"ภาพอนาคต 30 วัน" หากคนไทยไม่อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ
สรุปสาระสำคัญ คาดการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในไทย ของ "คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล" และ แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหากทุกฝ่ายไม่ร่วมมือ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ"
เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 63 ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้เปิดเผยการคาดการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยสรุปเนื้อหาสำคัญที่น่าสนใจได้ดังนี้
-ช่วง ม.ค.-ก.พ.63 พบผู้ติดเชื้อน้อย ตัวเลขนิ่งอยู่ที่ประมาณ 40 ราย
-จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค.63 เกิดจาก 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่ผับ และ สนามมวย
-โลกแบ่งประเทศที่ติดไวรัสออกเป็น 2 กลุ่ม
-1.กลุ่มที่คุมไม่อยู่ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป
-2.กลุ่มที่คุมอยู่ ได้แก่ เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น ,สิงคโปร์, ฮ่องกง
-ช่วง "Golden period" หรือ ช่วงที่พบผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป เป็นจุดผกผันของประเทศนั้นว่า สถานการณ์ระบาดจะเป็นไปในทางไหน
-ประเทศที่คุมไม่อยู่จะพบผู้ติดเชื้อจาก 100 เป็น 200 คน ในเวลาประมาณ 3 วัน
-ประเทศที่คุมอยู่พบผู้ติดเชื้อจาก 100 เป็น 200 คน ในเวลาประมาณ 5 วัน
-ในไทยตัวเลขผู้ติดเชื้อจาก 100 เป็น 200 คน ในระยะเวลาประมาณ 3.5 วัน ทำให้มีแนวโน้มที่จะไปในทางกลุ่มประเทศที่คุมไม่อยู่ / แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อในไทยใกล้เคียงกับเยอรมัน
-หากปล่อยไปแบบนี้ ทุกคนใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่อยู่บ้าน ยอดผู้ติดเชื้อในไทยจะเพิ่มวันละ 33% โดยภายในวันที่ 15 เม.ย.63 จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อ "351,948 ราย"
-แต่หากคุมอยู่ ทุกคนอยู่บ้าน จะช่วยดึงยอดผู้ติดเชื้อลงมาไม่เกินวันละ 20% ภายใน 15 เม.ย.63 จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อ "24,269ราย" นี่คือเป้าหมายในเวลานี้!
-หากทำแบบเดิมภายใน 15 เม.ย.63 (ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มวันละ 33%) จะมีผู้ติดเชื้อต้องนอนโรงพยาบาล 52,792 ราย, คนไข้หนักนอนไอซียู 17,597 ราย, ตาย 7,039 ราย
-หาก LOCK DOWN ทุกคนอยู่บ้าน (ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มวันละ 20%) จะมีผู้ติดเชื้อนอนโรงพยาบาล 3,640 ราย, คนไข้หนักนอนไอซียู 1,213 ราย , ตาย 485 ราย
-เมื่อยอดผู้ป่วยเกินศักยภาพที่โรงพยาบาลจะรับได้ จะต้องมีโรงพยาบาลสนามหรือการรักษาพยาบาลนอกพื้นที่
-ที่สำคัญ จำนวนคนไข้หนักหากถึง 17,000 ราย จะเกินความสามารถศักยภาพของระบบสาธารณสุขไทยทั้งประเทศจะดูแลได้
-คนไข้หนักที่ปอดถูกไวรัสทำลาย จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ,เครื่องช่วยการทำงานของปอด หากยอดคนไข้สูงเกินศักยภาพที่การรักษาจะทำให้ สถานการณ์อาจเหมือนอิตาลี คือ ต้องเลือกว่าจะรักษาใคร
