posttoday

เจาะเส้นทางสร้างแบรนด์ "โฟกัส" ในตลาดฟิล์ม-กระจกกันรอย

29 ธันวาคม 2563

แกะรอยการสร้างแบรนด์ ฟิล์ม และ กระจกกันรอย สัญชาติไทยแบรนด์ "FOCUS" ที่อยู่ในตลาดเมืองไทยมากว่า 10 ปี จนเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ แข็งแกร่งและมือิทธิพลไม่น้อย ในตลาดอุปกรณ์ นอน-อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่ากว่า 5 พันล้าน

เจาะเส้นทางสร้างแบรนด์ \"โฟกัส\" ในตลาดฟิล์ม-กระจกกันรอย

อมรศักดิ์ แดงแสงทอง รองประธานฝ่ายการตลาด บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายฟิล์มและกระจกกันรอยภายใต้ แบรนด์ “Focus” (โฟกัส) ย้อนรอยผลิตภัณฑ์แบรนด์ โฟกัส เกิดขึ้น เมื่อราว 10 ปีก่อน

จากแนวคิดหหลัก คือ ต้องการสร้างแบรนด์สินค้าอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้บริโภคจำฝังใจได้อย่างแม่นยำถึงยี่ห้อฟิล์มได้ในทุกครั้ง เมื่อต้องเดินไปที่ "ร้านตู้มือถือ" ที่ตั้งกระจายในศูนย์การค้าแหล่งต่างๆ เพื่อ ติดฟิล์มสมาร์ทโฟน

ขณะที่ ร้านตู้มือถือ ส่วนใหญ่ ก็มักเลือกที่จะ ติดฟิล์ม อะไรก็ได้ให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ แถมไม่มีการบอกกล่าวยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ให้กับลูกค้าทั้งสิ้น แถมฟิล์มกันรอยบางยี่ห้อที่ติดไปแล้ว เมื่อแกะออกมาแล้วเป็นรอย ยิ่งสร้างความปวดใจให้กับเจ้าของมือถือแบบสุดๆ อีกด้วย

นับเป็น "Pain Point" หลักๆ ทำให้บริษัท ดีพลัสฯ มองเห็นว่า เป็นโอกาส และจังหวะที่ดี ต่อการลุกขึ้นมาทำแบรนด์ฟิล์ม FOCUS (โฟกัส) ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยไปพร้อมกับจุดแข็ง คือ การที่บริษัทฯ มีโรงงานผลิตสินค้าฟิล์มกันรอย เป็นของตัวเอง ซึ่งปัจจุบันโรงงานฟิล์ม และ กระจกกันรอย "โฟกัส" ตั้งอยู่ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมทุรปราการ

"สมัยก่อน พอฟิล์มติดเสร็จแล้วลอกออกมาเป็นคราบกาว ทำโทรศัพท์เสียอีกด้วย อันนี้๋ก็เป็นเพน พอยท์ อีกอย่างที่ผู้บริโภคต้องการใช้สินค้าดีๆ มีคุณภาพ มาป้องกัน ดูแล สมาร์ทโฟน ที่มีราคาค่อนข้างสูงไม่น้อยในตอนนั้น" อมรศักดิ์ เล่า

ขณะเดียวกัน บริษัทก็มีจุดแข็ง ด้านโรงงานผลิต และ คลังสินค้า เป็นของตัวเอง ยิ่งทำให้สามารถควบคุมการผลิตสินค้าได้ตรงตามสเป็คที่ต้องการ จากการสั่งซื้อวัตถุดิบ ต่างๆ เช่น ฟิล์ม กระจก ซิลิโคน จากต่างประเทศ เพื่อนำเข้ามาผลิตสินค้าได้ตรงตามรุ่นทุกล็อตที่ดีไซน์ไว้ 

อมรศักดิ์ เสริมถึงวัตถุดิบที่้่ใช้ผลิตสินค้าในปัจจุบัน มาจากหลากหลายแหล่งนำเข้า อย่างฟิล์ม ในอดีตนำเข้าจากญี่ปุ่น หรือใน ปัจจุบันใช้กระจกมากขึ้น บริษัทก็ใช้วัตถุดิบจากญี่ปุ่น เช่นกัน หรือ ซิลิโคน และ ชิ้นส่วนอื่นๆ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำ โฟกัส แตกต่างไปจากรายอื่น

นอกจากนี้ บริษัทยังมีทีมวิจัยและพัฒนา(อาร์แอนด์ดี) เป็นของตัวเอง รวมถึงทีมสำรวจและลงพื้่นที่ (เซอร์เวย์) ที่เข้าไปเก็บข้อมูลเชิงลึกจาก สำรวจความต้องการใช้งานที่แท้จริงของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ส่วนทีมอีกฝั่งหนึ่งก็ทำหน้าที่ทดสอบการผลิตสินค้า ที่รวมๆแล้วมีมากกว่า 10 คน

จุดกำเนิด "โฟกัส" เริ่มจากฟิล์มติดกล้องดิจิทัล

อมรศักดิ์ เล่าต่อถึง Journey เส้นทางก่อนจะมาเป็นแบรนด์ โฟกัส ที่จริงๆ แล้ว เกิดขึ้นมานานกว่า 10 ปีก่อน ซึ่งในยุคนั้นบริษัทเริ่มต้นทำ ฟิล์มกันรอยสำหรับหน้าจอกล้องดิจิทัล โดยค่าบริการติดฟิล์มกันรอยในสมัยนั้นสนนราคาอยู่ที่กว่า 500 บาท ทีเดียว สำหรับขนาดฟิล์มไม่ถึง 10 นิ้ว 

