posttoday

ปตท.มอบรางวัลลูกโลกสีเขียว “คนเล็ก เปลี่ยนโลก” แรงบันดาลใจเปลี่ยนโลกสู่ความยั่งยืน

03 กันยายน 2567

ปตท จัดการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 13 และพิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 22 ภายใต้ธีม "คนเล็ก เปลี่ยนโลก" พบกับการบรรยายพิเศษจาก วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล และการถ่ายทอดเรื่องราวของ 3 ชุมชนต้นแบบจัดการทรัพยากรสู่ความยั่งยืน นำทีมโดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานกรรมการประเมินคุณค่าผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียว

บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 13 และพิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 22 ณ บริษัท ปตท. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567 สามารถร่วมรับชมและรับฟัง พร้อมให้กำลังใจผู้ที่ได้รับรางวัลฯ ผ่านทาง Facebook Live  และ Youtube: Green Globe Institute เวลา 9.00-16.30 น.

การจัดงานครั้งนี้มาใน ธีม "คนเล็ก เปลี่ยนโลก" พบกับการบรรยายพิเศษ "คนเล็ก เปลี่ยนโลก" โดย คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ต่อด้วย เวทีเสวนา "ชุมชนต้นแบบกับการจัดการทรัพยากรสู่ความยั่งยืน" นำทีมโดย คุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานกรรมการประเมินคุณค่าผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียว กับหัวข้อ : พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พบกับตัวแทน 3 ชุมชนต้นแบบ คุณจันทรา หาญสุทธิชัย (ชุมชนตำบลผักไหม) : เกษตรอินทรีย์อยู่รอดได้จริงหรือ , คุณนพดล สุทธิธนกูล (กลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก) : กว่าจะฟื้นคืนแนวปะการัง และคุณทนงศักดิ์ นิลน้อย (เครือข่ายคนรักษ์แฝก) : หญ้าแฝกกับการฟื้นฟูดินและน้ำ

ปตท.มอบรางวัลลูกโลกสีเขียว “คนเล็ก เปลี่ยนโลก”  แรงบันดาลใจเปลี่ยนโลกสู่ความยั่งยืน

สำหรับรางวัลลูกโลกสีเขียว ปตท. ริเริ่ม "โครงการรางวัลลูกโลกสีเขียว" ขึ้นเมื่อปี 2542 เพื่อยกย่องเชิดชูบุคคล กลุ่มคน และชุมชนที่เป็นต้นแบบการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สร้างกำลังใจให้แก่ผู้คนซึ่งได้ดูแลป่า รักษาน้ำ ปกป้องดิน คุ้มครองและดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายของทุก ๆ ชีวิตบนโลก ที่สำคัญคือการส่งต่อและสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คนอีกมากมาย ซึ่งเปี่ยมด้วยพลังในการสร้างและเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นต่อไปได้

ต่อมาในปี 2553 ได้ยกระดับเป็น "สถาบันลูกโลกสีเขียว" และเพิ่มบทบาทงานวิชาการและจัดการความรู้ ในพื้นที่ ผลงานเพื่อส่งต่อความสำเร็จของชุมชนต้นแบบ สู่การประยุกต์ใช้ และขยายผลการอนุรักษ์ในชุมชนอื่นๆ ให้ยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ในปี 2566 มีผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียวทั้งสิ้น 842 ผลงาน ซึ่งช่วยรักษาและขยายพื้นที่ป่า สะสมกว่า 2.43 ล้านไร่ คิดเป็นศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน 49 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า รวมถึงมีการจัดการองค์ความรู้แล้ว 14 องค์ความรู้

ปตท.มอบรางวัลลูกโลกสีเขียว “คนเล็ก เปลี่ยนโลก”  แรงบันดาลใจเปลี่ยนโลกสู่ความยั่งยืน

สำหรับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 22 แบ่งเป็น 5 ประเภท รวม 38 ผลงาน ดังนี้

