รางวัลระดับโลกแด่พระปรีชาสามารถในหลวงรัชกาลที่ 9
14 รางวัลระดับโลกที่ถวายแด่พระปรีชาสามารถและพระเกียรติคุณ ในหลวง ร.9
รางวัลระดับโลกที่ถวายแด่พระปรีชาสามารถและพระเกียรติคุณ ในหลวง ร.9
ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชรัชกาลที่ 9 ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญหา ในการแก้ปัญหาและพัฒนาความเป็นผู้ของประชาชนผ่านทางโครงการในพระราชดำริต่างๆมากมายกว่า 4,685 โครงการ ครอบคลุมหลากหลายด้าน ทั้งการเกษตร ปศุสัตว์ ดิน น้ำ ลม พลังงาน คมนาคม สาธารณสุข การศึกษา ศาสนา และอื่นๆ อีกมากมาย อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาทั่วโลกว่าทรงเป็น พระมหากษัตริย์นักพัฒนา ทั่วโลกต่างรับรู้และชื่นชมในพระอัจริยภาพต่างๆมากมายผ่านการถวายราชวัลต่างๆจากทั่วโลก เพื่อเทิดทูลพระเกียรติคุณและพระอัจริยภาพของพระองค์ที่สำคัญเป็นต้นว่า
พ.ศ. 2507
ครั้นวโรกาศที่ทรงเสด็จเยือนออสเตรียอย่างเป็นทางการ รัฐบาลออสเตรียจึงทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ลำดับที่ 23 ของสถาบันการดนตรี และศิลปะแห่งกรุงเวียนนา และเป็นผู้ประพันธ์เพลงชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับเกียรติจารึกพระนามลงบนแผ่นหินสลักของสถาบัน
พ.ศ. 2519
ประธานรัฐสภายุโรป และสมาชิกร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรัฐสภายุโรป"
พ.ศ. 2529
ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อสันติของสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลสันติภาพ"
พ.ศ. 2530
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณในการนำชนบทให้พัฒนา"
พ.ศ. 2534
ผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองประกาศพระเกียรติคุณด้านสิ่งแวดล้อม" เมื่อวันที่ 4 พ.ย และผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองสาธารณสุขเพื่อมวลชน" เมื่อวันที่ 24 พ.ย
พ.ศ. 2536
คณะกรรมการสมาคมนิเวศวิทยาเชิงเคมีสากล (International Society of Chemical Ecology) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรางวัลเทิดพระเกียรติในการสงวนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ" และหัวหน้าสาขาเกษตร ฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเชียของธนาคารโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด" สดุดีพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำ
พ.ศ. 2537
ผู้อำนวยการบริหารของยูเอ็นดีซีพี (UNDCP) แห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองคำสดุดีพระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด" เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.
พ.ศ. 2539
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการพัฒนาการเกษตร"
พ.ศ. 2543
คณะกรรมการจัดงานบรัสเซลส์ ยูเรก้า แห่ง The Belgian Chamber of Inventors สมาคมส่งเสริมและคุ้มครองนักประดิษฐ์ของเบลเยี่ยม ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลรางวัลบรัสเซลส์ ยูเรก้า ๒๐๐๐ จากผลงาน “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”
พ.ศ. 2549
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์" จากการที่ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและทรงพระวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาตลอดพระชนม์ชีพ
พ.ศ. 2551
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) แถลงข่าวการทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา" (Global Leaders Award)[152] โดยนายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ณ พระราชวังไกลกังวล ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เพื่อเทิดพระเกียรติที่ทรงมีบทบาทและผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่โดดเด่น และพระองค์ทรงเป็นผู้นำโลกคนแรกที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลดังกล่าว นอกจากนี้ สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (IFIA) ยังได้มีมติให้วันที่ ๒ ก.พ.ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา เป็น “วันนักประดิษฐ์โลก”
พ.ศ. 2555 สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences-IUSS) นำโดยอดีตเลขาธิการสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist) โดยทรงเป็นผู้นำประเทศพระองค์แรกของโลกที่ได้รับถวายรางวัล
นอกจากนี้สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชยังทรงเป็นผู้ได้รับมอบถวายปริญญากิตติมศักดิ์มากเป็นสถิติโลกถึง 176 ฉบับ