สรุป 5 ข้อเสนอเร่งด่วนเอกชนต่อ “พิธา” หนุนเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน
สรุปข้อเสนอเร่งด่วนเอกชนต่อ “พิธา” ในการเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม 5 ด้าน หลังเดินทางเข้าหารือกับ ส.อ.ท.
วันนี้ (23 พ.ค.2566) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. ให้การต้อนรับ
โดยได้มีการกรอบข้อเสนอเร่งด่วนในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม 5 ด้าน ต่อผู้บริหารพรรคก้าวไกล ประกอบด้วย
1.การแก้ไขปัญหาต้นทุนพลังงาน
การแก้ปัญหาคค่าไฟฟ้าระยะสั้นมาตรการ 100 วัน
ไฟฟ้าสำรองเกิน 30% และตามสัญญา 54% จะแก้ปัญหาอย่างไร ?
- ของเดิม : เจรจา ค่าAP
- อย่าเร่งของใหม่เข้าระบบ
NG ใน อ่าวไทย ควรจะจัดสรรอย่างไรให้เหมาะสม
- โรงไฟฟ้า & ปิโตรเคมี & อุตสาหกรรม
- เร่งขุดเจาะตามสัญญา
ลด Lock Solar / โปรโมท Solar
- ศึกษา Net metering vs Net billing
- ปลดล็อค เรื่อง ใบอนุญาต รง4 ของการติดตั้ง Solar กำลังไฟฟ้าเกิน 1 MW
- ลดภาษีนำเข้า แผง Solar และอุปกรณ์
แก้หนี้การไฟฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. (EGAT) ด้วยมาตรการทางการเงิน เพื่อลดภาระ FT เช่น ออกพันธบัตรรัฐบาล
เร่งตั้ง กรอ. พลังงาน เพื่อร่วมหามาตรการระยะกลางและระยะยาวร่วมกัน
2.การแก้ไขปัญหาแรงงาน
ปัญหาและข้อเสนอด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงาน
- ผลิตภาพแรงงานต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านกับต้นทุนต่อหน่วยสินค้าสูง โดยต้องกำหนดให้ผลิตภาพแรงงานเป็นวาระแห่งชาติ (The National Agenda for Labour Productivity) เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงาน สร้างความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง
- ขาดฐานข้อมูล (Big Data) กำลังแรงงาน สำหรับบริหารจัดการ Demand & Supply โดยรัฐควรพัฒนาระบบฐานข้อมูล Big Data โดยมีหน่วยงานเฉพาะมารับผิดชอบ เพื่อวางแผนพัฒนากำลังคน สร้างความสมดุลด้านกำลังแรงงาน Demand & Supply แก้ปัญหา Mis-Matching
3.การส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs
- จัดทำ Government Service Catalog for SMEs พัฒนาต่อเนื่องและส่งต่อผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบจากหน่วยงานต่อหน่วยงาน
- มาตรการช่วยเหลือ SMEs ด้านสภาพคล่องทางการเงิน มาตรการบรรเทาภาระหนี้ของลูกหนี้การเลื่อนการชำระหนี้ลดภาระหนี้และการให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการมีโอกาสกลับมาแข่งขันได้อย่างเข้มแข็ง
- จัดตั้งกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการ SME เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม และดิจิทัล รวมทั้งสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ สามารถรปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม (CBAM) มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง เป็นต้น
- ออกมาตรการช่วยลดภาระต้นทุนการผลิตให้แก่ SME ที่อยู่่ในระบบภาษีเช่น ลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ลดค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น เพื่อลดภาระด้านต้นทุนในการประกอบการ และจูงใจให้SME เข้าสู่ระบบภาษี
4.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ยกระดับการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
- ประเทศไทยมีความพร้อมและมีศักยภาพด้านเกษตร อาหาร และความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้เปน็ เศรษฐกิจหลักของประเทศ
- ประเทศไทยต้องพัฒนาเพื่อเปลี่ยนถ่ายจากอุตสาหกรรมผู้รับจ้างผลิต ไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มและมีแบรนด์ของคนไทยเอง
แนวทางการดำเนินการ
-พัฒนาและส่งเสริมตลอด Value Chain โดยเน้นพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ อ้อย ยางพารา ปาล์ม มันส าปะหลัง ข้าว ผลไม้ และพืชสมุนไพร
- ขยาย BCG Model ไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ทั้งนี้ส.อ.ท. ก าลังพัฒนา BCG model ของอุตสาหกรรมยางพารา ปาล์ม ที่ชลบุรีและ BCG model ของอุตสาหกรรมน้ำตาล ที่นครสวรรค์
- ส่งเสริมนวัตกรรม วิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น (HVA) เช่น การสกัดสารจากพืชเพื่อท ายาและเครื่องสำอางหรืออาหารเสริม เป็นต้น
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ให้รองรับและเพียงพอต่อการพัฒนาดังกล่าว
สนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ เทคโนโลยี Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) เทคโนโลยี Green Hydrogen และกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเปน็ ธรรม เพื่อลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมายสู่ Carbon Neutral
ส่งเสริมการดำเนินงานของทุกภาคส่วนให้เป็นไปตามแนวทาง ESG (Environment, Social และ Governance)
5.การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อส่งเสริม Ease of Doing Business
- การเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยวิธีการปฏิรูปกฎหมายเป็นวิธีที่มีต้นทุนต่ำสุด และมีโอกาสสำเร็จได้ง่าย เมื่อเทียบกับเครื่องมือทางการเงินการคลัง