posttoday

กระทรวงพาณิชย์ย้ำ ไทยอย่ากลัวที่จะเจอกับกติกาใหม่ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม

07 มิถุนายน 2566

ปลัดพาณิชย์แนะ ผู้ประกอบการไทยควรสร้างโอกาสทางธุรกิจจากกติกาการค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงเป็นการตอบสนองกระแสเรื่องการแก้ปัญหาโลกร้อน แต่ควรรู้ทันด้วยว่าเป็นการกีดกันทางการค้าหรือไม่ เน้นสร้าง BCG มากๆ

กระทรวงพาณิชย์ย้ำ ไทยอย่ากลัวที่จะเจอกับกติกาใหม่ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ขึ้นกล่าวบนเวทีสัมนา “Innovation Keeping the World นวัตกรรมรักษ์โลกไทยอยู่จุดไหน?” เมื่อวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 โรงแรมอีสติน แกรนด์พญาไท กรุงเทพฯ จัดโดย Spring News เนชั่นออนไลน์ ฐานเศรษฐกิจ สื่อในเครือเนชั่น ในหัวข้อ “กติกาโลกใหม่ ไทยรับมืออย่างไร?” โดยกล่าวถึง สถานะการส่งออกของไทยในปัจจุบัน (เดือนเมษายน) ลดลงจากปีก่อน 7.6% ส่วนการนำเข้า ดุลการค้าเห็นเค้าลางในด้านการติดลบ

4 เดือนที่ผ่านมา ลดไป5.2% แต่เป็นการติดลบที่เกิดจากปีที่แล้วบวกไว้เยอะ หรือฐานสูง

สินค้าเกษตรมาแรงสุด คือ ผลไม้ ได้แก่ มังคุดและทุเรียน ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม ติดลบ

เหตุผลสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องรู้ก็คือ กฎกติกาทางการค้า การส่งออกที่เปลี่ยนไป และเราต้องทำตาม ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของสุขอนามัยและคุณภาพมาตรฐาน

หรือ มาตรการแปลกๆ เช่น สวัสดิภาพสัตว์ มาตรฐานแรงงาน การค้ามนุษย์ อาจดูสวยหรูในอุดมคติ เพราะอยากยกระดับการค้า แต่ก็มีการกีดกันเข้ามาด้วย

 

กระทรวงพาณิชย์ย้ำ ไทยอย่ากลัวที่จะเจอกับกติกาใหม่ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม

 

แต่เราต้องรู้ว่า อะไรคือการกีดกัน/ไม่กีดกัน

เช่น กฎกติกาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง ในแต่ละปีมีเพิ่มมากขึ้น จากประเทศที่ชอบกำหนดมาตรการทางการค้าเช่น อันดับ 1 สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน แคนาดา ตามลำดับ เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมกลายเป็นหัวข้อใหญ่

แต่สำคัญก็คือ กฎกติการะหว่างประเทศเกี่ยวกับการค้าและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะต้องไม่เลือกปฏิบัติและห้ามจำกัดการนำเข้าและส่งออก ต้องใช้มาตรการกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันทุกประเทศ ต้องใช้มาตรการกับสินค้านำเข้าและสินค้าที่ผลิตภายในประเทศอย่างเท่าเทียมกัน

แต่ตนมองว่า ในอีกทางหนึ่ง เรื่องนี้ก็เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสอย่างหนึ่ง

"ไม่ทำได้ไหม ถ้ามันยาก คำตอบคือ ถ้าไม่ทำ ก็ไม่ต้องค้าขายกัน เพราะถ้าลูกค้าต้องการก็ต้องทำ หากเรายังดำรงอยู่ในการค้าขายระหว่างประเทศอยู่ แต่หน่วยงานรัฐฯ ก็ต้องสนับสนุน"

พร้อมยกตัวอย่างว่า ตอนเราโดนตัด GSP (สิทธิในการลดภาษี) จากสหรัฐอเมริกา แต่ในสินค้าที่โดนตัดสิทธิก็ไม่ได้ปริมาณการส่งออกลดลงในปีต่อมา พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าเราก้าวข้ามการแข่งขันเรื่องราคา มาเน้นเรื่องคุณภาพของสินค้ามากขึ้น เราก็สามารถมีปริมาณการส่งออกเพิ่มมากขึ้นได้

 

กระทรวงพาณิชย์ย้ำ ไทยอย่ากลัวที่จะเจอกับกติกาใหม่ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม

 


ตัวอย่างมาตรการที่กำลังเป็นที่จับตามองทั่วโลก

 

เช่น มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM)ของสหภาพยุโรป

คำถามคือ เราจะทำยังไง? ผู้ประกอบการต้องศึกษาดูว่า เราควรจะทำยังไงกับกฎกติกาใหม่ๆ  ที่มันเกิดขึ้น จะปรับตัวยังไง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาช่วย เพราะตอนนี้ประเทศต่างๆ  ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทุกวันนี้เกิดคำถามว่า How Sustainable? มากกว่าคำว่า How Much? สินค้าเราช่วยโลกอย่างไร และเรื่องราคาไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไป

ต้องคำนึงถึงบริบทต่างๆ ด้วย เช่น มาตรการใหม่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

 

 

กระทรวงพาณิชย์ย้ำ ไทยอย่ากลัวที่จะเจอกับกติกาใหม่ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม


กระทรวงพาณิชย์ได้ให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทยดังนี้:

- ปรับตัวใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

- เตรียมความพร้อมด้านข้อมูล

- พยายามสร้างเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นจุดขาย

- แสวงหาโอกาสใหม่ๆ เกี่ยวกับธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ปล่อยคาร์บอนต่ำ

- ติดตามพัฒนาการของนโนบายและมาตรการด้านการค้าที่เกี่ยวข้องกับสาขาธุรกิจของตนอย่างใกล้ชิด

- จับมือกับภาครัฐ สื่อสารสองทาง

ยิ่งกว่านั้น กระทรวงพาณิชยได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs

สำหรับตนมองว่า ผู้ประกอบการควรใส่ BCG model ใส่เข้าไปเยอะๆ

พัฒนาตัว product สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น Dewa / Diwa สินค้าไลฟ์สไตล์จากวัสดุเหลือใช้ ที่ประสบความสำเร็จ เช่น เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ โครงการ 50 Heroes / Sustainability Heroes / 50 BCG Brands 

พร้อมย้ำว่านี่คือ โอกาสในการพัฒนาตัวเอง อย่ากลัวที่จะเจอกับกติกาใหม่ๆ เพราะต่อไปก็ต้องเจอเรื่องใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอีก ต้องมองว่า เรื่องสิ่งแวดล้อม มันทำเพื่อทุกคนในโลกนี้