posttoday

ญี่ปุ่นสดุดีฟูกุชิมา50

19 มีนาคม 2554

ฟูกุชิมา50คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่จำนวน 180 คน ที่สลับกันเข้าไปแก้ไขปัญหาในโรงไฟ้นิวเคลียร์ฟูกุชิมา ท่ามกลางสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหวในระดับที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตสูง

ฟูกุชิมา50คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่จำนวน 180 คน ที่สลับกันเข้าไปแก้ไขปัญหาในโรงไฟ้นิวเคลียร์ฟูกุชิมา ท่ามกลางสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหวในระดับที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตสูง

โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่ชาวญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่นี้ ไม่เปิดโอกาสให้ชาวญี่ปุ่น 180 คน ได้ดำดิ่งจมลงไปอยู่กับความเศร้าสลดและความสูญเสียที่เกิดขึ้น เพราะทั้งหมดต้องเดินหน้าร่วมปฏิบัติการครั้งใหญ่ภายใต้ชื่อที่ชาวญี่ปุ่นเรียกขานว่า ฟูกุชิมา 50 (Fukushima 50)

ญี่ปุ่นสดุดีฟูกุชิมา50

สื่อท้องถิ่นในญี่ปุ่นเผยแพร่ความเคลื่อนไหวของสุดยอดเจ้าหน้าที่จำนวน 180 ชีวิต ซึ่งจะมีทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการระดับกลางและระดับล่าง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค ทหาร และนักดับเพลิง ที่กำลังแก้ไขวิกฤตภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมา ไดอิชิ ซึ่งผันแปรในแบบนาทีต่อนาที โดยทั้งหมดจะสลับกันเข้าทำงานเป็นกะ ครั้งละ 50 คน และเป็นที่มาของชื่อที่เรียกขานว่า Yamatodamashi หมายถึง “จิตวิญญาณแห่งชาวญี่ปุ่น” (Japanese Spirit)

ไม่ใช่เพียงจะเสียสละทำงานท่าม กลางความโหดร้ายของสถานการณ์อันเศร้าสลดที่ผ่านมา แต่ทั้ง 180 ชีวิต ต้องปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางปริมาณสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลในระดับที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตสูงมาก หรือหากรอดชีวิตมาได้ ทั้งหมดอาจจะจบชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งร้าย

ภายในโรงงานมีระดับสารกัมมันตรังสีที่สูงมาก โดยทั้งหมดจะต้องอยู่ในโรงงานแก้ไขสถานการณ์จนกระทั่งถึงนาทีสุดท้ายที่เชื้อเพลิงจะหลอมละลายจนหมด ซึ่งแน่นอนว่าย่อมหมายถึงการแลกด้วยชีวิต

โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เทปโก) บริษัทบริหารและจัดการโรงไฟฟ้าดังกล่าว ขออาสาสมัครเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงตายครั้งนี้ แม้จะยังคงไม่มีรายชื่อของฮีโร่ทั้งหมดปรากฏออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีข้อมูลบางส่วนจากทางครอบครัว ที่มีโอกาสเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้พบหน้าพ่ออีก

หนึ่งในนั้นคือชายวัย 59 ปี ผู้มีประสบการณ์คร่ำหวอดในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มายาวนานกว่า 40 ปี ซึ่งสมัครใจเข้าร่วมปฏิบัติการดังกล่าว ทั้งที่ในอีกเพียง 6 เดือนข้างหน้า ชายผู้นี้จะมีโอกาสได้ใช้ชีวิตในวัยปลดเกษียณกับภรรยาและลูกสาว เฉกเช่นชายวัยเกษียณคนอื่นๆ ได้

“ฉันกลั้นน้ำตาอย่างที่สุด เมื่อรู้ว่าพ่อที่จะเกษียณในอีก 6 เดือน อาสาเข้าร่วม เวลาอยู่ที่บ้าน เขาไม่ได้เป็นคนที่จะรับมือกับงานใหญ่ๆ ได้เลย แต่วันนี้ฉันภูมิใจในตัวเขามากจริงๆ ฉันขอภาวนาให้เขากลับมาอย่างปลอดภัย” @NamicoAoto ลูกสาวของหนึ่งในทีมปฏิบัติการฟูกุชิมา 50 เขียนไว้ในทวิตเตอร์

ทุกคนทำงานแข่งกับเวลา ทั้งหมดแทบไม่ได้หลับตานอน อีกทั้งยังอยู่ภายใต้ปริมาณอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด

“เขาพูดว่า เขายอมรับชะตากรรมของเขาเอง ซึ่งไม่ต่างกับโทษประหาร” ข้อความดังกล่าวระบุไว้ในอีเมลของหนึ่งในทีมฟูกุชิมา 50 ที่ส่งถึงลูกสาว

ก่อนหน้านี้ ภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีพนักงานทั้งสิ้น 1,800 คน ทั้งหมดได้อพยพหนีตายทั้งหมด อีกทั้งยังมีรายงานว่าพนักงานของบริษัทเสียชีวิตไป 5 คน

กระทั่งผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติชื่นชมในความเด็ดเดี่ยวของผู้กล้าทั้ง 180 คน ดังกล่าว

“อนาคตของโรงงานนิวเคลียร์ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถแก้ไขวิกฤตนี้อย่างไร... ผมรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของผมที่จะต้องช่วย” ชายคนดังกล่าวเผยกับลูกสาว

ริก ฮัลลาร์ด เจ้าหน้าที่ในภาคอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของอังกฤษเป็นเวลากว่า 30 ปี เผยว่า ความกดดันที่เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้ต้องแบกรับนั้นมหาศาล แต่ทั้งหมดอาจจะไม่มีโอกาสและเวลาที่จะรู้สึกถึงสิ่งนั้นจนกระทั่งปฏิบัติการดังกล่าวสิ้นสุด

ทั้ง 180 ชีวิต ภายใต้ภารกิจฟูกุชิมา 50 คือการแลกทั้งชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณอันมุ่งมั่นและเข้มข้นด้วยความกล้าหาญ ทั้งหมดไม่เพียงแต่กำลังพยายามกอบกู้ชีวิตชาวญี่ปุ่นและครอบครัวของตัวเองเท่านั้น แต่กำลังยื้อลมหายใจของคนอีกนับล้านที่อาจจะต้องก้าวเข้าสู่หายนะหากเชื้อเพลิงปฏิกรณ์ดังกล่าวหลอมละล