posttoday

ETDA เปิดอนาคตการใช้ดิจิทัลภาคท่องเที่ยวปี 2576 ธุรกิจ SME ต้องไปทางไหน

22 มิถุนายน 2566

ETDA เปิดภาพอนาคตดิจิทัลด้าน “สุขภาวะและท่องเที่ยวไทย” คู่มือ SME ไทย วางแผนรับมือ 10 ปีข้างหน้า พบดิจิทัลทำลายสมดุลชีวิตเพิ่มขึ้น ขณะที่ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพทางกายและใจมาแรง

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA  โดย ศูนย์คาดการณ์อนาคต (Foresight Center by ETDA) หรือ ETDA Foresight กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดผลการศึกษาฉากทัศน์อนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า หรือ ปี 2576 พบ ดิจิทัลจะกลายเป็นเครื่องมือทำลายสมดุลชีวิต คนเกิดความเครียด วิตกกังวลทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพทั้งทางกายภาพและจิตใจ กลับเป็นกระแสมาแรงที่น่าจับตา

ETDA เปิดอนาคตการใช้ดิจิทัลภาคท่องเที่ยวปี 2576 ธุรกิจ SME ต้องไปทางไหน

นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดดีอีเอสและบอร์ด ETDA กล่าวว่า  “สุขภาวะความเป็นอยู่ (Well-Being)” และ “การท่องเที่ยว (Tourism)” ที่ ETDA Foresight นำมาศึกษาเพื่อให้ได้ภาพฉากทัศน์อนาคตที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าชัดเจนขึ้น ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะเข้ามาเร่งเครื่องทั้งในมุมของการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะ “การท่องเที่ยว” ที่ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นอันต้นๆ และกำลังเผชิญกับความท้าทายของการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เข้ามาพลิกโฉมวิถีและพฤติกรรมการท่องเที่ยว จนนำมาสู่สภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรง 

ขณะที่ “ความเป็นอยู่ของคนไทย” ก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะสังคมดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ที่ไม่เพียงทำให้ชีวิตสะดวกสบาย เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วมากขึ้น แต่ยังเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคม วิตกกังวล ซึมเศร้าและความเครียดตามมาด้วย 

ETDA เปิดอนาคตการใช้ดิจิทัลภาคท่องเที่ยวปี 2576 ธุรกิจ SME ต้องไปทางไหน

ด้านนายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า ปีนี้ ETDA ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการเร่งเครื่องและส่งเสริมในกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นตัวแปรสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม และวันนี้แม้ท่องเที่ยวไทยจะก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤตต่างๆ มาแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถกลับไปยังจุดเดิมที่เคยอยู่ได้ 

ดังนั้นโจทย์คือจะทำอย่างไรให้การส่งเสริมผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME กลุ่มนี้ เป็นไปอย่างเหมาะสม พร้อมๆ กับสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและมีคุณภาพในชีวิตดิจิทัลของไทย 

ETDA FORESIGHT SYMPOSIUM 2023 จะเป็นสะพานเชื่อมการทำงาน ภาครัฐ เอกชนและประชาชนทั่วไป  ในการร่วมกำหนดฉากทัศน์อนาคตร่วมกัน สู่การเร่งเครื่องให้ประเทศสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและเกิดความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สู่การสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม ก้าวทันและก้าวนำอนาคตได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น

ETDA เปิดอนาคตการใช้ดิจิทัลภาคท่องเที่ยวปี 2576 ธุรกิจ SME ต้องไปทางไหน

สำหรับผลการศึกษาฉากทัศน์อนาคตของ 4 ฉากทัศน์“สุขภาวะความเป็นอยู่” และ 4 ฉากทัศน์ “การท่องเที่ยว” ที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้าง ประกอบด้วย 

4 ฉากทัศน์ “สุขภาวะความเป็นอยู่” 

1.ดิจิทัลสร้างความเหลื่อมล้ำ
ดิจิทัลกลายเครื่องมือที่สร้างความเหลื่อมล้ำ ทำให้คนเกิดความรู้สึกด้อยค่าตัวเอง สร้างข้อเปรียบเทียบ ปัญหาจากรูปแบบการทำงานของการเชื่อมต่อเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ตลอดเวลา ทำให้เส้นแบ่งระหว่างงานและชีวิตหายไป สังคมเต็มไปด้วยความเครียด การขาดการปกป้องความเป็นส่วนตัวและการรักษาความปลอดภัยข้อมูลนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจในเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำให้ปัญหาที่มีอยู่ทางดิจิทัลทวีความรุนแรงและขยายวงกว้าง