-คนไข้อาการหนักต้องใช้เวลารักษานานหลายสัปดาห์ หมายความว่า จะเกิดคนไข้สะสมจำนวนมาก และเกิดกระบวนการจำเป็นต้อง "เลือก" รักษา
-"มาตรการสำคัญ" ที่ "ทุกคนต้องร่วมมือกันทำ" เพื่อป้องกันการระบาด
-ปิดกั้นไม่ให้คนติดเชื้อจากข้างนอกมาสู่พื้นที่เรา เช่น การปิดกั้นคนจากประเทศในยุโรปที่มีการระบาดเป็นวงกว้าง , การปิดการเดินทางผ่านชายแดน
-ตรวจจับคนติดเชื้อให้ได้และนำไปกักกัน แยกคนออกจากสังคม / นำคนที่มีประวัติสัมผัสคนติดเชื้อ ไปกักกันเพื่อเฝ้าระวังจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรค / การปิดพื้นที่เสี่ยงอย่างเด็ดขาดและครอบคลุมทุกพื้นที่
-วันนี้ยังมีคนที่มาตรวจเชื้อไวรัสจำนวนหนึ่ง ไม่ยอมแจ้งประวัติตามจริง ทำให้บุคลากรทางการแพทย์อยู่ในความเสี่ยง
-คนปกติเวลาพูดคุยจะมีละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ที่ออกไปกับน้ำลายจำนวน 3,000 ละออง ในระยะ 1 เมตร นี่คือเหตุผลว่าทำไมต้องห่างกันประมาณ 2 เมตร เวลาพูดคุยกัน เพื่อป้องกันเชื้อ / ดีที่สุดคือการใส่หน้ากากเพราะละอองจะติดอยู่บนหน้ากาก
-"โรคติดต่อจะไม่ติดต่อ ถ้าคนไม่ติดต่อกัน"
-ปัจจุบันไทยอยู่ในระยะที่คนในพื้นที่แพร่ไปให้แก่กันและกัน ขยายวงไปเรื่อยๆ มาตรการที่ต้องรีบทำคือ "ปิดประเทศ ปิดเมือง" "ให้คนในประเทศพยายามอยู่บ้าน" เพื่อตัดวงจรการระบาด โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3 สัปดาห์
-"Shelter in Place" คนในสังคมต้องร่วมลดอัตราเสี่ยงการรับและแพร่เชื้อกระจายเชื้อ โดยการอยู่ในบ้าน ออกนอกบ้านให้น้อยที่ / ใช้เวลาอยู่นอกบ้านให้น้อยที่สุด เช่น ออกไปซื้ออาหารใกล้บ้าน ซื้อเสร็จแล้วรีบกลับบ้าน / ออกจากบ้านให้ใส่หน้ากากอนามัย
- "Social Distancing" การเว้นระยะห่างทางสังคม สิ่งสำคัญที่จะช่วยสกัดการระบาดของเชื้อไวรัส หลักการคือ "โรคติดต่อ จะไม่ติดต่อ ถ้าคนไม่ติดต่อกัน"
-การอยู่บ้านขอให้ทุกคนทำ! เพราะการอยู่บ้านจะช่วยหยุดเชื้อ ทำให้เชื้อมีโอกาสเข้าในตัวคนน้อย
-นโยบายปิดประเทศของจีนจนถึงกลางกุมภาพันธ์63 ลดการเล็ดรอดออกนอกประเทศของกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19ไปได้ 70.5%
-ผลที่คาดว่าจะได้รับ ถ้า "ประเทศไทยร่วมกันสกัดการระบาดอย่างเต็มรูปแบบ" จะลดอัตราการเพิ่มจำนวนการติดเชื้อ หลังจาก 4-6 สัปดาห์ / ช่วยชะลอการระบาดของโรคและลดจำนวนผู้ติดเชื้อ
-หาก "สกัดการระบาดอย่างเต็มรูป" แบบคาดว่า "เชื้อโควิด-19จะหายไปจากประเทศไทยในระยะเวลาอย่างน้อย 9 เดือน"
-แนวทาง "การทำงานที่บ้าน" (Work@Home) งานที่สามารถทำทางไกลได้ ให้ทำทางไกล โดยติดตามผลงานเป็นหลัก ไม่นับชั่วโมงการทำงาน / งานที่ต้องปฏิบัติในพื้นที่ ให้ปฏิบัติในพื้นที่ "เน้นตามหลักการ Social Distancing"
-"จัดแบ่งผู้ปฏิบัติงานแบบเดียวกันเป็น 2 ทีม" เพื่อป้องกัน หากเกิดการติดเชื้อและทีมต้องเข้าสู่การ quarantine (แยก/กันคนที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อออกจากสังคม)