1. ประเภทชุมชน จำนวน 10 ผลงาน ประกอบด้วย

1.1 ชุมชนบ้านปง อ.ลอง จ.แพร่
1.2 ชุมชนตำบลบ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
1.3 ป่าชุมชนบ้านหนองหิน-เขาสูง อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
1.4 ชุมชนบ้านเกาะจิก อ.ขลุง จ.จันทบุรี
1.5 กลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก อ.เกาะกูด จ.ตราด
1.6 ชุมชนบ้านดอนกอย อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
1.7 กลุ่มคนบ้าปลูกต้นไม้บ้านตามา อ.สตึก จ.บุรีรัมย์
1.8 ชุมชนป่าโคกเปราะ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
1.9 กลุ่มป่าต้นน้ำบ้านน้ำราด อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี
1.10 ชุมชนบ้านช่องฟืน อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

2. ประเภทบุคคล จำนวน 5 ผลงาน ประกอบด้วย

2.1 จ่าสิบโท สุทิน ทองเอ็ม อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
2.2 พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธมมาลงกาโร) อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
2.3 พสธร - ก่อคเณศ อ้วนกลมแฮปปี้ฟาร์ม อ.เมือง จ.อุดรธานี
2.4 พระครูประทีปธรรมธร - แม่เนย - พ่อคำพอง และครอบครัว จ.หนองบัวลำภู
2.5 นางสาวอัญชลี บารมีรุ่งเรือง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

3. ประเภทกลุ่มเยาวชน จำนวน 8 ผลงาน ประกอบด้วย

3.1 ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนบ้านทุ่งนาวิทยา จ.อุทัยธานี
3.2 โรงเรียนวัดถนนกะเพรา(นวัตกรน้อยรักษ์ท้องถิ่น) อ.แกลง จ.ระยอง
3.3 กลุ่มเยาวชนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 50 อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น
3.4 กลุ่มเยาวชนรู้รักษ์บึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
3.5 กลุ่มเยาวชนโรงเรียนบัวเชดวิทยา อ.บัวเชด จ.สุรินทร์
3.6 โรงเรียนบ้านเสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
3.7 โรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง จ.ระนอง
3.8 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อ.เมือง จ.ภูเก็ต

4. ประเภท "สิปปนนท์ เกตุทัต" รางวัลแห่งความยั่งยืน จำนวน 12 ผลงาน ประกอบด้วย

4.1 ชุมชนธรรมชาติศึกษาบ้านห้วยเดื่อ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
4.2 ชุมชนบ้านเด่นวัว อ.วังเจ้า จ.ตาก
4.3 เครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ำพระปรง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
4.4 เครือข่ายคนรักษ์ต้นไม้ (สมาคมคืนรากแก้วสู่ดิน) จ.จันทบุรี
4.5 ชุมชนบ้านยางงอย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
4.6 ชุมชนตำบลผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ
4.7 ชุมชนป่าดงทำเล-ดอนใหญ่ บ้านหนองบั่ว อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
4.8 ชุมชนตำบลบ้านพลวง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
4.9 ชุมชนบ้านแหลมมะขาม อ.สิเกา จ.ตรัง
4.10 ชุมชนบ้านบางประ อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี
4.11 ชุมชนบ้านสระแก้ว อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี
4.12 ชุมชนบ้านไสใหญ่ (คน ผึ้ง ป่า) อ.วังวิเศษ จ.ตรัง

5. ประเภทงานเขียน จำนวน 3 ผลงาน ประกอบด้วย

5.1 รางวัลดีเด่น
      5.1.1 รอยกระจกครอบเหนือคลองราหูบิน โดย นายชนะ จันทร์ฉ่ำ

5.2 รางวัลชมเชย
      5.1.2 เต่ามะเฟืองกลับบ้าน โดย นายยศวุฒิ เอียดสังข์
      5.1.3 บ้านเช่าตรงหัวมุมชอย 3 โดย นายชัยวัฒน์ จงมั่นวัฒนา

รางวัลการประกวด.การพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และรางวัลลูกโลกสีเขียว ที่มีเครือข่ายรวมกันกว่า 7,800 คนทั่วประเทศ คือบทสะท้อนพลังของ "คนเล็กๆ" ที่ "เปลี่ยนโลก" ให้มีความยั่งยืน นับเป็นความสำเร็จมากมายที่สามารถถอดบทเรียนมาใช้ประโยชน์เรื่องราวของผลงานอันมีคุณค่าเหล่านี้ จะเป็นหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้ร่วมกันเปลี่ยนโลกได้