นักวิทย์ออสซี่เพาะไวรัสโคโรนาในแล็ปสำเร็จ กรุยทางสร้างวัคซีน
นักวิทย์ฯออสเตรเลียเพาะไวรัสโคโรนานอกจีนสำเร็จเป็นแห่งแรก เปิดทางคิดค้นวัคซีนรักษา
นักวิทย์ฯออสเตรเลียเพาะไวรัสโคโรนานอกจีนสำเร็จเป็นแห่งแรก เปิดทางคิดค้นวัคซีนรักษา
สื่อท้องถิ่นของออสเตรเลียรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเพื่อการติดเชื้อและระบบภูมิคุ้มกัน ปีเตอร์ โดเฮอร์ตี (Peter Doherty Institute for Infection and Immunity) ในนครเมลเบิร์น สามารถเพาะเลี้ยงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นอกประเทศจีนได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
รายงานระบุว่า ตัวอย่างไวรัสนั้นออสเตรเลียได้รับแจกมาองค์การอนามัยโลกจากการเก็บตัวอย่างไวรัสจากผู้ป่วยติดเชื้อนอกจีน โดยออสเตรเลียโดยเตรียมแบ่งปันเชื้อเพาะนี้ไปยังห้องแล็ปต่างๆทั่วโลกเพื่อให้ช่วยกันคิดค้นวัคซีนป้องกัน
(ซ้าย) Dr Julian Druce (ขวา) Dr Mike Catton
แม้ก่อนหน้านี้เดือนธันวาคมปีที่แล้ว จีนได้เผยแพร่ข้อมูลลำดับจีโนมของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แต่ ดร.จูเลียน ดรูซ หัวหน้าฝ่ายระบุอัตลักษณ์ไวรัสของสถาบันเผยว่า การที่ออสเตรเลียพัฒนาไวรัสที่มีชีวิตในห้องปฏิบัติการ นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของการวินิจฉัย
เพราะหมายความว่า นักวิทย์ออสเตรเลียจะสามารถทดสอบและทดลองทุกวิธีได้อย่างแม่นยำ และสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติและการตอบสนองของไวรัส เพื่อใช้ในกระบวนการสร้างวัคซีนได้
News Corp Australia
ไวรัสที่ได้รับการเพาะเลี้ยงนี้ จะสร้างantibody test ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจหาไวรัสในผู้ป่วยที่ยังไม่แสดงอาการ หรือยังไม่ทราบว่าได้รับเชื้อมาหรือไม่
"ความสำคัญของการทดสอบแอนตีบอดีสามารถช่วยให้เราตรวจหาการติดเชื้อในผู้ป่วยระยะเริ่มต้นได้ ซึ่งทำให้เราเห็นภาพรวมของการระบาดว่าเป็นวงกว้างเพียงใด รวมถึงสามารถใช้ชี้วัดอื่นๆเช่น อัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ" ดร.ไมค์ แคตตัน รองผู้อำนวยการสถาบัน กล่าว
ด้าน ศาสตราจารย์เบรนดัน เมอร์ฟี หัวหน้าหน่วยงานการแพทย์ออสเตรเลีย กล่าวว่า การเพาะเลี้ยงไวรัสในห้องปฏิบัติการจะช่วยเอื้อให้เกิดการทดสอบต่าง ๆ และนำไปสู่การทดสอบแอนตีบอดีที่รวดเร็วขึ้น
ทั้งนี้ นักวิจัยจากทั่วโลกยังคงพยายามคิดค้นวัคซีนเพื่อหยุดการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยในออสเตรเลีย ขณะนี้มีผู้ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 5 คน โดยหนึ่งในนั้นมี 4 คนที่อยู่ในรัฐนิวเซาท์เวลส์