posttoday

แห่ดูวัวประหลาด2ขาแต่ยังแข็งแรง

08 ตุลาคม 2553

ตะลึงลูกวัว 2 ขาแข็งแรงกินเก่งเจ้าของเผยคลอดกลางทุ่ง มั่นใจรอดชีวิต เผยอาจจะฝึกเดิน 2 ขาได้

ตะลึงลูกวัว 2 ขาแข็งแรงกินเก่งเจ้าของเผยคลอดกลางทุ่ง มั่นใจรอดชีวิต เผยอาจจะฝึกเดิน 2 ขาได้

 

แห่ดูวัวประหลาด2ขาแต่ยังแข็งแรง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่บ้านเลขที่ 187/1 ม.3 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ชาวบ้านในระแวกใกล้เคียงได้เดินทางไปเยี่ยมชมลูกวัวประหลาดคลอดออกมามีเพียง 2 ขาหลัง และได้เข้าไปตรวจสอบพบว่า ลูกวัวตัวดังกล่าวเป็นเพศเมีย เพิ่งเกิดใหม่มีลักษณะแข็งแรง แต่มีขาขาเพียง 2 ขาเท่านั้น เป็นขาหลังทั้ง 2 ขา ส่วนด้านหน้าไม่มีขาโผล่ออกมาแต่อย่างใด หรือมีลักษณะคล้ายกับจิงโจ้ ส่วนเจ้าของวัวดังกล่าวคือนาย คราด วิทยานุเคราะห์ อายุ 62 ปี ได้อุ้มลูกวัวมาให้ผู้สื่อข่าวดู ก่อนจะนำเข้าไปผูกแขวนไว้กับเสื้อยืดที่ดัดแปลงเป็นเปล เพื่อให้ลูกวัวได้ออกกำลังกล้ามเนื้อขาด้านหลัง โดยตลอดเวลามีชาวบ้านแวะเวียนมาชมไม่ขาดสาย
 
นางวรรณี วิทยานุเคราะห์ อายุ 59 ปี ภรรยาของนายคราด ซึ่งเป็นผู้ดูแลวัวตัวดังกล่าว แจ้งว่า ลูกวัว 2 ขาตัวดังกล่าวชื่อ “เจ้าสอง” เพราะมี 2 ขา โดยคลอดเมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมาขณะที่นายคราด สามีนำแม่ของมัยชื่อ “อีแดง” ไปเลี้ยงกลางทุ่งนา และก็ตกลูกกลางทุ่ง แต่พอพินิจพิจารณาพบว่าลุกวัวไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ เนื่องจากมีขาหลังเพียงสองขา ไม่มีขาหน้า แต่สภาพร่างกายที่แข็งแรงดี เพศเมียมีความสูงประมาณ 2 ฟุต ความยาวประมาณ 60-70 ซม.มันพยายามที่จะดูดนมแม่ของมันแต่ไม่สามารถพยุงตัวได้ นายคราด สามีจึงอุ้มลูกวัวกลับมาเลี้ยงไว้ที่บ้านโดยใช้นมผงสำหรับสัตว์แรกเกิดชงใส่ขวดให้ดูดวันละ 4-5 ครั้ง
 
ทั้งนี้หากปล่อยให้นอนเพียงท่าเดียวจะไม่แข็งแรง จึงผูกเสื้อยืดโดยให้ขาหลังอยู่ในแขนเสื้อแล้วผูกพยุงไว้ในท่ายืนลูกวัวจึงได้ออกกำลังขาหลังแข็งแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลานๆ ได้ร่วมตกลงกันตั้งชื่อวัวตัวนี้ว่า “น้องสอง” เนื่องจากมี 2 ขานั่นเอง หากแข็งแรงเช่นนี้เชื่อว่าจะเลี้ยงไหวต่อไป หรืออาจต้องทำขาเทียมให้มัน แต่คิดว่าถ้าฝึกฝนมันได้มันอาจจะเดิน 2 ขาก็เป็นได้ นางวรรณาฯ กล่าว
 
ด้านนสพ.พรภิรมย์ ฟุ้งตระกูล สัตวแพทย์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ลูกวัวลักษณะเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือปัจจัยภายในอาจจะเกิดจากความผิดปกติของการแบ่งเซลในตัวอ่อนเมื่อปฏิสนธิ และปัจจัยภายนอกคืออาจเกิดจาก เกิดความผิดปกติแบ่งเซลย์ของตัวอ่อนที่มีภาวะสารตกค้างในตัวแม่วัวเข้ามาอาจทำให้เกิดความผิดปกติเช่นนี้ได้แต่กรณีนี้เข้าใจว่าเกิดความผิดปกติจากพันธุกรรมภายในมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งหากดูแลดีลุกวัวก็มีชีวิตรอดได้