2.ข้อมูลเป็นแหล่งขุมทรัพย์มิจฉาชีพ
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลการเป็นปกติวิสัยของคนทั่วไป การท่องโลกออนไลน์ ข้อมูลกลายเป็นแหล่งขุมทรัพย์ ภาวะ Data Overwhelming เกิดการซื้อขายข้อมูล การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล กลายเป็นปัญหาของคนในสังคม คนส่วนใหญ่พึ่งพาเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน Decision making & Critical Thinking skills ลดลง ประเทศยังคงพึ่งพาเทคโนโลยีต่างชาติเป็นหลัก ธุรกิจดิจิทัลในประเทศยังคงพัฒนาเพื่อสร้างโซลูชันใหม่ ๆ โดยลืมเรื่องความปลอดภัยและหลักจริยธรรม

3.มีการใช้ดิจิทัลแบบมีจริยธรรม
ผู้คนหันมาสนใจดูแลสุขภาพกายและสุขจิตใจคู่กัน Digital Detox กลายเป็นวิธีปฏิบัติทั่วไป มีระบบและสามารถคัดกรองข่าวสาร และจัดการข้อมูลได้ด้วยตนเอง  AI ปัญญาประดิษฐ์กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ให้คำแนะนำและข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคลตามรูปแบบการใช้งานบุคคล ธุรกิจต่างยอมรับหลักการออกแบบเทคดิจิทัลอย่างมีจริยธรรม Digital Knowledge & literacy กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิต โรงเรียนมีการสอนการใช้ชีวิตโลกดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบและมีวิจารณญาณ สร้าง Life Long Learning  โดยเฉพาะผู้สูงอายุได้รับทักษะใหม่ ส่งเสริมให้ปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น เกิดการทำงานร่วมกัน (Cross Generation Collab)

4.ดิจิทัลสร้างสมดุลความเป็นอยู่
ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับ Digital Well-being ผู้คนสามารถบริหารเวลาให้เกิดความสมดุล สามารถจัดการการใช้งานดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง สถานภาพของสังคมดีขึ้นจากปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง สามารถเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ Support ผู้คนส่วนใหญ่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ คำนึงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ประเทศถูกยกระดับ Personalized Healthcare Telemedicine Hub จะกลายเป็นส่วนสำคัญของการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ

ETDA เปิดอนาคตการใช้ดิจิทัลภาคท่องเที่ยวปี 2576 ธุรกิจ SME ต้องไปทางไหน

4 ฉากทัศน์ “การท่องเที่ยว” 

1.นักท่องเที่ยวล้นเกิดปัญหาผูกขาดนายทุน 
คาดการณ์ว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า นักท่องเที่ยว มีอัตราการเติบโตและขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วสร้างความน่าสนใจให้นักลงทุนเข้ามาดำเนินธุรกิจและลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ภาครัฐขาดมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวด ทำให้เกิดช่องว่างจนลุกลามไปจนถึงการผูกขาดทางการท่องเที่ยว โดยการแฝงตัวเข้ามาถือครองที่ดิน และที่ทำกิน

ในขณะที่ ทรัพยากรของประเทศมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจเพียงเท่านั้น จนไม่คำนึงถึงการที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลายอันเนื่องมาจาก นักท่องเที่ยวล้นจนเกินจะรับมือได้ .ทำให้ไม่สามารถรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ลุกลามกลายเป็นภัยธรรมชาติใหญ่ (Natural Disaster)ประเทศไม่สามารถแข่งขันได้กับสากล วัฒนธรรมท้องถิ่นก็ถูกบิดเบือน และถูกกลืนหายไป มีอัตราการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรม การโจรกรรม เพื่อการดำรงชีวิต เพราะขาดทรัพยากรที่สามารถนำมาสร้างรายได้ให้กับผู้คน อันเนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายจนเสื่อมโทรมและยากที่จะฟื้นฟูกลับมาเช่นเดิม

ภาครัฐพยายามนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่การเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีของคนในประเทศอยู่ในระดับต่ำจึงทำให้เกิดการรูปแบบภัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ (New way ofcyberattack) มาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่สามารถรัฐไม่สามารถควบคุมได้

2.ซอฟต์พาวเวอร์สร้างเศรษฐกิจแบบใหม่
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเกิดกลุ่มนักเดินทางรูปแบบใหม่ที่ชื่นชอบทดลอง ความแปลกใหม่ หาความตื่นเต้น จากประสบการณ์ที่ไม่เคยได้สัมผัส (Excited Experiential) นักท่องเที่ยวหันมาสนใจเกี่ยวกับ local communities ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ของประเทศ จึงเกิดการกระจายตัวของนักเดินทางท่องเที่ยวไปยังภูมิภาคท้องถิ่นเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่น ในรูปแบบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) สามารถชักนำการตัดสินใจให้นักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศ โดยเฉพาะการเสริมสร้างความรู้สึกนามธรรมลักษณะ ซอฟต์พาวเวอร์ (soft power)ในการแข่งขันสร้างมูลค่าเศรษฐกิจแบบใหม่ผู้คนสามารถเข้าถึงการให้บริการเทคโนโลยีในขั้นพื้นฐานทั่วไปเพียงแค่ระดับการใช้งานที่ไม่มีความซับซ้อนได้อย่างทั่วถึง

