posttoday

LINE ประเทศไทย ขับเคลื่อน Smart Country ด้วย LINE Economy พัฒนาผ่าน 4 กลยุทธ์

20 มิถุนายน 2566

LINE ครบรอบ 12 ปีในไทย ขับเคลื่อนประเทศสู่ Smart Country ด้วย LINE Economy ที่มีผู้ใช้กว่า 54 ล้านคน มุ่งผสานเทคโนโลยีกับ user ผ่าน 4 กลยุทธ์

ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย กล่าวว่า LINE ก้าวสู่ปีที่ 12 ด้วยการเติบโตจากแอปพลิเคชั่นสื่อสาร มาเป็นแพลตฟอร์มสำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันที่สำคัญของผู้ใช้งานกว่า 54 ล้านคนในปัจจุบัน (ณ มิถุนายน 2566)

โดยมีประชากรผู้ใช้หลากหลายภาคส่วน ธุรกิจ พันธมิตร คอมมูนิตี้ ที่ทำงานร่วมกันกับบริการและโซลูชันส์ต่าง ๆ บนระบบนิเวศจนเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจบนแอป LINE (LINE Economy) นำไปสู่โจทย์ทางธุรกิจข้อถัดไปในการสร้างความยั่งยืนบนแพลตฟอร์มที่เติบโตนี้

ทั้งนี้ LINE ประเทศไทย มีหมุดหมายสำคัญคือการผลักดันแพลตฟอร์ม LINE ด้วยบทบาทในระดับมหภาค บนความมุ่งมั่นที่อยากจะเห็นแอปพลิเคชั่น LINE มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น Smart Country หรือการที่เทคโนโลยีของ LINE มีบทบาทสำคัญในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สอดประสานเข้าด้วยกัน นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย

4 กลยุทธ์สร้าง LINE Economy ระบบเศรษฐกิจบนแอป LINE 

1.     ผสานจุดแกร่งระบบนิเวศเพิ่มขีดการแข่งขัน

หลังเสริมทัพแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงและจัดกลุ่มธุรกิจใหม่เพื่อปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม, กลุ่มธุรกิจ Consumer Business, กลุ่มธุรกิจ LINE For Business, กลุ่มธุรกิจคอนเทนต์และบริการใหม่ และกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ  

โดย- LINE ประเทศไทย  เดินหน้าสร้างพันธมิตร ไปพร้อมกับการผสานจุดแกร่งระหว่างบริการ – โซลูชันส์บนระบบนิเวศ เพื่อนำเสนอโซลูชันส์ในรูปแบบใหม่ ๆ ไปสู่การเพิ่มขีดการแข่งขันให้แก่ลูกค้าธุรกิจในทุกระดับ ด้วยการดึงข้อได้เปรียบจากการเป็นแพลตฟอร์มที่มีโซลูชันส์ครบครัน สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 

2.     ชูการเป็น Smart Platform ขับเคลื่อน Smart Country

หมุดหมายสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Country คือการที่ทุกภาคส่วนในประเทศประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับการดำเนินการในส่วนต่าง ๆ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ซึ่ง LINE มุ่งหวังให้เทคโนโลยีบนแพลตฟอร์มเป็นส่วนช่วยผลักดันในด้านต่าง ๆ

ไม่ว่าจะในส่วนภาครัฐ ที่นำเสนอบริการ e-Service ให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าถึงและตรวจสอบการดำเนินการผ่านบัญชีทางการ LINE ได้ง่าย ๆ ในไม่กี่ขั้นตอน ส่วนภาคเอกชน ที่นำโซลูชันส์ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม LINE มาสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจที่ต้องการแข่งขัน อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า และภาคประชาชน

ด้วยประสบการณ์การใช้งานแอป LINE ในชีวิตประจำวันผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่การสื่อสาร โซเชียลมีเดีย ช้อปปิ้ง คอนเทนต์ข่าวสาร สั่งอาหาร ฯลฯ มากไปกว่านั้น คือการส่งเสริมให้ผู้ใช้สามารถเป็นได้หลากหลายบทบาทในเวลาเดียวกัน ทั้งครีเอเตอร์ แอดมินของคอมมูนิตี้ ผู้ประกอบการ โดยมี LINE เป็นแพลตฟอร์มรองรับ

3.    สร้างคุณภาพชีวิต Life on LINE ที่ดีบนโลกดิจิทัล

นอกจากบริการต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ ที่ LINE ประเทศไทย ริเริ่มแนวคิด LINE Digital Well-being ซึ่งต้องการปักหมุดในระยะยาว เพื่อให้ความสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่บนโลกดิจิทัล โดยที่ผ่านมาได้ทำแคมเปญรณรงค์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

เริ่มจากการบริหารเวลาเพื่อลดความเหนื่อยล้าบนโลกออนไลน์ ความเห็นอกเห็นใจและทัศนคติเชิงบวกบนโลกออนไลน์  การดูแลความสัมพันธ์รอบตัว ซึ่ง LINE ประเทศไทย ก็ได้หยิบยกแง่มุมใหม่ ๆ มานำเสนอเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในประชากรผู้ใช้เพื่อสุขภาวะที่ดีบนโลกดิจิทัล