posttoday

หนังสือลับสบน.แย้งรบ.กู้หนี้จำนำข้าว

31 มกราคม 2557

เปิดหนังสือลับ "สบน."“กิตติรัตน์” ดันทุรัง กู้หนี้จำนำข้าว หากผิดกฎหมาย ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

เปิดหนังสือลับ "สบน."“กิตติรัตน์” ดันทุรัง กู้หนี้จำนำข้าว หากผิดกฎหมาย ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

หนังสือลับสบน.แย้งรบ.กู้หนี้จำนำข้าว

หนังสือลับสบน.แย้งรบ.กู้หนี้จำนำข้าว

หนังสือลับสบน.แย้งรบ.กู้หนี้จำนำข้าว

สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้ทำบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด เลขที่ กค 0900/192 ถึงรองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน เพื่อขอให้นำเรียนข้อสังเกตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อกรณีการค้ำประกันเงินกู้โครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต 2556/2557

จากการตรวจสอบพบว่า ในช่วงท้ายบันทึกข้อความฉบับนี้ ระบุข้อความเห็นของ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะไว้ดังนี้

"...สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะพิจารณาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ตลอดจนความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดรอบคอบแล้ว
เห็นว่า

2.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต2556/2557 กรอบวงเงิน270,000 ล้านบาท คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการและให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาเงินทุนให้กับ ธ.ก.ส. เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการดังกล่าวก่อนที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรฯ และในส่วนของการค้ำประกันเงินกู้ของโครงการดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติภายหลังจากที่ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว

แต่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นว่า “โครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/2557 ได้ก่อให้เกิดหนี้ที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติไว้แล้วก่อนมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2556 ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 อนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน เงื่อนไขและรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสม และจำเป็น (ดูหนังสือเชิญชวนธนาคารประกอบท้ายเรื่อง) จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 เพื่อให้สามารถชำระหนี้ของรัฐบาลตามโครงการที่ได้รับอนุมัติก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่ถือเป็นการกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการหรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามบทบัญญัติมาตรา 181(3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” (ดูเอกสารฉบับเต็มประกอบท้ายเรื่อง)

2.2 การที่ กกต.มีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการกู้ยืมเงินโดยการปรับลดวงเงินกู้และค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจบางแห่งลง และนำวงเงินกู้มาเพิ่มให้แก่ ธ.ก.ส. สำหรับนำมาใช้จ่ายในโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายของรัฐบาลนั้น อาจมีผลกระทบต่อความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี หากมีการวินิจฉัยชี้ขาดโดยองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ต่อไปว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจเป็นการฝ่าฝืนหรือละเมิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอันอาจมีผลทำให้เกิดความรับผิดชอบในทางกฎหมายและในทางการเมืองตามมาได้

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ จึงมีข้อสังเกตว่า การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต2556/2557 ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น อาจถูกวินิจฉัยชี้ขาดโดยองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ฯ ต่อไปได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ มาตรา181(3) หรืออาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้

อย่างไรก็ตาม สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะตระหนักดีว่า กระทรวงการคลังมีภารกิจที่ต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 และวันที่ 21 มกราคม 2557 ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น จึงเห็นควรนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาทบทวน หรือสั่งการยืนยันให้ดำเนินการดังกล่าวต่อไป”