ความต้องการแรงงานขั้นพื้นฐานยังคงมีอยู่ รวมถึงแรงงานที่ต้องการทักษะความเชี่ยวชาญด้านบริการขั้นสูง ที่เทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนได้ ยังคงจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจ ผู้คนในท้องถิ่นยังเป็นคนถ่ายทอดวัฒนธรรมให้กับผู้เดินทางเป็นหลักอยู่สะท้อนเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ในอีกด้านหนึ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเข้ามารองรับการขยายผลเชิงวัฒนธรรม จากการปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น AR/VR ช่วยทำให้การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ได้รับประสบการณ์ที่แตกต่าง แต่ยังคงมีผู้คนบางกลุ่มยังมีความหวาดกลัวต่อการใช้เทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยีจึงยังคงถูกจำกัด โดยภาพจำในเชิงลบ รวมถึงกลุ่มต่อต้านการใช้งาน (Anti-Technology) 

3.เทคโนโลยีเชื่อมระบบสุขภาพข้ามพรมแดน
ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการภาพความทรงจำ สร้างความสุขทางใจและสร้างสุขภาวะที่ดีทางร่างกายจึงเกิดเป็นธุรกิจบริการที่สอดรับกับการเติมเต็มสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างครบวงจร หรือ Health and Wellness Tourism

เทคโนโลยีจึงถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ภาครัฐมีการพัฒนาและรวบรวมข้อมูลเชิงกายภาพ (biometrics) ระบบ AI และ Big Data และถูกนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานเพื่อเชื่อมระบบสุขภาพข้ามพรมแดนบนฐานข้อมูลที่มีมาตรฐาน มีการปกป้องข้อมูลรั่วไหล มีการส่งเสริมการเชื่อมโยงฐานข้องมูลระหว่างรัฐและเอกชนร่วมกัน เพื่อให้สามารถนำเสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวต่อนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศและเข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ของคนโดยไม่รู้สึกแปลกแยก 

ในด้านการแพทย์เริ่มมีการพัฒนาระบบประมวลผลโดยเทคโนโลยีการแพทย์ขั้นสูงอย่าง Quantum computing เพื่อวิเคราะห์แยกแยะโรคและวินิจฉัย

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอาจจะถูกการแข่งขันจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ประเทศที่มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่าสามารถดึงดูดความสนใจ เพื่อแลกประสบการณ์ภาพจำใหม่ เช่น การเติบโตและสามารถเข้าถึงได้ ของ space tourism

ทั้งนี้ ปัญหาการเดินทางยังคงถูกจำกัดทั้งในส่วนของข้อมูลการเดินทางและการเชื่อมโยงการเดินทาง ยังคงเป็นปัญหาที่ภาครัฐต้องพัฒนาและวางแผนรองรับต่อไป

4.ชูความยั่งยืนยกระดับการท่องเที่ยว
ประเทศที่ให้กับสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน การท่องเที่ยวจึงถูกยกระดับจากการมุ่งเน้นการบริโภคจำนวนมากเป็นการเดินทางที่มีใส่ใจและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้คนจะเลือกใช้บริการด้านต่างๆที่เป็นมิตรต่อโลก ทั้งเรื่อง ที่พัก การคมนาคม ระบบขนส่งสาธารณะ 

การเลือกท่องเที่ยวสอดคล้องกับคุณค่าและตอบสนองกับการสร้างโลกที่ดีขึ้น การท่องเที่ยวยังเน้นเป็นรูปแบบการสร้างประสบการณ์ในรูปแบบใหม่ที่ไม่เหมือนใคร ควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมให้อำนาจและเคารพสิทธิของชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมรูปแบบบริการเป็นแบบ community-based tourism enterprise สนับสนุนการสร้างรายได้มีความเป็นธรรมกับท้องถิ่น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้อย่างเท่าเทียมให้กับคนท้องถิ่น

ควบคู่ไปกับการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคม ยกระดับความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีของผู้คนในประเทศ ภาครัฐและเอกชนสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยภาครัฐมีกลไกการกำกับด้านความปลอดภัยทั้งทางกายภาพและโลกดิจิทัลอย่างจริงจัง ทำให้ประชาชนในประเทศเกิดความมั่นใจ และเกิดการใช้ Data Sharing ในประเทศอย่างสมบูรณ์

ETDA เปิดอนาคตการใช้ดิจิทัลภาคท่องเที่ยวปี 2576 ธุรกิจ SME ต้องไปทางไหน