สธ.ย้ำซื้อวัคซีน ไม่มีเงินทอน ขออย่าด้อยค่า

04 กันยายน 2564

กรมควบคุมโรค ยืนยัน จัดซื้อวัคซีนโควิดทุกยี่ห้อได้ราคาถูกกว่า 50% ยันไม่มีเงินทอน ขออย่าด้อยค่าวัคซีน หวั่นคนกลัวไม่ไปฉีด เผย "ภูเก็ต แซนด์ บ็อกซ์" นักท่องเที่ยว ติดเชื้อ 85 ราย อาการไม่รุนแรง

เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 64 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่าสถานการณ์ในประเทศช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังคงต้องดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้นต่อไป โดยไม่ได้บังคับแต่ต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย ยืนยัน การจัดซื้อวัคซีนทุกชนิดของกระทรวงสาธารณสุขเป็นไปด้วยความโปร่งใส ไม่มีเงินทอน อย่างวัคซีนซิโนแวคที่ทางกระทรวง?สาธารณสุข?จัดหามาตั้งแต่เดือน ก.พ.2564 ราคาวัคซีน 17 เหรียญ?และในปัจจุบันที่มีการซื้อจำนวนมาก และความต้องการในการฉีดยังมี แต่ตลาดเปิดกว้างขึ้นทำให้มีวัคซีน?ในตลาดค่อนข้างมาก ปัจจุบันราคาในขณะนี้อยู่ที่ 9 เหรียญ? ถ้าเทียบกับวัคซีน?เชื้อตายยี่ห้ออื่นจะถูกกว่า 50% ยืนยันว่าไม่เงินทอนแน่นอน มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ยืนยันประสิทธิภาพ ลดป่วยหนักและเสียชีวิต ช่วยชีวิตคนไทยได้จำนวนมาก ส่วนรายละเอียด?องค์การ?เภสัช?กรรมจะชี้แจงอีกครั้ง ส่วนวัคซีนไฟเซอร์ ถ้าเทียบกับบริษัทอื่นก็ถูกมากกว่าถึง 50% เช่นกัน ส่วนวัคซีน?แอ?สต?ร้า?เซ?เน?ก้า?ที่ได้ทำสัญญา?จองล่วงหน้าเป็นเวลานาน ราคาที่เราใช้ไปที่ก็ถูกกว่าวัคซีนที่เราจัดหาได้ ฉะนั้นเรื่องเงินทอนไม่มีแน่นอน

ส่วนการทำสัญญาสั่งซื้อ มีข้อตกลงกับบริษัทว่า จะไม่เปิดเผยข้อมูล ซึ่งจำเป็นต้องทำสัญญาเพราะจะไม่สามารถฉีดวัคซีนให้คนไทยได้มากเท่ากับปัจจุบัน รวมทั้งขอให้อย่าด้วยค่าวัคซีนที่ไทยจัดหาเพราะจะทำให้ประชาชนหวาดกลัว ไม่มาฉีดวัคซีนตามแผน เป็นผลเสียต่อการควบคุมโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ขณะนี้จะมีปริมาณวัคซีนมากขึ้นแต่ตลาดยังเป็นของผู้ขาย การเซ็นสัญญาที่ผ่านมาจึงเป็นเรื่องไม่ปกติ โดยไม่สามารถยืนยันได้เลยว่าจะได้รับส่งมอบเมื่อไหร่ ปริมาณเท่าไหร่ และมีข้อกำหนดจากผู้ผลิตที่ห้ามเปิดเผยสัญญา แต่การดำเนินการทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎหมาย มีการส่งสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และผ่านความเห็นของจากคณะรัฐมนตรี

ด้าน น.พ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ตัวอย่างของพื้นที่ที่มีการฉีดวัคซีนแล้วพบว่า การติดเชื้อมีแนวโน้มลดลงได้แก่ ที่จังหวัดภูเก็ตซึ่งทำโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาต้องฉีดวัคซีนทุกคน จากจำนวน 27,000 ราย ป่วย พบผู้ติดเชื้อ 85 ราย ร้อยละ 73 ไม่มีอาการ ที่เหลือมีอาการน้อย และไม่มีผู้เสียชีวิต ดังนั้นจึงสามารถส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวได้

ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ไทยฉีดวัคซีนซิโนแวคมากที่สุดซึ่งพบว่า มีผลในการป้องกันทั้งการติดเชื้อ ป่วยหนัก และเสียชีวิตได้มาก ต่อมาได้ปรับสูตรการฉีดวัคซีนเป็นฉีดไขว้ โดยให้ซิโนแวค แล้วตามด้วยแอสตราเซเนกา ห่างกัน 3 สัปดาห์พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพียงรายเดียวเท่านั้น ซึ่งถือเป็นอัตราต่ำมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ไม่ฉีดวัคซีน 1 ล้านคนจะเสียชีวิต 132 คน

สำหรับสถานการณ์การจัดหาวัคซีน คาดว่า ภายในเดือนนี้จะมีวัคซีนมากกว่า 15.3 ล้านโดสได้แก่ ซิโนแวค 6 ล้านโดส แอสตราเซนเนก้า 7.3 ล้านโดส และไฟเซอร์ 2 ล้านโดส เดือนตุลาคม 24 ล้านโดส เดือนพฤศจิกายนและธันวาคมเดือนละ 23 ล้านโดส โดยยังมีความจำเป็นต้องสั่งวัคซีนซิโนแวคเข้ามาเพิ่ม เพราะสถานการณ์การส่งมอบวัคซีนของแอสตราเซเนกาและไฟเซอร์ในปลายปียังไม่แน่นอน รวมทั้งอาจต้องฉีดวัคซีนในเด็กซึ่งวัคซีนชนิดเชื้อตายมีความปลอดภัยและผลข้างเคียงน้อยที่สุด

Thailand Web Stat