
ไหว้ครูแบบนี้น่าจะสร้างความหมายแก่ประเพณีโบราณได้บ้าง
เป็นการเพิ่ม 1)"พันธสัญญาทางใจ" - ต่อไปฉันจะปรับปรุงการสอน จากการได้เถียงและฟังพวกเธอโต้แย้งในรุ่นต่อไปหรือเทอมต่อไป และ 2)"การตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการ" - ทำไมอาจารย์ไม่มาในคาบนี้หรือเราไม่ตั้งใจเรียน / ทำไมลูกศิษย์/ผู้เรียน/นิสิต/มนุษย์ที่เท่าเทียม ไม่เข้ามาคาบนี้กันเลย เหลือไม่กี่คน หรือฉันสอนพวกเขาไม่ดี ครูและศิษย์จะมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นในพิธีแบบนี้
แน่นอนว่านี่ไม่ควรบังคับ และเกิดจากการสมัครใจกันของทั้งสองฝ่ายอันมาจากความอุตสาหะวิริยะในการเรียนของผู้เรียนและความทุ่มเทของครู
ไม่รู้คิดเห็นกันยังไงบ้าง เห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็แสดงกันได้เต็มที่
นี่เป็นการทดลองทางความคิด - ผมเขียนพวกๆนี้ไว้ในหนังสือเล่มใหม่เขียนข้อเสนอถึงคณะตัวเอง ใครสนใจจะหามาอ่านก็ได้ ซื้อที่ https://goo.gl/forms/CJUmpPTcaCfRDsJw1 "