จากนั้น ได้เกิดจุดเปลี่ยนครั้งที่หนึ่ง คือ โทรศัพท์ ที่มีหน้าจอใหญ่ขึ้น ด้วยเมื่อผู้คนเริ่มยุ่งกับหน้าจอ หรือ Touch Screen มากขึ้น ทำให้ลูกค้าเป็นห่วงหน้าจอโทรศัพท์ของตัวเองมากขึ้นตามมา จากในอดีตที่คนไม่เคยยุ่งกับหน้าจอโทรศัพท์ เลย ถือว่าเป็นการเข้าสู่ยุคของสมาร์ทโฟน

และเป็นก้าวกระโดด ครั้งใหญ่ของ แบรนด์ "โฟกัส"

จากนั้นในยุคต่อมา คือผู้คนเปลี่ยนมาใช้กระจกกันรอยมากขึ้น ด้วยตอบสนองความต้องการใช้งานได้ดีกว่า ทั้งไม่เป็นริ้วรอย และ มีความใสกว่า และเป็นที่นิยมใช้มาจนถึงปัจจุบัน และได้เข้าสู่ "ยุคกระจกกันรอย" ที่มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่จากความสามารถ ของบริษัท เองที่มีความพร้อมด้านการผลิตจากที่กล่าวข้างต้น ทำให้สามารถจัดตั้งทีมผลิตสินค้าได้อย่างหลากหลายรุ่นตรงความต้องการลูกค้า

อนาคตขอ"โฟกัส" รุ่นสินค้าตามไลฟ์สไตล์

ปัจจุบันแบรนด์ "FOCUS" แบ่งสัดส่วนการทำตลาดสินค้าราว 80% เป็นกระจกกันรอย ทั้งสำหรับ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค แอร์พอด แก็ดเจ็ต ต่างๆ ส่วนที่่เหลืออีก 20% เป็นกลุ่มฟิล์มกันรอย

อมรศักด์ ยังได้มองต่อถึงสเตตัสแบรนด์โฟกัสในอนาคต อีก 5 ปีข้างหน้าว่า ตราบใดที่ผู้คน ยังมีการสัมผัสหน้าจอ บริษัทก็พร้อมที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการใช้งานตามไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค ด้วยฟิล์มกันรอย และ กระจกกันรอย ที่มีจำนวนหลากหลายรุ่น ตามไลฟ์สไตล์ที่ตรงกับการใช้งานมากขึ้น

ล่าสุด บริษัทเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “โฟกัส อัลติเมท กลาส” (Focus Ultimate Glass) จุดเด่น ด้านความแข็งแกร่ง กันกระแทกสูงถึง 3 เมตร รับรอยขีดข่วนมากกว่า 3,000 ครั้ง พร้อมการันตีคุณภาพรับประกันนาน 1 ปี เคลมได้ในทุกรณีทั้งแตก ชำรุด ไม่ว่าที่ขอบหรือตัวกระจก ในราคา 690 บาท พร้อมวางเป้าหมายทำยอดขายปีละ 20 ล้านบาท โดยเปิดตัวรุ่นแรกสำหรับแบรนด์ iPhone รองรับ iPhone 12 ทุกรุ่น

โฟกัส รักษาแชมป์เจ้าตลาดฟิล์ม-กระจกกันรอย

อมรศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดฟิล์ม หรือ กระจกกันรอยในปัจจุบันยังไม่มีการแยกเก็บข้อมูลที่ชัดเจน ด้วยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาทำตลาดเอง แต่หากรวมผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุปกรณ์เสริม นอน-อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันแล้ว คาดว่ามีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5-6 พันล้านบาท

ขณะที่ บริษัท วางเป้าหมายยอดขายสินค้าฟิล์ม และ กระจกกันรอยในปี 2564 คาดว่าโตไม่ต่ำกว่า 10% จากในปี 2563 มียอดขายผลิตภัณฑ์ฟิล์มและกระจกันรอยภายใต้แบรนด์ฟิล์มโฟกัส มากกว่าา 100 ล้านบาท โดยเฉพาะในรุ่นที่ขายดีสุด เจาะตลาดกลุ่มแมส

โดยมีช่องทางจำหน่าย เข้าถึงหน้าตู้มือถือมากกว่า 5000 ตู้ และ ใน โมเดิร์นเทรด ทุกช่องทาง และ ร้านค้าออนไลน์ ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ โดยมีกลุ่มสินค้ารุ่น "พรีเมียม แมส" ที่ครองใจสาวกไอโฟน

ปัจจุบัน บริษัทผลิตสินค้าแบรนด์ตัวเองสัดส่วน 90% และทำตลาดต่างประเทศ ในเกาหลี โดยใช้แบรนด์ FOCUS และ Ablemen วางตำแหน่งเป็น ซูเปอร์พรีเมียมแบรนด์ ที่ปัจจุบันทำตลาด เอ็กซคลูซีฟ กับร้านค้าพันธมิตรในไทย บางแห่งเท่านั้น

โดย ดวงใจ จิตต์มงคล